วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน


การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

          คําว่า สื่อ มีความหมายกว้างมาก การเรียนการสอนในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอน ตํารา เทป วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ mediumหรือ media มาจากภาษาลาติน หมายถึง บางสิ่งบางอย่างที่ อยู่ตรงกลาง (intermediate หรือ middle) หรือเครื่องมือ (instrument) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการ สื่อสารที่ส่งไปถึงประชาชน เป็นพาหนะของการโฆษณา (Guralnikjv07, 1970) ดังนั้น เมื่อพิจารณาในด้าน ของการสื่อสารแล้ว สื่อจึงหมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะนําความรู้หรือสารสนเทศจากแหล่งกําเนิดไปสู่ผู้รับ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ รูปภาพ วัสดุฉาย สิ่งพิมพ์ และสิ่งดังกล่าวนี้ เมื่อนํามาใช้กับการเรียนการสอน เราเรียกว่าสื่อการเรียนการสอน
          กลวิธีการสอนและการตัดสินใจเลือกสื่อ เป็นความสัมพันธ์ระหว่างกัน และควรจะทําไปพร้อมกัน หลังจากที่ได้มีการกําหนดจุดหมายและวิเคราะห์ภาระงานแล้ว แบบจําลองในการเลือกสื่อมีทั้งแบบที่มีความ เรียบง่าย และแบบที่มีความซับซ้อน โรเบิร์ต เมเจอร์ (Robert Mager) (Knik and Gustafson, 1986 : 169) ผู้ซึ่ง เป็นนักออกแบบการสอน เพื่อการค้าที่ประสบความสําเร็จ ได้กล่าวว่า กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการ เลือก นอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทําจากอย่างอื่น วัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการ ออกแบบและผลิต ง่ายที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่าย และนักเขียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวอย่างของ แบบจําลองง่ายๆ สําหรับการเลือกสื่อ ส่วนแบบจําลองที่ซับซ้อนเป็นวิธีการที่ส่วนใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยง เท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของทหาร ก็คือ อย่าโง่เลย ทําให้ดูง่ายๆ เถอะ (KISS : Keep It Simple, stupid)
          การนําเสนอสื่อการเรียนการสอน ควรเป็นการกระตุ้นทางการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพง่าย แกิการเข้าใจ สื่อที่ซับซ้อนมีแนวโน้มของการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายสูงและบ่อยครั้งพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพและเชื่อถือไม่ได้ ควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่ถูกที่สุดที่ทําให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ตาม เจตนารมณ์ภายในระยะเวลาที่สมเหตุสมผล อย่างไรก็ตามข้อควรจํา คือ การสือราคาย่อมเยาที่ผลิตไม่ดีทําให้ การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้สื่อที่ซับซ้อนดังกล่าวแล้วเช่นกัน
          การเลือกและการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน เป็นเรื่องสําคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนการ ออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ นักออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือก วิธีการสื่อ หรือเลือกวิธีการเลือกวัสดุอุปกรณ์ ระบุประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าริเริ่มและเฝ้าระวัง
          กระบวนการผลิตสื่อ นักออกแบบอาจจะทําเพียงการวางแผนมโนทัศน์ สคริปและนานๆ ครั้ง อาจจะผลิตวัสดุ (software) สําหรับจําหน่ายความจํากัดสําหรับบทบาทของผู้ออกแบบในการตัดสินใจ เกี่ยวกับวิธี สื่อ จะหลากหลายไปตามสถานการณ์ และแม้ว่าจะมีวิธีการหลายวิธีในการจําแนกสื่อเป็น ประเภทๆ ก็ตาม ก็ยังไม่มีอนุกรมภิธานสื่อ (taxophorny of media) ที่พัฒนาขึ้นจนเป็นที่น่าพอใจ (Seels and Glasgow, 1990 : 179)
          ในบทนี้จึงเป็นการเสนอชื่อ 3 ประเภท คือ วิธีการ สื่อดั้งเดิม เทคโนโลยีใหม่หรือสื่อดิจิทัล ภายใน แต่ละประเภทจะมีทางเลือกและรูปแบบมาก เช่น กราฟฟิก และฟิล์ม หรือโทรทัศน์เฉพาะกราฟิกก็มีหลาย รูปแบบ ได้แก่ แผนภูมิ การ์ตูน และภาพประกอบการเลือกวิธีการสื่อ อยู่บนพื้นฐานของเกณฑ์จะมีความ เหมาะสมสําหรับผู้เรียนสิ่งที่เรียนและข้อจํากัดคุณลักษณะของผู้เรียน จุดประสงค์ สถานการณ์การเรียนรู้ และ ข้อจํากัดนั้นต้องระบุขึ้นก่อนที่จะเลือกวิธีการและสื่อหลังจากที่ได้มีการระบุวิธีการสื่อแล้วผู้ออกแบบต้อง แสวงหาสื่อจากดัชนีสื่อจากสื่อที่สร้างขึ้นเพื่อการค้าซึ่งสามารถที่จะนํามาใช้หรือนํามาปรับใช้ได้ถ้าสื่อ เหล่านั้นไม่มีประโยชน์ก็ต้องผลิตสื่อขึ้นเอง
          ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ผลิตสื่อ ทีมในการผลิตควรจะประกอบ ไปด้วยใครบ้าง ผู้ออกแบบต้องริเริ่ม เฝ้าระวังติดตามกระบวนการผลิต เป็นความรับผิดชอบของผู้ออกแบบที่ จะต้องมีความแน่ใจในบูรณาการภาพของการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ด้วยการเฝ้าระวังติดตาม การผลิต
          ประเภทของสื่อ
          สื่อสามารถจําแนกได้ สี ประเภท คือ สือทางหู (audio) ทางตา (visual) ทางหูและทางตารวมกัน (audio- visual ) และสัมผัส (tactile) ผู้ออกแบบสามารถเลือกสื่อที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆ สําหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4 ประเภทและตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง มี ดังต่อไปนี้
          1. สื่อทางหู ได้แก่ เสียงของผู้ฝึก ห้องปฏิบัติการทางเสียง การเตรียมเทปสําหรับผู้ฝึกเทป แผ่นเสียง วิทยุกระจายเสียง
          2. สื่อทางตา ได้แก่ กระดานชอล์ก กระดานแม่เหล็ก กราฟ คอมพิวเตอร์ วัตถุต่างๆ ที่เป็นของ เปภาพ แผนภูมิ กราฟภาพถ่าย หุ่นจําลอง สิ่งที่ครูแจกให้ หนังสือ ฟิล์ม สไลค์ แผ่นใส่
