วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Processes)


กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม (Social Learning Processes)

จุดมุ่งหมายของการสอนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ขึ้นในตัวบุคคล โดยให้ความสำคัญที่รายบุคคล จะเห็นได้จากการวัดผล ประเมินผล จะดำเนินการในรายบุคคล ให้แต่ละคนได้แสดงความสามารถหรือสมรรถนะเพื่อการประเมิน และมีการรายงานผลความก้าวหน้าและความเปลี่ยนแปลงเป็นรายบุคคล เช่น รายชื่อบุคคลที่สอบได้ สอบตก หรือรายชื่อผู้ได้คะแนน หรือ เกรดในแต่ละคน เป็นต้น

ในขณะที่สังคมประกอบกันขึ้นด้วยบุคคลหลาย ๆ คนมารวมกัน การนำค่าเฉลี่ยของคนหลาย ๆ คนมาแสดงแล้วสรุปว่าเป็นค่าแทนความสามารถหรือการเรียนรู้ของกลุ่มหนึ่ง หรือของสังคมหนึ่ง เป็นที่นิยมและใช้สำหรับการวิจัยทางการศึกษามาโดยตลอด และการยอมรับผลของการประเมินจากการคำนวณค่าเฉลี่ยแล้วสรุปว่าเป็นการเรียนรู้ของสังคมนั้น ยังเป็นมิติการมองการเรียนรู้ของสังคมในมุมแคบ และอาจไม่ตรงกับเจตนาหรือความหมายของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

ดังนั้นถ้าคะแนนค่าเฉลี่ยของผลการสอบระดับชาติ เช่น O-NET, A-NET, หรือ V-NET ต่ำ หรือสูง ไม่สามารถอธิบายว่าการเรียนรู้ทางสังคมของประเทศไทยหรือสังคมไทยนั้นดีหรือไม่ดี ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับนโยบายการศึกษา การให้โอกาสทางการศึกษา การแข่งขัน การเรียนเสริม การกวดวิชา ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทางสังคมในบริบทที่แตกต่างไป

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม หรือ Social Learning Theory เป็นทฤษฎีที่มีแนวคิดมาจากการเรียนรู้จากผู้อื่น โดยได้รับประสบการณ์จากการฟัง ดู อ่านงานผู้อื่นมากกว่าทำด้วยตนเอง (Vicariousness) ซึ่งอาจเป็นการรับเอา (Adopting) พฤติกรรมของผู้อื่นเป็นแบบแผนในการกำหนดพฤติกรรมตนเอง อาจเกิดจากการสังเกต พบเห็นอยู่เป็นประจำ และอาจมีแรงจูงใจ ความประทับใจที่แตกต่างกันในกลุ่มผู้รับเอาแบบแผนพฤติกรรมมาใช้เป็นแบบอย่างหรือเป็นต้นแบบการสร้างแบบแผนของตนเองขึ้น

การเรียนรู้ทางสังคมจึงเป็นกระบวนการเผยแพร่ความรู้ ความคิด พฤติกรรม หรือแม้แต่วัตถุ สิ่งของ เทคนิควิธีการ เครื่องมือ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในสังคมที่มีระบบสังคมเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดกระบวนการเรียนรู้ทางสังคม การถ่ายทอดวัฒนธรรม ความรู้ ความคิด และมีการใช้สื่อรวมทั้งกระบวนการสื่อสารในสังคม โดยเฉพาะในปัจจุบันมีเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการสร้างให้เกิดเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ การสร้างเครือข่ายที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลจึงเกิดขึ้นได้ง่าย มีการเรียนรู้ทางสังคมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีกระบวนการของการเรียนรู้แยกย่อย ๆ ได้เป็น 4 กระบวนการดังนี้

1. กระบวนการสร้างความสนใจ ในขั้นนี้การสร้างความโดดเด่น (Salience) ให้เกิดความแพร่หลาย (Prevalence) กระทบกับภาวะของการรับรู้และกระบวนการทางปัญญาที่สามารถเข้าใจ (Cognitive Capabilities) กระตุ้นความรู้สึกอยากรู้อยากเห็น จนทำให้เกิดความพึงพอใจ อิทธิพลของสื่อสมัยใหม่สามารถสร้างความสนใจและเข้าถึงผู้คนส่วนมากได้อย่างง่ายและรวดเร็ว

2. กระบวนการสร้างความคงทน เป็นส่วนสำคัญที่ต้องออกแบบสถานการณ์ของการเรียนให้สามารถคงทนได้ดี ทั้งนี้อาจใช้กระบวนการทำให้เกิดภาวะ “สะดุดในกระบวนการทางปัญญา” หรือ Cognitive Disfluency รวมทั้งการย้ำเตือน การใช้สัญลักษณ์ และวาทกรรมที่โดนใจ รวมทั้งอาจสร้างหรือทำสิ่งที่ แปลกใหม่ ล่อแหลม ท้าทายต่อความถูกต้องเชิงวัฒนธรรมและกฎหมายเพื่อสร้างความคงทนในการจดจำสิ่งที่ได้รับรู้มาจากกระบวนการสร้างความสนใจ

3. กระบวนการแสดงออกเป็นผลิตภาพ เป็นกระบวนการเชื่อมโยงและถ่ายโอนของกระบวนการทางปัญญามาสู่พฤติกรรม สังเกตได้จากพฤติกรรมการแสดงออก ทั้งการพูดและการกระทำ ซึ่งไม่เพียงแต่การเลียนแบบของการได้รับรู้ หรือเรียนรู้มาเท่านั้น ยังเป็นกระบวนการที่สร้างแบบแผนพฤติกรรมใหม่ที่มีแบบแผนเฉพาะแห่งตนขึ้นมาด้วย

4. กระบวนการสร้างแรงจูงใจเป็นแบบอย่าง ในกระบวนการนี้เป็นการยืนยันและรับเอาแบบแผนแห่งตนเข้ามาเป็นบุคลิกภาพของตน ในขั้นนี้อาจมีการให้รางวัลตนเอง หรือสนับสนุนการกระทำของตนเอง รวมทั้งเผยแพร่แบบอย่างของตนสู่ผู้อื่นให้เกิดการเรียนรู้ และเกิดเป็นกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมขึ้นต่อ ๆ ไป

เมื่อมีความเข้าใจตรงกันในกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมแล้ว สามารถนำหลักการและกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคม ด้วยการออกกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการควบคุม ส่งเสริม ป้องกัน กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม และกำหนดมาตรการหรือแนวทางให้สังคมได้เรียนรู้ในทิศทางที่เหมาะสมสร้างความสงบสุขในสังคมได้

นอกจากนั้นความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมยังสามารถอธิบาย วิเคราะห์สาเหตุต่าง ๆ ของปรากฏการณ์ในสังคมตามทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม หรือ Social Learning Theory เพื่อสร้างความเข้าใจและนำไปสู่การแก้ไขที่ถูกต้องเหมาะสม และไม่เป็นการสร้าง หรือซ้ำเติมปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลดลงหรือหมดไปได้

การเรียนรู้ทางสังคม มีความเกี่ยวข้องกับสังคมแห่งการเรียนรู้ เพราะสังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่รู้จักปรับตัวอย่างเหมาะสมและไม่มีความผิดพลาดเกิดขึ้นอย่างซ้ำ ๆ ถ้าความผิดพลาดเกิดขึ้นอย่างซ้ำ ๆ หรือที่เรียกว่าประวัติศาสตร์ซ้ำรอยนั้น ไม่เป็นที่ปรารถนาของสังคม แต่ยังคงมีปรากฏให้ได้พบเห็นอยู่เป็นประจำ การทำให้ยอมรับความผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่ควรเป็นวิธีการที่น่าส่งเสริม

การพัฒนาสังคมเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบจึงควรนำเอา (Adopting) กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา และการใช้อำนาจ ในระดับชาติได้แก่อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ที่เป็นอำนาจรูปนัย รวมทั้งอำนาจอรูปนัยต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคมอีกมาก

ในระดับองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งในสถาบันการศึกษา ซึ่งมีอำนาจและการใช้อำนาจในรูปแบบเดียวกับระดับชาติเช่นกัน เพียงแต่ขอบเขตอำนาจนั้นแคบกว่าและเรียกชื่ออำนาจแตกต่างกันเท่านั้น กระบวนการต่าง ๆ ของการเรียนรู้ทางสังคมยังประกอบด้วยกระบวนการย่อยที่ซับซ้อนอีกมาก ผู้ที่สนใจและมีหน้าที่รับผิดชอบจึงควรหันมาให้ความสนใจกระบวนการเรียนรู้ทางสังคมเพื่อนำไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

STUDIES MODEL

STUDIES MODEL


STUDIES MODEL

             
สัปดาห์ ที่ 12    
1.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นระหว่างรูปดอกบัวกับรูปเพชร 
      ดอกบัว  บัวพ้นน้ำ-หมายถึง บุคคลที่มีศีลธรรมประจำใจครบถ้วนสมบูรณ์ อย่างน้อยก็มีศีล 5 ครบทุกข้อ มีความบริสุทธิ์ในจิตใจพอสมควร ปฏิบัติทั้งทาน-ศีล-ภาวนา หรือ ศีล-สมาธิ-ปัญญาครบถ้วนในองค์ 3 มีโอกาสบรรลุธรรม ถึงมรรค-ผล-นิพพานได้ไม่ยาก ถ้ามีความเพียรพยายามปฏิบัติต่อเนื่อง สม่ำเสมอไม่ท้อถอย
     มีความรู้ที่อยู่ในศาสตร์ ได้แก่ ความคิดรวบยอด หลักการ วิธีการ ที่อยู่ในตำรา อยู่ในห้องสมุด ซึ่งอยู่ภายนอกตัวบุคคล ที่สั่งสมกันมาเพื่อให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ โครงสร้างความรู้ หมายถึง ความรู้ที่อยู่ภายในตัวบุคคล ที่เกิดจากการเรียนรู้ของบุคคลนั้นๆ ซึ่งไม่ได้ลอกเลียนมาจากองค์ความรู้ แต่ผู้เรียนต้องสร้างขึ้นมาด้วยตนเอง เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นใหม่ เมื่อพัฒนาโครงสร้างความรู้ต่อไปก็สามารถสร้างผลงานเป็นองค์ความรู้ให้คนอื่นค้นคว้าได้

     เพชร   (Diamond) เป็นอัญมณีประจำเดือนเมษายน คำว่า “Diamond” นั้นมีรากศัพท์มาจากภาษากรีกว่า “Adamas” มีความหมายว่า ไม่มีใครเอาชนะได้ หรือไม่เคยแพ้ใคร (unconquerable) ซึ่งสืบเนื่องมาจากความแข็งของเพชรนั่นเองเพชร มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นธาตุคาร์บอน (C)ผลึกเพชรอยู่ในระบบคิวบิก (Cubic) มีรูปผลึกส่วนใหญ่เป็นแบบออกตะฮีดรอล (Octahedron) มีความแข็งเท่ากับ 10 ตามโมห์สเกล (Mohs’ Scale of Hardness) ซึ่งเป็นแร่มีความแข็งมากที่สุด จากสมบัติทางกายภาพของเพชรซึ่งมีผลถึงความสวยงาม ประกายแวววาว เพชรจึงเป็นอัญมณีที่เป็นที่นิยมนำมาเจียระไนรูปทรงต่างๆ เพื่อนำมาทำเครื่องประดับตั้งแต่สมัยอดีตกาลโดยเพชรที่มีชื่อเสียงมักมีขนาดใหญ่ หรือมีสีสวยงามหายาก ส่วนใหญ่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับสำหรับพระมหากษัตริย์ ซึ่งอีกความหมายถึง เพชรหมายถึงความ ความเชื่อ ความรัก ค่านิยม

2.   ให้อิสระในการเลือกภาพว่าชอบภาพไหนเพราะอะไรให้เหตุผล
รูปเพชร เพราะว่า หมายถึงความแข็งแกร่ง ความบริสุทธิ์ ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (backward design)


การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (backward design)

การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (backward design) เป็นรูปแบบที่วิกกินส์และ แมคไทฮี (Wiggins & McTighe, 1998) พัฒนาขึ้น รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนนี้เริ่มจาก การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังซึ่งวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดจากหลักสูตรแกนกลาง ซึ่งเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน การกำหนดหลักฐานหรือชิ้นงานที่ใช้ในการวัดผลและประเมินผลว่าผู้เรียน บรรลุผลการเรียนรู้หรือไม่ จากนั้นจึงกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียน จะเห็นว่า กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับนั้นเริ่มจากจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเช่นเดียวกับ ไทเลอร์ แต่มีกระบวนการดำเนินการที่ย้อนศรกับการออกแบบของไทเลอร์
   สิ่งที่เป็นความแตกต่างของการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบไทเลอร์หรือแบบดั้งเดิม และการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ ก็คือแนวคิดในการออกแบบ ซึ่งการออกแบบการเรียน การสอนแบบดั้งเดิมใช้แนวคิดแบบนักออกแบบกิจกรรมที่คำนึงถึงกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้ ในขณะที่การออกแบบการเรียนการสอนแบบ ย้อนกลับใช้แนวคิดแบบนักประเมินผลที่คำนึงถึงผลงานหรือชิ้นงานที่ใช้เป็นหลักฐานในการประเมิน จุดประสงค์การเรียนรู้ จากนั้นจึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้สร้างผลงานหรือชิ้นงาน ซึ่งทั้งสอง แนวคิดมีความแตกต่างกัน
การออกแบบการสอนแบบย้อนกลับ

มีหลักการที่ครูต้องทำ หรือที่เรียกว่า หลัก 6 ต้อง ซึ่งพิมพันธ์  เดชะคุปต์ และพเยาว์  ยินดีสุข (2552, หน้า 11-12) ได้เสนอแนะไว้ ได้แก่

1. ต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเชิงมาตรฐานการเรียนรู้ (integrated unit of learning) ซึ่งอาจเป็นหน่วยการเรียนรู้บูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน (intradisciplinary integrated unit of learning) หรือหน่วยการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ (interdisciplinary integrated unit of learning)

2. ต้องเน้นผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่คงทน พัฒนาทักษะ การคิดทั่วไป และพัฒนาลักษณะที่เอื้อต่อการเป็นผู้เรียนรู้ ผู้สืบค้นรวมทั้งนักคิด

3. ต้องเน้นการประเมินผลการเรียนรู้ที่มีการประเมินการปฏิบัติ การทำกิจกรรม การทดลอง และการประเมินผลงานชิ้นงานและภาระงาน หรือกล่าวโดยสรุป คือการประเมินตามสภาพจริง

 4. ต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้รูปแบบการสอน วิธีสอน แนวการสอนเป็นยุทธศาสตร์การสอน

5. ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านการทำกิจกรรม 6. ต้องให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้หรือถ่ายโยงความรู้ ซึ่งผลงาน/ ชิ้นงาน ที่นักเรียนสร้างขึ้นจะเป็นหลักฐานหรือร่องรอยเชิงประจักษ์ของการใช้ความรู้

โดยสรุป การออกแบบหลักสูตรย้อนกลับยึดหลักการสำคัญที่เน้นผลการเรียนรู้เป็นหลัก จากนั้น จึงออกแบบการประเมินผลชิ้นงานหรือภาระงานที่เป็นหลักฐานแสดงผลการเรียนรู้ และออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ในท้ายที่สุด 

 กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ

ขั้นตอนการออกแบบการสอนแบบย้อนกลับ มี 3 ขั้นตอน (Wiggins & McTighe, 1998, pp. 9-19)

ได้แก่

                1. กำหนดผลการเรียนรู้ที่ต้องการ (identify desired result) ในขั้นนี้ ผู้สอนจะต้อง วิเคราะห์ว่าผลการเรียนรู้ที่หลักสูตรคาดหวังในหน่วยการเรียนรู้คืออะไร อะไรเป็นความรู้หรือสาระการ เรียนรู้สำคัญที่ผู้เรียนควรรู้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

   1)  กลุ่มแรก คือ เนื้อหาส่วนใหญ่ที่มีคุณค่าในด้านที่ทำให้เกิดความคุ้นเคยในสิ่งที่เรียน ซึ่งเป็นรายละเอียดของเนื้อหาสาระ

 2) กลุ่มที่สอง คือ เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานที่ควรรู้และควรทำได้ คือความรู้ที่เป็น ข้อเท็จจริง/ความคิดรวบยอด/ หลักการ และทักษะสำคัญ ได้แก่ ทักษะที่เป็นกระบวนการ กลวิธี และ วิธีการ 

3) กลุ่มที่สาม คือ ความคิดหลักหรือหลักการสำคัญที่เป็นแก่นหรือสาระสำคัญของ หน่วยการเรียนรู้ที่เป็นความเข้าใจที่คงทนฝังอยู่ในตัวของผู้เรียนเป็นเวลานาน ในขณะที่รายละเอียด   อื่น ๆ นั้น ผู้เรียนอาจลืมไปแล้วแต่ในส่วนนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องเข้าใจอย่างแท้จริงและจดจำได้ ครูต้องให้ ความสำคัญกับเนื้อหาในส่วนนี้ และเป็นส่วนที่จำเป็นต้องประเมินว่าผู้เรียนรู้จริงหรือไม่ วิกกินส์และแมคไทฮี ได้ก าหนดเกณฑ์ในการพิจารณากลั่นกรองความรู้ที่มีคุณค่าสมควรแก่การสร้างความเข้าใจ ดังนี้

1. เป็นความรู้ที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ใหม่ที่หลากหลายทั้งใน เรื่องที่เรียนและเรื่องอื่น ๆ

2. เป็นความรู้ที่เป็นหัวใจสำคัญของหน่วยที่เรียน โดยผู้สอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการและค้นพบหลักการ แนวคิดที่สำคัญนี้ด้วยตนเองจึงจะเป็นความรู้ที่คงทน

 3. เป็นความรู้ที่อาจจะไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนหรือค่อนข้างจะเป็นนามธรรม ซึ่ง ผู้เรียนเข้าใจค่อนข้างยากและมักจะเข้าใจผิด แต่ความรู้นี้เป็นหัวใจของหน่วยการเรียนรู้

4. เป็นความรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงในการศึกษาค้นคว้า และเป็น ความรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน จึงทำให้ผู้เรียนมีความสนใจ ตั้งใจทำกิจกรรมไม่เกิดความ เบื่อหน่าย

 2. กำหนดหลักฐานที่แสดงผลการเรียนรู้ (determine acceptable evidence of learning) ค าถามสำคัญสำหรับผู้สอนในขั้นตอนนี้ คือ ผู้สอนจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตามมาตรฐานหรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ การแสดงออกของผู้เรียนควร เป็นอย่างไร จึงจะยอมรับได้ว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องประเมินผล การเรียนรู้โดยตรวจสอบการแสดงออกของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครอบคลุมสิ่งที่วัดและสะสม ผลการวัดตลอดหน่วยการเรียนรู้เพื่อรวบรวมหลักฐานร่องรอยของความรู้และทักษะของผู้เรียน นอกจากนี้ การวัดประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นความเข้าใจคงทนของผู้เรียนในภาพรวมที่เหมาะสมอีกวิธีหนึ่งคือ  การประเมินตามสภาพจริง ซึ่งควรจะเป็นการวัดจากชิ้นงานที่ผู้เรียนปฏิบัติ กระบวนการท างานและ การสะท้อนผลการเรียนรู้จากผู้เรียนเองซึ่งเป็นการประเมินตนเองของผู้เรียน

  3. ออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเรียนการสอน (plan learning experiences and instruction) ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้หรือจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้นั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาดำเนินการในสิ่งต่อไปนี้คือ

1. กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียนที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และจิตพิสัย ตามเป้าหมายที่กำหนด

2. กำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และมีทักษะตาม มาตรฐาน/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหน่วยการเรียนรู้

3. กำหนดสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม ที่จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาตาม เป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด

 4. กำหนดจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละชุดของกิจกรรมการเรียนรู้

 5. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยนำข้อมูลจากการออกแบบการจัดการเรียนรู้ มา จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  ขั้นตอนการออกแบบย้อนกลับดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปให้เห็นภาพความสัมพันธ์ของกระบวนการ ออกแบบกับโครงสร้างของแบบแผน เกณฑ์ในการออกแบบและผลลัพธ์จากการออกแบบ

 จากตารางข้างต้นจะเห็นความเกี่ยวพันของขั้นตอนการออกแบบย้อนกลับที่เริ่มต้นด้วยคำถาม สำคัญในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบ น าไปสู่หลักฐานความสำเร็จที่เป็นโครงสร้างของการออกแบบ ในแต่ละขั้นตอน เกณฑ์ในการพิจารณาประเมินหลักฐานความสำเร็จและการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ที่ตอบคำถามสำคัญของการออกแบบหลักสูตร

ระบบการเรียนการสอนของบริกส์ (Briggs Model)


ระบบการเรียนการสอนของบริกส์ (Briggs Model)

 

ขั้นตอนการจัดระบบการเรียนการสอน
          การสอนเป็นการถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ซึ่งเป็นมวลประสบการณ์ที่สังคมรวบรวมไว้ และคัดสรรเพื่อการถ่ายทอดแก่สมาชิกของสังคม เพื่อการสืบทอดและสร้างสรรค์สืบต่อกันไป ไม่ว่าจะเป็นความคิด การกระทำ วิทยาการและค่านิยม ล้วนแต่ได้รับการสร้างสรรค์และสะสมต่อๆ กันมาเป็นระบบ ซึ่งมีระบบต่าง ๆ ที่จะต้องพิจารณานำมาประกอบเป็นองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน เช่น ระบบความคิดและสติปัญญาของสังคมและผู้เรียน ระบบเนื้อหาสาระที่จะสอน ระบบสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ระบบสังคมและวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น เป็นต้น ดังนั้น การสอนจึงจำเป็นต้องดำเนินการทุกขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ทั้งขั้นเตรียมการ ขั้นสอน และประเมิน การดำเนินการสอนอย่างเป็นระบบนี้มีขั้นตอน การดำเนินการเหมือนกับระบบอื่น ๆ ทั่วไป คือ ขั้นตอนการจัดระบบซึ่งประกอบด้วย การวิเคราะห์ระบบ   การสังเคราะห์และออกแบบระบบ การสร้างแบบจำลองระบบ และการทดลองและพัฒนาระบบ

