วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2562

การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction)


การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction)

บทที่ 4
การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล
(Universal Design for Instruction)
          U : การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล (Universal Design for Instruction UDI) เป็นการออกแบบการสอนที่ผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้ดําเนินการเชิงรุก (proactive-การกระทําโดยไม่ต้องมีสิ่งใดมากระตุ้น) เกี่ยวกับการผลิตและหรือจัดหาจัดทําหรือชี้แนะผลิตภัณฑ์การศึกษา (educational products (computers, websites, software, textbooks, and lab equipment) และสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้(dormitories, classrooms, student union buildings, libraries, and distance learning courses) ที่จะระบุถึงในทุกขั้นตอนของการเรียนการสอน
            การออกแบบการเรียนการสอนนําความรู้จากหลายสาขาวิชามาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นขั้นตอน กระบวนการเชิงระบบเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยพื้นฐานแล้ววิธีการเชิงระบบกําหนดให้ต้องระบุว่า จะเรียนอะไร วางแผนการสอนว่าจะยอมให้การเรียนรู้อะไรเกิดขึ้น วัดผลการเรียนรู้เพื่อตัดสินว่า การเรียนรู้ นั้นบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่และกลั่นกรองตัวสอดแทรก (intervention) จนกระทั่งบรรลุจุดประสงค์ จาก ลักษณะนี้เองจึงทําให้เกิดแบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอนทั่วไป (generic Instruction Design model : ID model) ขึ้น (Gibbons 1981 : 5, Hannum and Hansen, 1989)
          เกี่ยวกับระบบการเรียนการสอนนี้ แฮนนัมและบริกส์ (Hannum and Briggs)ได้เปรียบเทียบการ เรียนการสอนแบบดั้งเดิม และการเรียนการสอนเชิงระบบ ดังรายละเอียดในตารางที่ 11
          ในการออกแบบการเรียนการสอน กระบวนการมีความสําคัญพอๆ กับผลิตผล เพราะว่าความ เชื่อมั่นในผลิตผลจะขึ้นอยู่กับกระบวนการ ในการที่จะมีความเชื่อมั่นในผลิตผล ต้องดําเนินตามขั้นตอนของ แบบจําลองการออกแบบการเรียนการสอน สําหรับในแต่ละขั้นตอนนั้น ลําดับขั้นตอนของแบบจําลองการ ออกแบบการเรียนการสอน สําหรับในแต่ละขั้นตอนนั้น ลําดับขั้นของภาระงานจะต้องแสดงออกมา และผลที่ ได้รับที่มีความเฉพาะเป็นพิเศษก็จะเกิดขึ้นดังรายละเอียดในตารางที่ 11
          บทบาทของผู้ออกแบบการเรียนการสอน (designer's role) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่ นําเสนอว่าต้องอาศัยเทคนิค หรือไม่ต้องอาศัยเทคนิค และขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของทีมการออกแบบ เนื้อหาที่ต้องใช้เทคนิคสูง ผู้ออกแบบจําเป็นต้องให้คําแนะนําในการออกแบบกับผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา (content expert) ถ้าเนื้อหานั้นไม่ต้องใช้เทคนิคที่สูงมากจนเกินไป ผู้ออกแบบก็สามารถจัดทําได้อย่างอิสระ มากขึ้นด้วยความช่วยเหลือของผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา ผู้ออกแบบสามารถที่จะทํางานเป็นผู้ให้คําปรึกษาจาก ภายนอก และรับผิดชอบภาระงานทั้งหมด เหมือนกับเป็นคนในสํานักงาน (in-house employers) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา บทบาทของผู้ออกแบบสามารถมีได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับ ความสัมพันธ์ที่มีต่อผู้ชํานาญการด้านเนื้อหาวิชา ดังตัวอย่างทั้งสาม (Seels and Glasgow, 1990 : 7-9) คือ
          1. ผู้ชํานาญการด้านเนื้อหาและมีสมรรถภาพในการออกแบบการเรียนการสอนและเทคโนโลยี และเป็นผู้ที่รู้บทบาทของการออกแบบด้วย ไม่จําเป็นต้องอาศัยความช่วยเหลือด้านความรู้ ความชํานาญทางเนื้อหาวิชา
          2. ผู้ออกแบบการเรียนการสอน ที่ได้รับการร้องขอให้ทํางานในด้านเนื้อหาที่อาจจะมี ความคุ้นเคย แต่ผู้ออกแบบยังคงรู้สึกมีความจําเป็นที่จะทํางานกับผู้ชํานาญการด้านเนื้อหา