          3. สื่อทางหูและทางตา ได้แก่ เทปวีดิโอ ทีวีวงจรปิด โปรแกรมโสตทัศนวัสดุ สไลด์ เทป ยนตร์เสียงในฟิล์ม ทีวีทั่วไป เทคโนโลยีอื่นๆ เช่น ดิจิทัล วีดิโอ อินเตอร์แอคทีฟเทคโนโลยี (digital video interactive technology)
          4. สื่อทางสัมผัส ได้แก่ วัตถุของจริง แบบจําลองในการทํางาน เช่น ผู้แสดงสถานการณ์จําลอง
          ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
          ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสําหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจง ผู้ออกแบบจําเป็นต้องรู้ถึงความเป็นไปได้ในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภท ตารางที่ 16 จะ แสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อจากประเภทของสื่อสําคัญ 4 ประเภทและตารางที่ 17 แสดง ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
          การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ
          การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ บางครั้งเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ในบางเวลาจะเลือกวิธีการก่อน และเลือกสื่อที่จําเป็นในการใช้ที่หลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird: 180) เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นเหมือนทาง หลวง (highway) ที่นําไปสู่จุดหมายปลายทาง (จุดประสงค์) และสื่อ (วัสดุฝึก) เป็นสิ่งที่เพิ่มเติม (accessories)บนทางหลวง เช่น สัญญาณ แผนที่ ซึ่งทําให้การเดินทางสะดวกขึ้น
          วิธีการ เป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความชี้เฉพาะมาก เป็นวิธีการเรียนการสอนที่ตัดสิน ธรรมชาติของบทเรียน Joyce and weil (1980) เรียกสิ่งเหล่านี้ว่าแบบจําลองการสอน (model of teaching) แบบจําลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับบทเรียนมากกว่าที่จะเป็นระดับหน่วยใน หลักสูตร
          ตารางที่ 16 ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางอย่าง สื่อ 1
สื่อ
ข้อดี
ข้อเสีย
โสตวัสดุ
1. เทป
• จูงใจ
• ใช้กับกลุ่มใหญ่ได้
• ใช้ได้ทั้งที่บ้าน ที่ทํางานและในชั้นเรียน
• สามารถก็อปปี้ได้
• ง่ายในการเก็บรักษา


• ก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย
• ไม่มีการให้ผลป้อนกลับในการเรียนการสอน
• ใช้เวลาในการกรอเทปกลับ
• สามารถถูกทําลาย ฉีกขาดเสียหายได้
• หน่วยที่จะกรอเทปกลับอาจจะไม่ว่าง
2. คําแนะนําของผู้ฝึก
 เผชิญหน้ากัน
• ให้ผลป้อนกลับที่ดีกว่า
• ไม่เห็นหน้ากัน
• ต้องการทรัพยากรเพิ่มมากขึ้น
3. โทรทัศน์
• ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง
• เป็นระบบไปรษณีย์ที่สั้นๆ
• สิ้นเปลือง
• เครื่องมือพัง
ทัศนวัสดุ
1.ภาพพลิก (Flip Charts)
• ราคาถูก
• เก็บสารสนเทศได้
• เคลื่อนย้ายได้
• เปลี่ยนสารสนเทศได้ เช่น การพิมพ์
• นําเสนอบทเรียนได้