1.   การวิเคราะห์ระบบการสอน

  ขั้นการวิเคราะห์การสอนเป็นการสำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการสอนและสภาพ แวดล้อมของระบบการสอนเดิมที่เคยดำเนินการมาแล้วหรือกำลังดำเนินการอยู่เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงประเด็น (Relevance) ที่จะนำไปสังเคราะห์และออกแบบให้ได้ระบบที่มีประสิทธิภาพในขั้นต่อไป ดังนั้น จึงควร   ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมาย ความจำเป็น ขอบข่าย องค์ประกอบ และวิธีวิเคราะห์ระบบการสอน

      1.1  ความหมายของการวิเคราะห์ระบบการสอน
         การวิเคราะห์ระบบการเรียนการสอน หมายถึง การเริ่มต้นสำรวจและรวบรวม ข้อมูลทุกแง่มุมที่ผู้จัดระบบคิดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบที่ตนเองจะจัดระบบ เพื่อนำมาศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยในรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับส่วนประกอบต่าง ๆ  การประสานสัมพันธ์เข้าเป็นองค์ประกอบ และโครงสร้างของระบบนั้น ๆ ตลอดทั้งการศึกษาหาลักษณะกระสวน และวิถีของการเปลี่ยนแปลงของส่วนย่อย และบูรณภาพของระบบนั้น ๆ ดังนั้น การวิเคราะห์ระบบการสอนจึงเป็นการสำรวจและวิเคราะห์  ข้อมูลต่าง ๆ  ตลอดทั้งสภาพแวดล้อมของระบบการสอนเดิม หรือระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นลักษณะของความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องระหว่างวัตถุประสงค์ของการสอนกับประสบการณ์ และกิจกรรมการเรียน และการประเมิน    การเรียนว่ามีโครงสร้างและวิถีปฏิสัมพันธ์อย่างไร เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสังเคราะห์และออกแบบระบบการเรียนการสอนต่อไป
      1.2   ความจำเป็นในการวิเคราะห์ระบบการสอน
                   ระบบการสอนเป็นระบบเปิดที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียนเป็นจำนวนมากอยู่ภายในสภาพแวดล้อมทางกายภาพ จิตภาพ และสังคม ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การสอนจึงจำเป็นจะต้องการมีการวิเคราะห์อยู่เสมอ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้คือ ความเป็นพลวัตของระบบ สิ่งแวดล้อมของระบบ เปลี่ยนแปลง และเป็นตัวการให้เกิดการพัฒนาระบบ
                          1.2.1 ความเป็นพลวัตของระบบ เนื่องจากระบบเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ ระหว่างส่วนประกอบ (Elements) ในสถานการณ์ (Situation) และช่วงเวลาจำเพาะหนึ่ง ดังนั้น เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป และพ้นช่วงเวลาที่เหมาะสมแล้ว ระบบย่อยจะคงอยู่ในแบบเดิมไม่ได้ และอาจไม่เหมาะสม และมีปัญหาเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การเปลี่ยนไปของกลุ่มผู้เรียน สถานการณ์ทาง     วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมและเศรษฐกิจมีผลโดยตรงต่อระบบการสอน ดังนั้น การวิเคราะห์ระบบการสอนจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการแบบเฝ้าระวัง (Monitoring) ตลอดเวลา       
                       1.2.2  สิ่งแวดล้อมของระบบเปลี่ยนแปลง เมื่อสิ่งแวดล้อมของระบบเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะด้านปริมาณ จะมีผลกระทบต่อระบบที่ออกแบบไว้แล้ว เช่น มีขนาดเล็กเกินไป หรือใหญ่เกินไป ไม่เป็นการเหมาะสมที่จะใช้กับสภาพแวดล้อมนั้น ๆ   จำเป็นจะต้องใช้กระบวนการวิเคราะห์ระบบมาปรับเปลี่ยนระบบให้เหมาะสมอยู่เสมอ
                          1.2.3  การวิเคราะห์ระบบเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการพัฒนาระบบ การวิเคราะห์ระบบที่ถูกต้อง จะทำให้สามารถนำข้อมูลป้อนกลับมาปรับปรุงแต่ละขั้นตอนของระบบได้ถูกต้อง และสามารถ       แก้ปัญหาและพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆขึ้นไปได้


               1.3  ขอบข่ายของการวิเคราะห์ระบบการเรียนการสอน 
                   ต้องครอบคลุมไตรยางค์แห่งการสอน คือ วัตถุประสงค์ของการสอน ประสบการณ์และกิจกรรมการเรียนตามลำดับ และการประเมินและผลของการสอนของระบบการสอนเดิม หรือที่เคยดำเนินการไปแล้วในวิชาหรือเรื่องหรือขอบข่ายการสอนอย่างเดียวกันกับระบบที่กำลังวิเคราะห์ โดยเฉพาะจะต้องให้ได้ข้อมูลครบถ้วนองค์ประกอบของระบบการสอน คือ     องค์ประกอบของการสอนด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลลัพธ์   
                          1.3.1 การวิเคราะห์องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนด้านปัจจัยนำเข้า เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ของการสอน และอาจจำเป็นต้องย้อนกลับไปวิเคราะห์ปรัชญา และวัตถุประสงค์หลักของหลักสูตรด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวิถีและทิศทางของระบบ คุณค่าและแรงจูงใจ กระบวนการ และเกณฑ์การประเมินระบบ ซึ่งจะต้องวิเคราะห์รายละเอียด ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ เนื้อหา เวลา และกิจกรรมเปรียบเทียบกับผลสัมฤทธิ์ เช่น การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ผลของ     การปฏิบัติกิจกรรม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นต้น หรือจะวิเคราะห์แบบ ย้อนหลัง โดยเปรียบเทียบผลลัพธ์กับปัจจัยนำเข้า (Output/input)
                          1.3.2   การวิเคราะห์องค์ประกอบของระบบการสอนด้วยกระบวนการ
                          1. การวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญ และลำดับก่อนหลังของวัตถุประสงค์ของการสอนที่ได้วิเคราะห์รายละเอียดไว้แล้ว ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดขั้นตอนของกระบวนการสอน
                          2. ผู้เรียน ครอบคลุมด้านจำนวนและการเปลี่ยนแปลง ด้านความรู้ความสามารถ  ด้านเศรษฐกิจและสังคม ความรู้เดิม ตลอดทั้งลักษณะนิสัย และความคิดเห็นต่อการเรียน ทั้งนี้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลือกและตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการ การจัดการและกระบวนการของระบบ
                          3. โครงสร้างด้านเวลา ครอบคลุมช่วงเวลา และขั้นตอนของระบบความสัมพันธ์กับอายุของผู้เรียน ระยะเวลาในหลักสูตร  ตลอดถึงตารางเวลาต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับระบบการสอน
                          4. เนื้อหา จะต้องวิเคราะห์รายละเอียดเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมการเรียน
                          5. ผู้สอน วิเคราะห์ด้านบุคลิกภาพ ความสามารถ และเจตคติต่อการสอน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้สอน
                          6. งานวิจัยในชั้นเรียนที่เกี่ยวข้อง เป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าต่อองค์ประกอบด้านกระบวนการของระบบการสอน  สามารถเลือกมาใช้เป็นวิธีการและกระบวนการของระบบได้
                          7. สื่อการสอน การวิเคราะห์สื่อการสอนเน้นการวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ครอบคลุมประเภท  จำนวนการใช้  ประสิทธิภาพ  จุดเด่นและจุดด้อยของสื่อแต่ละประเภท
                          8. อาคารสถานที่  ครอบคลุมขนาดของห้อง การเชื่อมต่อ สภาพการใช้  ตลอดทั้งเครื่องอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
                          9. เทคโนโลยี  ครอบคลุมเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเรียนการสอนขีดความสามารถในการนำมาใช้ ข้อดี ข้อจำกัด และแนวโน้มต่าง ๆ
                          10. การจัดการ วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดการ กฎระเบียบหรือการปฏิบัติที่เป็นปัญหาต่อระบบการสอน
                          11. การควบคุมคุณภาพ ครอบคลุมปัญหาความไม่ชัดเจนของเกณฑ์ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลการเรียนการสอน ปัญหาการวิเคราะห์วัตถุประสงค์ ปัญหาวิถีและดัชนีของผลย้อนกลับ เป็นต้น
                          12. ทรัพยากร ครอบคลุมวัสดุอุปกรณ์ การได้มา คุณค่า และราคา ของสิ่งต่าง ๆ ที่มีใช้ในระบบการสอน
                          1.3.3  การวิเคราะห์องค์ประกอบของระบบการสอนด้านผลลัพธ์ครอบคลุม
                          1. ปัญหาการวัดผลของการสอน พฤติกรรมเบี่ยงเบนของผู้เรียน ผลการสอนที่ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ เป็นต้น
                          2. วัตถุประสงค์ของระบบการสอนที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนหรือเกินขีดความสามารถของผู้เรียน
                          3. เป้าหมายผลลัพธ์ของระบบไม่สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของผู้เรียน ผู้เรียนไม่เห็นคุณค่า และทำให้ระบบการสอนไม่บรรลุผล

