วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2562

การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)


การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ (Creating the Environment for Learning)

          Marzano: (2012) ได้สรุปกลวิธีการการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ในการสร้าง สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ไว้ดังตาราง
ตารางที่ 14 กลวิธีการการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
1) การกําหนดวัตถุประสงค์และ ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Setting Objectives Feedback)
2) เสริมแรงและสร้างความยอมรับ(Reinforcing Effort and Providing Recognition)
3) การเรียนแบบร่วมมือ(Cooperatives Learning)
                                                                                             
ช่วยพัฒนาความเข้าใจของผู้เรียน
(Helping students Develop Understanding)
1) ให้คําแนะนํา (Cues)
2) ใช้คําถาม (Questions)
3) ให้ความรู้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizes)
4) การแสดงออกโดยภาษากาย (Nonlinguistic Representations)
5) สรุปความและจดบันทึก
(Summarizing and Note taking)
6) มอบหมายการบ้านและให้ปฏิบัติ
(Assigning Homework and Providing Practice)
ช่วยขยายและประยุกต์ใช้ความรู้ของผู้เรียน
(Help students Extend and Apply Knowledge)
1) ระบุความเหมือนความแตกต่าง (Identifying Similarities and Differences)
2) สร้างและทดสอบสมมติฐาน
(Generating and testing Hypotheses)

ตารางที่ 15 คําจํากัดความของกลยุทธ์การสอน
คำสำคัญ
ความหมาย
1) กําหนดวัตถุประสงค์และให้ข้อมูลย้อนกลับ(Setting Objectives Feedback)
การให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับทิศทางในการเรียนรู้และเป้าหมายในการพัฒนาทักษะการปฏิบัติ
2) การเสริมแรงและสร้างการยอมรับ
(Reinforcing Effort and Providing Recognition)
การส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในเรื่อง
- ความสัมพันธ์ระหว่างความพยายามและความสําเร็จ โดยมุ่งสร้างทัศนคติที่ดีและความเชื่อมั่นในการเรียนรู้ 
-สามารถให้การยอมรับและเข้าใจอย่างเป็นรูปธรรมหรือยกย่องในความสําเร็จตามเป้าหมายที่กําหนดไว้
3) การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้
4) ให้คําแนะนําใช้คําถามและมโนทัศน์ล่วงหน้า
(Cues, Questions and Advance Organizes)
คือ ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถจดจํา ใช้ และจัดการกับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา
5) การแสดงออกโดยภาษากาย
(Nonlinguistic Representations)
หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถนําเสนอและให้รายละเอียดในการแสดงถึงความรู้
6) สรุปความและจดบันทึก (Summarizing and Note taking)
หมายถึง การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูล และจัดการกับข้อมูลโดยการสรุปสาระสําคัญ และข้อมูลสนับสนุน
7) มอบหมายงานและให้ปฏิบัติ (Asigning Homework and Providing Practice)
หมายถึง การให้โอกาสผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติทบทวนและประยุกต์ใช้ความรู้ การสร้างเสริมให้นักเรียนได้เข้าถึง ระดับของความเชี่ยวชาญในทักษะหรือกระบวนการที่คาดหวัง
8) ระบุความเหมือนความแตกต่าง
(Identifying Similarities and Differences)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมนักเรียนเข้าใจ และสามารถใช้ความรู้และกระบวนการทางปัญญาในการระบุหรือจําแนกสิ่งที่เหมือนและแตกต่าง
9) สร้างและทดสอบสมมติฐาน
(Generating and testing Hypotheses)
หมายถึง การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมนักเรียนเข้าใจและ สามารถใช้ความรู้และกระบวนการทางปัญญาในการ สร้างและทดสอบสมมติฐาน


กลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิด ของ Marzano
          การตั้งจุดมุ่งหมาย/จุดประสงค์ (Setting objectives) แนวทางการตั้งจุดประสงค์ มีดังนี้
             1) ตั้ง จุดประสงค์ให้ชัดเจนตามเกณฑ์แต่ไม่ตายตัว
             2) สื่อสารจุดประสงค์ให้กับผู้เรียนและครอบครัวได้เข้าใจตรงกัน
             3) เชื่อมโยงจุดประสงค์การเรียนรู้กับสิ่งที่เรียนรู้เดิมและการเรียนรู้ใหม่
             4ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการ ตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของตนเอง
          การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับ จุดประสงค์การเรียนรู้และนําไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติและความเข้าใจ ซึ่งแนวทางการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มี ประสิทธิภาพ ดังนี้
             1) ข้อมูลย้อนกลับจะต้องมีความถูกต้องและละเอียดในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และเป็น ประโยชน์ต่อไป
             2) การให้ข้อมูลย้อนกลับควรคํานึงถึงเวลาที่เหมาะสมและจําเป็น
             3) การให้ข้อมูลย้อนกลับ ควรมีเกณฑ์อ้างอิงชัดเจน
             4) ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลย้อนกลับ
          การให้การเสริมแรง (Reinforcing Effort) มีวิธีการดังนี้
             1) สอนนักเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ ระหว่างการเสริมแรงและผลสัมฤทธิ์
             2) แจ้งผู้เรียนให้ชัดเจนในวิธีการ กระบวนการในการให้แรงเสริม
             3) ถามผู้เรียนถึงผลที่เกิดจากการเสริมแรงสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
          การให้การยอมรับ (Providing Recognition) มีวิธีการดังนี้
             1) ส่งเสริม เป้าหมายมุ่งเน้นการเป็นผู้ รอบรู้
             2)ให้การยกย่อง สําหรับสิ่งที่เป็นไปตามความคาดหรือทั้งในด้านการปฏิบัติและพฤติกรรม
             3) ใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรม ในการแสดงการยอมรับ เป็นการให้รางวัล
          การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีวิธีการดังนี้
             1) ควรยึดหลักของการมี ปฏิสัมพันธ์ทางบวกและการรับผิดชอบในความสําเร็จส่วนบุคคล
             2) จัดเป็นกลุ่มเล็ก 3-5 คน
             3) ใช้การ เรียนรู้แบบร่วมมืออย่างสอดคล้องและเป็นระบบ
          การใช้การแนะนําและคําถาม (Cues and Questions) มีวิธีการดังนี้
             1) ใช้เฉพาะประเด็นที่สําคัญ
             2) ให้คําแนะนําที่ชัดเจน
             3) ถามคําถามเชิงอนุมาน
             4) ถามคําถามเชิงวิเคราะห์
          การให้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizers) มีวิธีการดังนี้
             1) ใช้การอธิบายในการสร้างมโน ทัศน์ล่วงหน้า
             2) ใช้การบรรยายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า
             3) ใช้สรุปภาพรวมในการสร้างมโนทัศน์ ล่วงหน้า
             4) ใช้กราฟิกในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า
          การใช้ภาษากายแสดงออก (Nonlinguistic Representations) มีวิธีการดังนี้
             1)ใช้กราฟิกในการ นําเสนอ
             2) จัดกระทําหรือทําตัวแบบ
             3)ใช้รูปแสดงความคิดนําเสนอ
             4) สร้างรูปภาพสัญลักษณ์
          สรุปและจดบันทึก (Summarizing and note taking) มีวิธีการดังนี้
             1) สอนนักเรียนให้รู้จัก วิธีการบันทึก สรุป ที่มีประสิทธิภาพ
             2) ใช้แบบฟอร์มการสรุป
             3) ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการบันทึกการ สอน ซึ่งกันและกัน
          การให้การบ้าน (Assigning Homework) มีวิธีการดังนี้
             1) พัฒนาและสื่อสาร นโยบายการ มอบหมายการบ้านของโรงเรียน
             2) ออกแบบการบ้านที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ทางวิธีการ
             3) ให้ข้อมูล ย้อนกลับในงานที่มอบหมาย
          การให้ฝึกปฏิบัติ (Providing Practice) มีวิธีการดังนี้
             1)ต้องบอกถึงวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ อย่างชัดเจน
             2) ออกแบบการปฏิบัติที่ เจาะจงและเวลาเหมาะสม
             3) ให้ทํากิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา
          การบอกความเหมือนและความแตกต่าง (Identifying Similarity) มีวิธีการดังนี้
             1) วิธีการบอก ความเหมือนความแตกต่างที่หลากหลายวิธี
             2) แนะนํานักเรียนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการของการกําหนด ความเหมือนความแตกต่าง
             3) ให้คําแนะนําที่ช่วยให้นักเรียน กําหนดความเหมือนความแตกต่างได้
          การสร้างและทดสอบสมมติฐาน (Generating and testing Hypotheses) มีวิธีการดังนี้
             1) ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในรูปแบบของการสร้างและทดสอบสมมติฐานที่หลากหลาย
             2การให้นักเรียนอธิบายสมมติฐานและและข้อสรุป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น