• ไม่จํากัดว่าใช้กับคนคนเดียว
• ครูจําเป็นต้องนําเสนอด้วยการเขียนที่สวยงาม
• จํากัดขนาด
• สารสนเทศมากเกินไป
• กินเวลามาก
• ยากที่จะแสดงทัศนะ
2. สิ่งที่ครูแจก

• ราคาถูก
• เป็นการอ้างอิงที่ถาวร
• ช่วยในการทบทวน จดจํา
• ช่วยนักเรียนที่ไม่ได้เข้าชั้นเรียน
• ให้การอ้างอิงที่ค้นคว้าได้ในห้องสมุด
• นําไปสู่พัฒนาการก้าวต่อไปของนักเรียน
• เป็นข้อแนะนําในการศึกษา
• ทําให้นักเรียนมีส่วนร่วม
• ใช้ได้กับนักเรียนทุกคน เช่น ภาษาระยะทาง และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
• สามารถสรุปให้เห็นภาพทั้งหมดได้
 ราคาอาจแพง
• กราฟฟิก (สองมิติ)
• นักเรียนอาจไม่ได้รับการบังคับให้อ่าน • ก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบเฉื่อยชา
• สารสนเทศล้าสมัย
3. กระดาษคําพื้นฐาน กระดานขาวตายตัว
• ให้สารสนเทศที่ลอกได้
• เห็นได้
• ราคาถูก
• ให้สีหลากหลายได้
• ยอมให้กลุ่มมีส่วนร่วมได้
• ขั้นตอนมีเหตุมีผล
• สามารถปลี่ยนแปลงได้
• จํากัดขนาดของปากกา
 ชอล์กทําให้เลอะเทอะ
• ใช้เวลามากในการเขียน
• บางคนเขียนไม่สวย
 สองมิติ
• สารสนเทศไม่สัมพันธ์กัน
 สารสนเทศขาดตอนได้โดยไม่ได้ตั้งใจ
4. กระดานข่าวและ กระดานค้าที่ตายตัว
• ให้ข้อมูลที่กว้างขวาง
• ยอมให้เก็บข้อมูลเชิงตรรกได้
• ยอมให้มีการเก็บสารสนเทศที่มีเหตุผล
• ยอมให้เขียนสารสนเทศไว้ก่อนได้
• ช่อนและโยงความสัมพันธ์ของสารสนเทศได้
• ผู้สอน/นักเรียนช่วยกันให้ความคิดสารสนเทศได้
• ไม่สามรถเคลื่อนย้ายได้
5. กระดานคําที่ใช้ แม่เหล็กMagnetic or Felt Bourd
 เคลื่อนย้ายเเบบจําลองได้
• สร้างสารสนเทศใหม่ได้
• ไม่ใช่ของจริง
• จํากัดกลุ่มผู้มีส่วนร่วม
6. การผสมผสานกระดาน ตายตัวต่างๆ (Fixed Board to the above)
• เหมือนข้อ5

• ต้องการผู้สอนที่มีทักษะ
• จัดการจัดห้องเรียน
 นักเรียนสามารถมองได้เพียงด้านเดียว
7. การสาธิต(Demonstration)
• ประหยัดเวลาและการพูด
• ง่ายในการเฝ้าดูมากกว่าการฟัง
 • เห็นของจริง
 • มาตรฐานการสาธิต
• ต้องการผู้สอนที่มีทักษะ
• นักเรียน ไม่มีส่วนร่วม
• นักเรียนอาจไม่รู้ว่าต้องสังเกตอะไร
• นักเรียนอาจมีความเข้าใจช้าหรือไม่เข้าใจเลย
8. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
• เสริมแรงบ่อยครั้ง
 • ทําให้เกิดการเรียนรู้แบบว่องไว
• นักเรียนประสบความสําเร็จ
• มีปฏิสัมพันธ์กับสื่ออื่น ๆ
• ผิดพลาคน้อย
• ถ้าปราศจากการออกแบบที่ดีก็จะก่อให้เกิดความเบื่อ หน่าย
• หนึ่งร้อยชั่วโมงที่ใช้ในการออกแบบผลิตงานได้ เพียงหนึ่งชั่วโมง
เสียค่าใช้จ่ายสูง ทักษะที่จะใช้คีย์บอร์ดนักเรียนต้อง พัฒนาเอง
• ไม่ได้เหมาะกับนักเรียนทุกคน
โสตทัศนะ
1.ฟิล์ม วีดีโอ(Film/Video)
• สามารถแสดงพัฒนาการของ วิธีการ หรือการปฏิบัติ
• ผสมผสานทัศนะค้าพูดและเสียงอื่นเข้าด้วยกัน
• เปลี่ยนเวลาได้
• สนุกสนาน
• จูงใจ
• นักเรียนไม่มีส่วนร่วม
• แพง
• โดยทั่วไปสร้างขึ้นจากจุดประสงค์ของคนอื่น