      1.4  วิธีวิเคราะห์ระบบการสอน

                   เป้าหมายสำคัญของการวิเคราะห์ระบบการสอนระดับประสบการณ์การเรียน คือ การแสวงหาข้อมูลที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของระบบการสอนในส่วนที่เป็นปัจจัยนำเข้า กระบวนการ  ผลลัพธ์ และข้อมูลย้อนกลับของระบบการสอนแต่ละวิชา หรือแต่ละเรื่องที่สอน แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ เอกสารหลักฐานทางการศึกษา เอกสารวิชาการ และรายงานการวิจัย ข้อมูลที่ได้จากการสังเกต และสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง

                          1.4.1  การวิเคราะห์จากเอกสารหลักฐานทางการศึกษา   ได้แก่ การวิเคราะห์จาก

                          1. เอกสารหลักสูตรซึ่งอาจมี หลักสูตร เอกสารประกอบหลักสูตรแผนการสอน ตลอดทั้งเป้าหมาย และนโยบายของสถาบัน  เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาสาระของการสอน
                          2. เอกสารรายงานทางราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น รายงานผลการปฏิบัติตามโครงการต่าง ๆ รายงานผลการเรียนการสอนประจำปี สถิติเกี่ยวกับการเรียนการสอนต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะทำได้ ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอน และผลลัพธ์ของระบบ



                          1.4.2  การวิเคราะห์จากเอกสารวิชาการและรายงานวิจัย 
                          ได้แก่ เอกสาร ตำรา และรายงานการวิจัย ผลของการวิจัยในชั้นเรียนที่มีนักวิชาการหรือผู้เกี่ยวข้องทำไว้ เป็นแหล่งข้อมูลประกอบที่จะทำให้ผู้วิเคราะห์ระบบได้เข้าใจสาเหตุของปัญหา และมองเห็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของระบบ
                          1.4.3  การวิเคราะห์จากการสังเกต   มีวิธีสังเกตหลายรูปแบบคือ
                          1.  การสังเกตโดยการเข้าร่วมอยู่ในเหตุการณ์
                          2.  การสังเกตโดยไม่เข้าร่วมอยู่ในเหตุการณ์ และ
                          3.  การสังเกตโดยไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว 
               โดยมีหลักการในการสังเกตดังต่อไปนี้
                   ก. วางแผนล่วงหน้าว่าจะสังเกตอะไร
                   ข.  สังเกตด้วยความระมัดระวัง
                   ค.  สังเกตหลาย ๆ ด้าน
                   .  สังเกตอย่างต่อเนื่อง
                   จ.  ใช้เครื่องมือช่วยในการบันทึกผลของการสังเกต
                   .  ควรสังเกตหน่วยย่อยในแต่ละครั้ง เพื่อป้องกันความสับสน
                   .  ไม่ควรสรุปข้อคิดเห็นจากการสังเกตระยะสั้น
                   .  เลือกใช้เครื่องมือมาตรฐานในการสังเกต
                   .  ระวังความผิดพลาดจากการสังเกตระยะสั้น
                   .  ฝึกการสังเกตให้ชำนาญก่อนดำเนินการจริง
                   .  ในขณะสังเกตไม่ควรตีความหมายเป็นข้อมูล
                   .  ควรตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลให้ดีก่อนที่จะดำเนินการแปลผล

               การจดบันทึก และการนำเสนอผลของการสังเกตระบบ  ดำเนินการได้โดย
                   1. การบันทึกพฤติกรรมแบบพรรณนา และรายงานผลโดยการบรรยายด้วยข้อความ
                   2. บันทึกพฤติกรรมอย่างเป็นระบบ และนำเสนอแบบกึ่งตาราง หรือด้วยแผนสถิติ
                   3. บันทึกด้วยแบบบันทึกพฤติกรรมตรงและนำเสนอด้วยตารางหรือแบบพฤติกรรมตาราง
                          1.4.4  การวิเคราะห์จากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง
                          การสัมภาษณ์ผู้บริหาร ผู้สอน ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้องอื่น มีวัตถุประสงค์เพื่อ
                              1.  เพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีอื่น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
                              2.  ตรวจสอบความเป็นจริง และความถูกต้องของข้อมูลที่มาจากแหล่งอื่น
                              3.  หาความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพของผู้ปฏิบัติให้ผลของการปฏิบัติ
                              4.  หาประเด็นปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้เกี่ยวข้อง

2.  การสังเคราะห์และออกแบบระบบการสอน
           ขั้นสังเคราะห์นี้เป็นขั้นที่จะต้องพิจารณาเลือกเฟ้นและรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากขั้นวิเคราะห์ระบบเข้ามาสร้างเป็นระบบใหม่ นักจัดระบบส่วนมากจึงนิยมเรียกขั้นตอนนี้ว่า การสังเคราะห์และออกแบบระบบ  (System  synthesis and design) 
               2.1  ความหมายของการสังเคราะห์ระบบการสอน
                   การสังเคราะห์ระบบการสอนเป็นการรวบรวมส่วนประกอบและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องและเหมาะสมเข้ามาจัดลำดับขั้นตอนที่มีวิถีและความสัมพันธ์  ซึ่งจะทำให้เกิดภาพสมบูรณ์ (Entity) ขององค์ประกอบ ด้านปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ  ผลลัพธ์  และผลย้อนกลับของระบบการสอน
2.2   องค์ประกอบของการสังเคราะห์และการออกแบบระบบการสอน
           การสังเคราะห์และออกแบบระบบการสอน ประกอบด้วย
               1.  กำหนดหลักการและปณิธาน (Mission statement) 
               2.  กำหนดเกณฑ์ในการออกแบบระบบ (Design criteria)
               3.  กำหนดเป้าหมายของระบบ (Performance goals) 
               4.  กำหนดองค์ประกอบของระบบย่อย วิถีและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ (Input/output,  Output/input)
 