          3.  ผู้ออกแบบอาจจะได้รับการร้องขอให้พัฒนาหรือวิจัยในด้านเนื้อหาที่ไม่มีความคุ้นเคย และ ดังนั้นจึงจําเป็นต้องเลือกและทํางานกับผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาจํานวนมาก
ตารางที่ 11 เปรียบเทียบการเรียนการสอนแบบดั้งเดิมกับการเรียนการสอนเชิงระบบ
องค์ประกอบของการเรียน 
การสอน
การเรียนการสอน
แบบดั้งเดิม
การเรียนการสอน
เชิงระบบ
1. กําหนดเป้าประสงค์
    (Setting goals)
*ตําราหลักสูตรดั้งเดิมการอ้างอิงภายใน
*การประเมินความต้องการจําเป็น
*การวิเคราะห์งาน
*การอ้างอิงภายนอก
2. จุดประสงค์ (Objectives)
*กล่าวในรูปของผลที่ได้รับรวมๆ หรือการปฏิบัติของครู
*เหมือนกันสําหรับนักเรียน   ทุกคน
*จากการประเมินความต้องการจําเป็น การวิเคราะห์/การประเมินงาน
*เลือกด้วยการพิจารณาจาก
*ความสามารถของผู้เรียนเมื่อแรกเข้าเรียน
3.จุดประสงค์ในความรู้
เฉพาะของผู้เรียน(Student's
knowledge of objectives)
* ไม่ได้รับการบอกกล่าวล่วงหน้า ต้องใช้สัญญาณจากการฟังคําบรรยายและการอ่านตํารา
*บอกกล่าวอย่างเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษล่วงหน้าก่อนเรียน
4.ความสามารถก่อนเข้าเรียน(Entering capability)
ไม่ต้องใส่ใจ นักเรียนทุกคนมีจุดประสงค์และวัสดุอุปกรณ์กิจกรรมเหมือนกันหมด
*การพิจารณา
*การกําหนดวัสดุอุปกรณ์/ กิจกรรมแตกต่างกัน
5. ผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวัง (Expected achievement)
*ใช้โค้งมาตรฐาน
*มีความเป็นแบบอย่างเดียวกันสูง
6. ความรอบรู้ (Mastery)
*นักเรียนส่วนน้อยรอบรู้จุดประสงค์ทั้งหมด
*รูปแบบผิดพลาด
*นักเรียนส่วนใหญ่รอบรู้
จุดประสงค์ทั้งหมด
7. ค่าระดับและการเลื่อน
ระคับ (Grading and
promotion)
อยู่บนพื้นฐานการเปรียบเทียบ กับนักเรียนคนอื่นๆ
*อยู่บนพื้นฐานการรอบรู้จุดประสงค์
8. การสอนเสริม
(Remediation)
*บ่อยครั้งที่ไม่มีการวางแผน
*ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจุดประสงค์หรือวิธีการเรียนการสอน
*วางแผนสําหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือแสวงหาจุดประสงค์อื่นๆ เลือก วิธีการเรียนการสอน
9. การใช้แบบทดสอบ
*กําหนดค่าระดับ
*เฝ้าระวังติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน
*ตัดสินความรอบรู้ *วินิจฉัยความยากลําบาก
*ปรับปรุงการเรียนการสอน
10. เวลาศึกษากับความรอบรู้(Stidy time vs mastery)
*เวลาคงที่ : ระดับของความรอบรู้หลากหลายแตกต่างกัน
ความรอบรู้คงที่ : เวลาหลากหลายแตกต่างกัน
11.การตีความของความ
ล้มเหลวที่จะไปให้ถึงความรู้(Interpretation of failure to reach mastery)
*นักเรียนผู้ส่งสาร
*มีความต้องการจําเป็นที่จะต้องปรับปรุงการเรียนการสอน
12. การพัฒนารายวิชา(Course of development)
*เลือกวัสดุอุปกรณ์ก่อน
*ระบุจุดประสงค์ก่อนแล้วจึงจะ
เลือกวัสดุอุปกรณ์
13. สําาดับขั้นตอน (Sequence)
*อยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและ สังเขปหัวเรื่อง
*อยู่บนพื้นฐานของสิ่งที่ต้องรู้ก่อน ตามความจําเป็น และหลักการของการเรียนรู้
14. การปรับปรุงการเรียน การสอนและวัสดุอุปกรณ์(Revision of instructional and materials)
*อยู่บนพื้นฐานของการคาดเดางาน หรือความเพียงพอ
*วัสดุอุปกรณ์ใหม่
*เกิดขึ้นเป็นพักๆ
*อยู่บนพื้นฐานของการประเมินข้อมูล
*เกิดขึ้นเป็นประจํา
15. กลยุทธ์การเรียนการสอน
(Instructional Strategies)
*พอใจให้ผ่านได้อย่างกว้างๆ
*อยู่บนพื้นฐานของความชอบและความคล้ายคลึง
*เลือกที่จะให้ได้รับตามจดประสงค์
*ใช้ยุทธวิธีที่หลากหลาย
*อยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีและการวิจัย
16. การประเมินผล(Evaluation)
*บ่อยครั้งที่ไม่เกิดขึ้น : การวางแผนเชิงระบบมีน้อย
*ประเมินแบบอิงกลุ่ม ข้อมูลได้
จากปัจจัยนําเข้า และกระบวนการ
*การวางแผนเป็นระบบ : เกิดขึ้นประจํา
*ประเมินความรอบรู้ตามจุดประสงค์
*ประเมินผลอิงเกณฑ์ข้อมูลได้จากผลที่ได้รับ(ผลผลิต)
          ที่มา : W.H. Hannum and leslir j. Briggs, How does Instructional Systems Design Differ from Traditional Instruction, Educational Technology 22 : 12-13. 1982