สิ่งที่รับรู้ด้วยการสัมผัส(Tactile)
1.ตัวจําลองสถานการณ์ (Simulator)
• อนุญาตสําหรับผู้มีทักษะของความเป็นจริง
• ใช้สําหรับการสาธิต
• ประโยชน์คุ้มค่า
• แก้ไขวิธีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้อง
 • ยอมให้มีการวิเคราะห์
• ยอมให้นักเรียนมีส่วนร่วม
ปลอดภัย
• จํากัดโปรแกรม
• ต้องการคนที่มีทักษะความสามารถสูง
• ต้องการการนิเทศอย่างใกล้ชิด
2. อินเตอร์แอคทิฟวิดีโอ/ คอมพิวเตอร์ (Interactive Video Computer)
• เหมือนกับ CAL
• แบบจําลองทัศนะการสาธิต
 จูงใจ


• ยากที่จะสร้างกิ่งก้านสาขา
• กรอกกลับช้า
3. อินเตอร์แอคทีฟดิชค (Interactive Video dise)
• เหมือนกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
• แบบจําลองทางทัศนะ/การสาธิต
• คุณภาพในการเเก้ปัญหาสูง
• มีจํานวนมาก
 ราคาสูง
• ค่าบํารุงรักษาสูง
4.ดิจิทัล วีดีโอ เทคโนโลยี [Digitai Video Technology (DVD]
• การฝึกอบรม (สื่อผสม) (multimedia)
• บันทึกเล่นป้อนกลับ บรรณาธิการให้การเคลื่อนไหวที่เป็นจริงเป็นจินตนาการของนัก
คอมพิวเตอร์
ผู้พัฒนาการเรียนการสอนควบคุม ส่วนประกอบของเรื่อผสมที่เป็นของรายวิชาให้ ทันสมัยเก็บสะสมไว้ในคอมพิวเตอร์
• ยอมให้ผู้เรียนพัฒนาการฝึกหัด เกี่ยวกับอินเตอร์แอคทิฟ วีดีโอ (interactive video)
• ไม่จํากัดสาขา
• เสียงในฟิล์ม จํากัดโดยไฟล์ที่สะสมไว้
• วีดีโอ (VDO) ที่แสดงการเคลื่อนไหว ยังคงเป็นตําราในการจินตนาการ
• โสตกราฟฟิคที่สะสมไว้ในดิจิตอล (digital)
• ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการออกแบบมีความซับซ้อน
• ต้องการบุคลากรที่พัฒนาทักษะ ในหลายสาขา
5. ดีวีที (DVT) เป็นเครื่องหมายการค้า วีดีโอ ดิซ (video disc)
 ใช้ไฟล์จาก Hard diskหรือ CD-ROM
• CD-ROM มีค่าใช้จ่ายในการผลิตถูกกว่า


          ตารางที่ 17 ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
วัสดุอุปกรณ์
ข้อดี
ข้อเสีย
1. สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น
หนังสือตําราเรียนคู่มือ
• เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง
• สามารถอ่านได้ตามอัตราความสามารถของแต่ละบุคคล
• เหมาะสําหรับอ้างอิงหรือทบทวน
• เหมาะสําหรับการผลิตเป็นจํานวนมากสะดวกในการ แก้ไขปรับปรุงเนื้อหาใหม่
• ถ้าจะให้ได้สิ่งพิมพ์คุณภาพดีจําเป็นต้องใช้ต้นทุนในการผลิตสูง
บางครั้งต้องพิมพ์ใหม่เพื่อปรับปรุงข้อมูลที่ล้าสมัย
ผู้ไม่รู้หนังสือไม่สามารถอ่านเข้าใจได้
 2. ของจริง ของตัวอย่าง
แสดงสภาพได้ตามความเป็นจริง
• เป็นลักษณะ 3 มิติ
• สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า
• สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้
• ปกติเหมาะสําหรับการเสนอต่อกลุ่มย่อย
 อาจเสียหายได้ง่าย
 เก็บรักษาลําบาก

• บางครั้งอาจจะลําบากในการจัดหา
 ของบางสิ่งอาจมีขนาดใหญ่เกินกว่าจะนำมาแสดงได้
• บางครั้งของนั้นอาจมีราคาสูงเกินไป