1.        การกำหนดหลักการและปณิธานของระบบการสอน
           เป็นขั้นตอนหลักของการสังเคราะห์ระบบการสอน เพราะขั้นต่อ ๆ ไปเป็นเพียงการอนุวัตรตามผลของการสังเคราะห์ที่ได้จากขั้นนี้เท่านั้น โดยในขั้นนี้จะต้องนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากขั้นวิเคราะห์ระบบมาแจกแจงเข้าตารางสัมพันธ์ดังต่อไปนี้
1.1 ตารางสัมพันธ์   วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ ตารางนี้จะเป็นดัชนีให้ทราบว่าระบบเดิม
บรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด วัตถุประสงค์ใดที่ไม่บรรลุผล ทำให้ทราบจุดอ่อน และจุดแข็งของระบบเดิมโดยรวม
1.2    ความสัมพันธ์ ผลลัพธ์ การปฏิบัติ การปฏิบัติในตารางนี้ หมายถึง กิจกรรมในการ
เรียนการสอนทุกอย่างรวมทั้งการปฏิบัติในการจัดการการเรียนการสอนด้วย ตารางนี้จะทำให้ทราบว่า ผลลัพธ์แต่ละอย่างที่เกิดขึ้นเกิดจากกระบวนการใดในระบบการสอนเดิม
1.3    ตารางสัมพันธ์ การปฏิบัติ กฎระเบียบ กฎระเบียบ หมายถึง กฎระเบียบ 
ข้อบังคับ ข้อกำหนด ในการจัดการเรียนการสอน ตลอดทั้งแผน และคู่มือปฏิบัติตามระบบการสอน จะได้ทราบว่า  ในการปฏิบัติจริงแล้วมีการปฏิบัติในเรื่องใดที่ไม่เป็นไปตามวิถี และทิศทางของระบบที่กำหนดไว้บ้าง
1.4    ตารางความสัมพันธ์ กฎระเบียบ การตัดสินใจ การตัดสินใจ หมายถึง การ
ตัดสินใจเลือกวิถี หรือเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติของผู้เกี่ยวข้องทั้งผู้สอนและผู้เรียน ทำให้ไม่เป็นไปตามกระบวนการของระบบที่กำหนดไว้ ถ้ามีมากแสดงว่าระบบการสอนเดิมไม่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของการเรียน  การสอน  ทำให้มองเห็นองค์ประกอบที่ไม่เหมาะสมของระบบเดิม
1.5    ตารางความสัมพันธ์ การตัดสินใจ ผล ผลในตารางนี้ หมายถึง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
จากการตัดสินใจแต่ละครั้ง ซึ่งไม่ใช่ผลสุดท้าย เพราะจะกลายเป็นปัจจัยนำเข้าของระบบย่อยอื่นต่อไป (Output/input)  ตารางนี้จะทำให้ผู้สังเคราะห์ระบบทราบว่ามีปัจจัยใหม่ อะไรบ้างที่เกิดผลดีหรือผลเสียต่อระบบเมื่อประมวลตารางทั้ง 5 เข้าด้วยกันแล้ว จะทำให้ผู้สังเคราะห์สามารถกำหนด  หลักการและปณิธานของระบบขึ้นมาในลักษณะเหตุผล และแนวคิดของระบบใหม่ (Logical system definitions)  หรือเป็นหลักการของระบบ หรือปณิธานของระบบได้
2.        กำหนดเกณฑ์ในการออกแบบระบบ
           การกำหนดเกณฑ์ในการออกแบบ ทำได้โดยพิจารณาจากหลักการและปณิธานของระบบ และตารางสัมพันธ์ทั้ง 5 ตาราง ก่อนจะกำหนดเป็นเกณฑ์ในการออกแบบได้อย่างเหมาะสม
3.        การกำหนดเป้าหมายของระบบ
           ขั้นนี้ผู้สังเคราะห์ระบบจะต้องประมวลรวมข้อมูลต่าง ๆ มาจากตารางทั้ง 5 หลักการและปณิธานและเกณฑ์ในการออกแบบระบบ ถ้าการออกแบบระบบเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็สามารถ  ตั้งเป้าหมายด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ให้สัมพันธ์กันได้ โดยเป้าหมายของระบบที่กำหนดไว้จะต้องกำหนด งานที่จะต้องทำ  เงื่อนไขของงาน และผลลัพธ์ขั้นต่ำไว้อย่างชัดเจน
4.        การกำหนดองค์ประกอบของระบบย่อย
ระบบย่อย (Subsystems)  หรือองค์ประกอบหลักของระบบการสอน  ได้แก่  ระบบขั้นตอนการสอน ระบบสื่อการสอน และระบบถ่ายทอดการสอน ซึ่งแต่ละระบบจะต้องกำหนดปัจจัยนำเข้า  กระบวนการ ผลลัพธ์ และผลย้อนกลับ ตลอดทั้งวิถีและความสัมพันธ์ภายในระบบและระหว่างระบบย่อยเหล่านี้ด้วยสิ่งที่กำหนดไว้ในขั้นตอนนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการออกแบบระบบการสอน

3. การสร้างแบบจำลองระบบการสอน
           3.1 ความหมายของแบบจำลองระบบการสอน  แบบจำลอง  ระบบการสอนหมายถึง แผนภูมิลำดับกรอบที่แสดงส่วนประกอบ โครงสร้าง ขั้นตอน วิถี ทิศทาง และเงื่อนไขของความสัมพันธ์และการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงของระบบ โดยใช้ภาพสัญลักษณ์ และสิ่งแทนที่กำหนดขึ้นมาแทนส่วนประกอบ และองค์ประกอบจริงของระบบการสอน แบบจำลองระบบการสอน จึงเป็นระบบที่เทียบเสมือนที่เทียบและแทนส่วนประกอบองค์ประกอบ และกระสวน การเปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้
           การสร้างแบบจำลองระบบ เป็นวิธีการที่นำเสนอระบบที่จะสะดวกต่อการนำไปใช้ นิยมเขียนแบบจำลองระบบ โดยการเขียนแบบจำลองซึ่งสามารถเขียนได้ดังนี้
แบบที่1 เขียนตามแบบแนวนอน
แบบที่ 2 เขียนตามแนวตั้ง
แบบที่ 3 เขียนแบบแนวตั้งผสมแนวนอน
แบบที่ 4 เขียนแบบวงกลมและวงรี

แบบที่ 5 แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์
           3.2  ความสำคัญของแบบจำลองระบบการสอน
               แบบจำลองระบบการสอนมีความสำคัญต่อ
     1. การสื่อความหมาย เพราะแบบจำลองมีความลักลั่น ตัดรายละเอียดออกเป็นสัญลักษณ์  ทำให้มองเห็นภาพรวมของระบบได้
   2. ใช้เป็นคู่มือในการเลือกและกำหนดกระบวนการสอน เพราะในแบบจำลองระบบแสดงลักษณะความสัมพันธ์ของระบบย่อย หรือระหว่างขั้นตอนให้เห็นได้ชัดเจน จึงสามารถใช้ประกอบการตัดสินใจได้ว่า กระบวนการอย่างไรจึงจะเหมาะสม
   3.  เป็นเครื่องมือกำกับการดำเนินการ 
   4.  มีความสำคัญต่อการติดตามประเมินและพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับสถานการณ์และมีประสิทธิภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไป

4.  การทดสอบประสิทธิภาพระบบการสอน (Systems testing)
           การทดสอบประสิทธิภาพระบบการสอน เป็นการตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อหาข้อขัดข้อง และประเด็นปัญหาในด้านต่าง ๆ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การทดสอบประสิทธิภาพระบบการสอนจะต้องทดสอบในสถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์จริงแบบย่นย่อ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความแน่ใจในการนำระบบไปใช้จริงว่าจะไม่มีปัญหา มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพียงพอที่จะนำไปใช้จริงได้ 
           การทดสอบประสิทธิภาพระบบการสอน อาจทำได้หลายวิธี แต่ในที่นี้จะอธิบายวิธีที่ดำเนินการได้ง่าย 3 วิธี คือ การทดสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  การทดสอบโดยการทดลองออกแบบและวางแผนการสอน และการทดสอบในสถานการณ์จริงแบบย่นย่อ หรือสถานการณ์จำลอง
               4.1  การทดสอบประสิทธิภาพระบบการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
                      1. กำหนดเกณฑ์คัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านคุณวุฒิ ประสบการณ์ และการยอมรับของวงการ  เป็นต้น
                      2. องค์ประกอบของผู้ทรงคุณวุฒิ ควรประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารและการจัดการสอน ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการสอน ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อการสอน
                      3. กำหนดเครื่องมือสำหรับทดสอบ  อาจเป็นแบบสอบถาม หรือประเมินให้ค่าน้ำหนัก หรือแบบแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
                      4. นำเสนอระบบการสอนพร้อมด้วยเครื่องมือทดสอบ และ
                      5. ดำเนินการวิเคราะห์ผลและปรับปรุงระบบการสอนตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
               4.2 การทดสอบประสิทธิภาพระบบการสอนโดยการทดลองออกแบบและวางแผนการสอน
                   การทดสอบประสิทธิภาพระบบการสอนโดยการทดลองออกแบบ และวางแผนการสอนตามกระบวนการของระบบการสอน เป็นการทดสอบที่เน้นทดสอบองค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า และกระบวนการของระบบ ดำเนินการเป็นคณะบุคคล โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เกี่ยวข้อง ที่จะนำระบบ      การสอนไปใช้โดยตรง ร่วมกันทดลองออกแบบการสอนและวางแผนการสอนตามขั้นตอนและกระบวนการของระบบการสอน เพื่อทดสอบว่าสามารถดำเนินการได้โดยราบรื่น และได้ผลเป็นที่น่าพอใจมากน้อยเพียงใด ในขณะดำเนินการ ก็จะต้องรวบรวมข้อมูล ข้อขัดข้องและประเด็นปัญหาต่าง ๆ ไว้โดยละเอียด เพื่อนำมาวิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนจนเป็นที่พอใจของคณะผู้ทดสอบต่อไป   การออกแบบ และวางแผนการสอน อาจทำทุกรายวิชา ทุกเรื่อง หรือบางวิชา บางเรื่องเท่านั้นก็ได้ ขึ้นอยู่กับความคิดเห็น และความพอใจของคณะผู้ดำเนินการ
               4.3 การทดสอบประสิทธิภาพระบบการสอน โดยการทดลองในสถานการณ์จริงแบบย่นย่อหรือสถานการณ์จำลอง
                   ดำเนินการโดยทดลองออกแบบและวางแผนการสอนตามขั้นตอนและกระบวนการของระบบการสอนที่จะทดสอบประสิทธิภาพ โดยใช้รายวิชาและเนื้อหาตามหลักสูตรจริง แต่สุ่มมาทำเพียง 2 หรือ  3 เรื่อง ใช้เวลาสอนจริงประมาณ 2-4 คาบการสอน และสอนกลุ่มเป้าหมายจริง ประมาณ 20-30 คน หรือ 1 ห้องเรียน  ดำเนินการสอนจนครบถ้วนกระบวนการ แล้วทดสอบประสิทธิภาพการสอน (E1/E2) ว่ามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์หรือไม่ ทดสอบความก้าวหน้าทางการเรียนว่ามีความแตกต่างกันระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนหรือไม่   สอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อการสอน เป็นต้น ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการทดสอบนี้ก็จะเป็นข้อมูลย้อนกลับไปสู่องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบการสอน ซึ่งสามารถจะปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงขึ้นได้

 5. การประเมินระบบการสอน
  ขั้นตอนการจัดระบบการสอนประกอบด้วย ขั้นวิเคราะห์ระบบ  ขั้นสังเคราะห์ และออกแบบระบบ    ขั้นสร้างแบบจำลองระบบ ขั้นทดสอบประสิทธิภาพ และพัฒนาระบบ และขั้นประเมินระบบ จะเห็นได้ว่า   ขั้นประเมินระบบเป็นขั้นสุดท้ายของการจัดระบบการสอน แต่ในความเป็นจริงตามธรรมชาติของระบบ  ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยน เคลื่อนไหว และพัฒนาไปอย่างต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ดังนั้น ขั้นการประเมินระบบจึงเป็นเพียงจุดวนกลับไปสู่ขั้นการวิเคราะห์ระบบในรอบการจัดระบบใหม่เท่านั้น การประเมินระบบจึงเป็นกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการวิเคราะห์ระบบในวงจรต่อไปนั่นเอง
           5.1  ความหมายของการประเมินระบบการสอน
การประเมินระบบการสอน เป็นการรวบรวมข้อมูลทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับระบบการสอนตั้งแต่     เริ่มต้นกระบวนการ หรือตามช่วงเวลา ที่กำหนดในเกณฑ์การประเมิน  โดยการสำรวจ สอบถาม สัมภาษณ์  วัดและประเมินตามความเหมาะสมกับข้อมูลแต่ละด้าน  ซึ่งได้แก่ ด้านบริบท (Context: C) ด้านปัจจัย    นำเข้า (Input: I) ด้านกระบวนการ (Process: P) และด้านผลลัพธ์ (Product Output: O) ตลอดทั้ง     ผลย้อนกลับ (Feedback)  ที่ถือเป็นองค์ประกอบของระบบการสอน โดยการจัดการข้อมูลในลักษณะที่จะทำให้เห็นทิศทางและความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ (CIPP) เพื่อใช้เป็นดัชนีตัดสินว่าระบบการสอนที่ประเมินมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
           5.2  วัตถุประสงค์ของการประเมินระบบการสอน
การประเมินระบบการสอน เป็นกระบวนการที่ดำเนินการหลังจากที่ได้นำระบบการสอนมาใช้จริงจนครบวงจรของระบบแล้ว ซึ่งแตกต่างจากการทดสอบประสิทธิภาพระบบในสถานการณ์จำลอง หรือสถานการณ์จริงแบบย่นย่อ เพราะการทดสอบนั้นเน้นการทดสอบเพื่อประกันความมั่นใจพอที่นำระบบมาใช้จริงได้เท่านั้น ดังนั้น การประเมินระบบการสอนจึงมีวัตถุประสงค์ 3 ด้าน คือ ประเมินผลลัพธ์ ประเมินกระบวนการ และประเมินความหยุ่นตัวของระบบ
                      1. การประเมินผลลัพธ์ของระบบการสอน
                          เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบระหว่างวัตถุประสงค์ เป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นหลังจากใช้ระบบจนครบวงจรแล้ว เพื่อประเมินประสิทธิภาพว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของระบบที่กำหนดไว้หรือไม่
                     
                   2. การประเมินกระบวนการ
                          เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ของระบบว่ามีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับเกณฑ์ในการออกแบบระบบหรือไม่ สอดคล้องและเหมาะสมมากน้อยเพียงใด การประเมินกระบวนการนี้จะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการของระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