ตารางที่ 12 งานและผลผลิตของกระบวนการออกแบบการเรียนการสอน
ขั้นตอนและภาระงาน
ตัวอย่างภาระงาน
ตัวอย่างผลผลิต
การวิเคราะห์-กระบวนการของการนิยามว่าต้องเรียนอะไร
*ประเมินความต้องการจําเป็น
*ระบุปัญหา
*วิเคราะห์ภาระงาน
*แฟ้มผู้เรียน
*การพรรณนาข้อจํากัด
*คํากล่าวของความต้องการจําเป็นและปัญหา
*การวิเคราะห์ภาระงาน
การออกแบบ-กระบวนการของการชี้เฉพาะว่าจะเรียนอย่างไร
*เขียนจุดประสงค์
*พัฒนารายการของแบบทดสอบ
*วางแผนการเรียนการสอน
*ระบุแหล่งทรัพยากร
*จุดประสงค์ที่วัดได้
กลยุทธ์การเรียนการสอน
*ลักษณะเฉพาะของตัวแบบ
(prototype specification)
การพัฒนา-กระบวนการของหน้าที่และผลิตวัสดุอุปกรณ์
*ทํางานกับผู้ผลิต
*พัฒนาคู่มือ แผนภูมิ โปรแกรม
*สตอรี่บอร์ด (story board)
*สคริป
*แบบฝึกหัด 
*คอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน
การนําไปใช้กระบวนการของ การก่อตั้งโครงการในบริษัท แห่งโลกความจริง
*การฝึกอบรมตร 
*การทดลอง
*การให้ความเห็นของนักเรียน ข้อมูล
การประเมินผล-กระบวนการของการตกลงใจเกี่ยวกับ
ความเห็นผลของการเรียน
การสอน
*บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเวลา
*ผลการแปลความแบบทดสอบ
*สํารวจผู้สําเร็จการศึกษา
*ทบทวนกิจกรรม
*คํารับรอง (recorationsulation)
*รายงานโครงาน
*ทบทวนตัวแบบ
          ที่มา : Barbara Seels, and Zita Glasgow, Exercises in instructional Design (Columbus, Ohio : Merrill Publoshing Company, 1990). p. 8.