                      3. การประเมินความหยุ่นตัวของระบบ
                          ระบบการสอนเหมือนระบบต่าง ๆ ทั่วไป คือ มีลักษณะเป็นองค์รวม (Entity) คล้ายกับสิ่งที่มีชีวิต ถ้ามีความยืดหยุ่น มีความคล่องตัว สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดีก็สามารถเกิดขึ้น เจริญเติบโต สืบและขยายพันธุ์อยู่ได้ การประเมินความหยุ่นของระบบการสอนจึงเป็นการประเมินเพื่อดูว่าตัวระบบการสอนเอง ซึ่งหมายถึง ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลลัพธ์ (ผลผลิต : Product)           ผลพลอยได้ (Income) ผลกระทบ (Impact)  ว่ามีความสอดคล้องและหยุ่นตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและบริบทต่าง ๆ  ได้ตามเกณฑ์  ในการออกแบบระบบหรือไม่
           5.3  หลักการประเมินระบบการสอน
               การประเมินระบบการสอน  โดยทั่วไปจะยึดหลักการตามวัตถุประสงค์ของการประเมิน  ทั้ง 3 ด้าน คือ การประเมินที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก การประเมินที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก และการประเมินที่ยึดคุณค่าเป็นหลัก
                   1.  การประเมินที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก
                          การประเมินโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นหลักนี้ ผู้ประเมินจะยึดวัตถุประสงค์ของระบบการสอนเป็นตัวตั้ง วิเคราะห์และแจกแจงวัตถุประสงค์อย่างละเอียด แล้วเปรียบเทียบกับผลลัพธ์ของระบบว่าบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
                      2. การประเมินที่ยึดเกณฑ์เป็นหลัก
                          การประเมินโดยยึดเกณฑ์ในการออกแบบระบบเป็นหลักนี้ ผู้ประเมินจะใช้เกณฑ์และมาตรฐานของระบบที่กำหนดไว้เป็นมาตรในการวัด แล้วประเมินว่า ระบบมีปัจจัยนำเข้า และผลลัพธ์     เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดให้หรือไม่
                      3. การประเมินที่ยึดคุณค่าเป็นหลัก     
                          การประเมินระบบการสอนที่ยึดคุณค่าของระบบเป็นหลักนี้ก็คือ การประเมินที่ผู้ประเมินมี วัตถุประสงค์ที่จะประเมินหาความหยุ่นของระบบนั่นเอง กล่าวคือ เป็นการประเมินเปรียบเทียบระหว่างบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ ว่าส่งผลกระทบต่อกันอย่างไร เพื่อประเมินคุณค่าของระบบว่ายังมีความคุ้มค่าหรือความเหมาะสมอยู่หรือไม่ เช่น ถ้าบริบทไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ทำให้ผลของระบบ ไม่ได้มาตรฐาน แต่มีแนวโน้มว่าถ้าสามารถเติมบริบทให้เป็นไปตามเกณฑ์ได้ ผลลัพธ์ก็จะได้มาตรฐาน    ก็ยังคงถือว่าการประเมินยอมรับได้ เป็นต้น
           5.4  ขั้นตอนการประเมินระบบการสอน
               การประเมินระบบการสอนจะต้องทำงานอย่างเป็นระบบ หรือตัวการประเมินก็คือ ระบบหนึ่ง คือ ระบบการประเมินระบบการสอน นั้นเอง ดังนั้น การประเมินระบบทุกครั้งจะต้องมีการจัดและออกแบบระบบ  ทำให้มีขั้นตอนในทำนองเดียวกันกับระบบอื่น ๆ  คือ  ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน ขั้นกำหนดเกณฑ์ในการประเมิน ขั้นกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ขั้นรวบรวมข้อมูล และขั้นรายงานผลการประเมิน
               1. ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมิน
                      ก่อนจะเข้าสู่ขั้นกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินระบบนี้   ผู้ประเมิน  หรือคณะของผู้ประเมิน จะต้องมีข้อมูลเบื้องต้นจากการวิเคราะห์ระบบมาแล้วจึงจะสามารถกำหนดได้ว่าในการประเมินระบบการสอนครั้งนี้จะมีขอบข่ายของวัตถุประสงค์ที่จะประเมินอย่างไร ในขอบข่าย 3 แบบ ที่กล่าวมาแล้ว หรือจะประเมินหมดทั้ง 3 ขอบข่าย เป็นต้น แล้วจึงกำหนดรายละเอียดของวัตถุประสงค์ตามขอบข่ายของวัตถุประสงค์นั้น ๆ
                   2. ขั้นกำหนดเกณฑ์ในการประเมิน
                      ในขั้นนี้ผู้ประเมินจะต้องนำเกณฑ์ของระบบมาเป็นหลักในการตั้งเกณฑ์การประเมินระบบขึ้น กล่าวคือจะต้องกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำของปัจจัยนำเข้า เกณฑ์ความสัมพันธ์และปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ และเกณฑ์มาตรฐานของผลลัพธ์ต่าง ๆ จากเกณฑ์ต่าง ๆ  เหล่านี้จะทำให้ผู้ประเมินสามารถสร้างเครื่องมือวัดและเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล  และตารางรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ได้
                   3. ขั้นกำหนดกลุ่มตัวอย่าง
                      ในกรณีที่เป็นการประเมินระบบการสอนระดับหลักสูตรหรือระดับรายวิชาที่เป็นระบบใหญ่  ครอบคลุมผู้เรียนทั้งประเทศ การที่จะเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมดเป็นไปได้ยาก จึงต้องมีกระบวนการกำหนดกลุ่มตัวอย่างเหมือนกระบวนการวิจัยโดยทั่วไป แต่ถ้าเป็นการประเมินระบบการสอนระดับประสบการณ์ที่มีผู้เรียนจำนวนไม่มากก็สามารถดำเนินการเหมือนการวิจัยในชั้นเรียนทั่ว ๆ ไป  โดยรวบรวมข้อมูลจากประชากรทั้งหมด
                   4. ขั้นรวบรวมข้อมูล
                      ในขั้นรวบรวมข้อมูลนี้เป็นขั้นที่ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการประเมิน  บางอย่างอาจต้องใช้ข้อมูลของระบบการสอนที่มีการรวบรวมไว้แล้วตามกระบวนการของระบบ บางอย่างต้องใช้เครื่องมือวัด เช่น ผลของกิจกรรมนักเรียน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นต้น
          
                5. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
                      ในขั้นการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ มีกระบวนการและดำเนินการเหมือนกับขั้นการวิเคราะห์ระบบที่กล่าวมาแล้ว
                   6. ขั้นรายงานผลการประเมิน
                      การรายงานผลการประเมินระบบการสอนจะต้องรายงานเหมือนกับการรายงานผลการวิจัยโดยทั่วไป คือ จะต้องประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของการประเมิน เกณฑ์ในการประเมิน การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง การรวบรวมข้อมูล  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล  สรุปผลของการประเมิน อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
           โดยสรุป การประเมินระบบการสอน เป็นการรวบรวม วิเคราะห์ และประเมินข้อมูลเกี่ยวกับบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลลัพธ์ โดยยึดวัตถุประสงค์ของระบบเป็นหลัก หรือยึดเกณฑ์ของระบบเป็นหลัก หรือยึดการวัดความหยุ่นของระบบเป็นหลัก และดำเนินการตามขั้นตอน คือ กำหนด     วัตถุประสงค์ กำหนดเกณฑ์ กำหนดกลุ่มตัวอย่าง รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และรายงานผลการประเมิน