          นับว่าเป็นเรื่องสําคัญด้วยเหมือนกัน ที่จะให้ความแตกต่างระหว่างบทบาทของผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติ เพราะว่าข้อกําหนดในความสําเร็จของทั้งสองส่วนนี้มีความแตกต่างกัน ผู้ที่เป็นนักวิจัยสนใจในแต่ละขั้นตอน ของรูปแบบทั่วไป ดังนั้น ความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้ปฏิบัติ (ID practitioner) ซึ่งแตกต่างออกไป ความสนใจและเป้าประสงค์ที่แตกต่างกัน ดังแสดงไว้ในตารางที่ 3
          ผู้ออกแบบที่เป็นนักปฏิบัติ สามารถแสดงออกในแต่ละขั้นตอนจากการวิเคราะห์ไปจนถึงการ ทดลอง ขึ้นอยู่กับว่าจะพรรณนางานว่าอย่างไร ถ้างานของผู้ออกแบบระบุไว้อย่างแคบๆ แล้วผู้ออกแบบแสดง เพียงสองถึงสามขั้นตอนเท่านั้น โดยละทิ้งขั้นตอนที่เป็นผลิตผล การนําไปใช้ และการประเมินผล
          นักวิจัยการออกแบบการเรียนการสอน (ID remember) หรือผู้เชี่ยวชาญ (specialis) สนใจศึกษาตัว แปรและพัฒนาทฤษฎีที่สัมพันธ์กับการเรียนการสอน นักปฏิบัติการออกแบบการเรียนสอน (ID practions of generation) สนใจการประยุกต์งานวิจัย และทฤษฎีการพัฒนาการเรียนการสอนและวัสดุอุปกรณ์ บทบาท อื่นๆ ของผู้วิจัยการออกแบบการเรียนการสอนดังแสดงไว้ในตารางที่ 3ส่วนบทบาทของผู้ปฏิบัติการ ออกแบบการเรียนการสอนดังแสดงในตารางที่ 13
          สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอน มีอายุประมาณ 30 ปี เป็นบทบาทของนักวิจัยที่จะส่งเสริม ความงอกงามในทฤษฎีของการออกแบบการเรียนการสอน และเนื่องจากว่าการออกแบบการเรียนการสอน เป็นสาขาวิชาประยุกต์ บทบาทของนักวิจัยจึงอาจดูเหมือนว่าแยกตัวออกไปตามลําพังและมีความสําคัญน้อยสิ่งดังกล่าวนี้ ไม่เป็นความจริง เพราะถ้าปราศจากกระบวนการทางทฤษฎีแล้ว สาขาวิชาก็จะเฉื่อยชาอยู่กับที่ ความมุ่งหมายของนักออกแบบการเรียนการสอน คือ ความจําเป็นที่จะต้องรู้ว่าตนสามารถที่จะก้าวไกลได้ใน หนทางแห่งอาชีพของตนเอง ถ้ารับรู้วิธีการวิจัยที่เหมาะสมในแต่ละขั้นตอน (Seels and Glasgow, 19990 : 10)
          งานของผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะหลากหลายในความต้องการด้านความรู้ ความชํานาญ ผลิตผลที่ได้และสถานการณ์ของงาน ผู้ปฏิบัติการออกแบบการเรียนการสอนอาจจะวิเคราะห์ ภาระงานภายใต้การนิเทศของผู้จัดการโครงการในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการพัฒนา ผู้จัดการ โครงการอาจจะนําทีมซึ่งพัฒนาการประชุมเชิงปฏิบัติการสามวันสําหรับการอุตสาหกรรม (three-dayworkshop) การออกแบบไม่จําเป็นต้องเป็นทีมเสมอไป ในองค์กรเล็กๆ อาจจะใช้ผู้ออกแบบเพียงคนเดียว ใน การทําภาระการออกแบบการเรียนการสอน
ตารางที่ 13 เปรียบเทียบความสนใจและเป้าประสงค์ของผู้วิจัยและผู้ปฏิบัติ
แบบจำลองการออกแบบ
การเรียนการสอนทั่วไป
บทบาทของผู้วิจัย
บทบาทผู้ปฏิบัติ
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์



ขั้นที่ 2 การออกแบบ


ขั้นที่ 3 การพัฒนา

ขั้นที่ 4 การนําไปใช้




ขั้นที่ 5 ประเมินผล
*ศึกษาวิธีการระบุปัญหา
*ศึกษาผลของคุณลักษณะของ
ผู้เรียน
*ศึกษาเนื้อหา
*ศึกษาตัวแปรในการออกแบบ ข่าวสาร
*พัฒนากลวิธีการเรียนการสอน 
*ศึกษากระบวนการของทีม

*ศึกษาชาติวงศ์วรรณาของตัวแปร ในสิ่งแวดล้อม

*การระบุตัวแปรของการนําไปใช้ ให้ได้ผล
*ศึกษาข้อถกเถียงที่นําไปสู่การ ประเมินผล
*ประยุกต์ใช้วิธีการระบุปัญหา
*กําหนดคุณลักษณะของผู้เรียน
ใช้การวิจัยในเนื้อหาตาม
สาขาวิชา
*ให้ผู้ปฏิบัติเป็นผู้ออกแบบการ เรียนการสอน

*ทํางานกับผู้ผลิตในการพัฒนาสคริป
 *ออกแบบและจัดการสิ่งแวดล้อมและ ตัวแปรในการเรียนการสอน


*ประยุกต์ทฤษฎีการประเมินผล
          ที่มา : Barbara Seels, and Zita Glasgow, Exercises in instrucnal (Columbus, Ohio : Merrill Publoshing Company, 1990), p.8.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น