3. ของข้าลองหุ่นจําลองขนาดเท่าหรือขยายของ จริงมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า(เช่น ลักษณะ ของ  อวัยวะภายในร่างกาย)
 อยู่ในลักษณะ 3 มิติ
 สามารถจับต้องและพิจารณารายละเอียดได้
 ชำรุดเสียหายได้ง่าย
• สามารถแสดงหน้าที่และลักษณะส่วนประกอบ
• ช่วยในการเรียนรู้และการปฏิบัติทักษะชนิดต่างๆ
 หุ่นบางอย่างสามารถผลิตได้ด้วยวัสดุหรือวัสดุท้องถิ่นที่หาได้ง่าย
 ต้องอาศัยความชํานาญในการผลิต
• ส่วนมากราคาจะแพง
• ปกติเหมาะสําหรับการเสดงต่อกลุ่มย่อย
 ถ้าทําได้ไม่เหมือนของจริงทุกประการบางครั้งอาจทําให้เกิดความเข้าใจผิดได้
4. วัสดุกราฟิก เช่น แผนภูมิ แผนภาพ โปสเตอร์ ภาพถ่าย ภาพเขียน การ์ตูน
 ช่วยแสดงลําดับขั้นตอนของเนื้อหา
• สามารถจัดหาได้ง่ายจากสิ่งพิมพ์ต่างๆ
• ผลิตได้ง่ายและสามารถผลิตได้จํานวนมาก
 เก็บรักษาได้ง่ายด้วยวิธีผลึกภาพ
 เหมาะสําหรับการเรียนในกลุ่มเล็ก
 งานกราฟิกที่มีคุณภาพดีจําเป็นต้องใช้ช่าง เทคนิคที่มีความชํานาญในการผลิต
 การใช้ภาพบางประเภท เช่น ภาพ
 การใช้ภาพบางประเภท เช่น ภาพตัดส่วน (sectional drawings) หรือการ์ตูนอาจไม่ช่วย ให้กลุ่มเป้าหมาย เกิดความเข้าใจดีขึ้น เพราะ ไม่สามารถสัมพันธ์กลับของจริงได้
5. กระดานดํา กระดานขาว
• ต้นทุนในการผลิตต่ำ
• สามารถเขียนรายงานกราฟิกได้หลายชนิด
• ช่วยในการสร้างความเข้าใจตามลําดับ เรื่องราวเนื้อหา
 ผู้สอนต้องหันหลังให้กลุ่มผู้เรียน เมื่อเขียน กระดานทําให้ไม่สามารควบคุมชั้นเรียนได้ดี
• สามารถอ่านข้อความบนกระดานได้ไม่
ไกลมากนัก ทําให้กลุ่มผู้เรียนมีจํานวนจํากัด
• ภาพ หัวข้อ หรือประเด็นคําบรรยาย ต้อง ถูกลบ ไม่สามารถนํามาใช้ได้อีก
 ผู้สอนต้องมีความสามารถในการเขียน
กระดานพอสมควร
6. กระดานผ้าสําลีและ กระดา แม่เหล็ก
 สามารถนํามาใช้ได้อีก
• วัสดุในการผลิตหาง่ายและสามารถผลิตได้เอง
 เหมาะสําหรับแสดงความเกี่ยวพันของลําดับเนื้อหาเป็น ขั้นตอน
• ช่วยดึงดูดความสนใจ
สามารถให้กลุ่มผู้เรียนร่วมใช้เพื่อสร้างความสนใจและทดสอบความเข้าใจ
 ไม่เหมาะสําหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
7. การศึกษานอกสถานที่
 ผู้เรียนสามารถสังเกตการณ์และมีส่วนร่วมได้ด้วยตนเอง
• เปิดโอกาสให้ผู้เรียนร่วมทํางานเป็นกลุ่มและสร้างสรรค์ ความรับผิดชอบร่วมกัน
• สามารถจูงใจเป็นรายบุคลได้ดี
 เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
 จัดเฉพาะผู้เรียนกลุ่มย่อย
 ต้องเตรียมการและวางแผนโดยละเอียด รอบคอบ
สื่อการสอนประเภทใช้เครื่องฉาย 
1.ประเภทเสนอภาพนึ่ง
1.1 เครื่องฉายภาพทึบแสง
• สามารถขยายภาพถ่าย ภาพเขียน  วัสดุทึบแสง ให้เป็นภาพที่มองดูมีขนาดใหญ่ได้
• เหมาะสําหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
ช่วยลดภาระในการผลิตสไลค์และแผ่นโปรงใส
• ต้องใช้เครื่องในห้องที่มืดสนิทจึงจะเห็นภาพขยายได้ชัดเจน  
• เครื่องมือขนาดใหญ่ทําให้ขนย้ายลําบาก
1.2 แผ่นโปร่งใส
• สามารถใช้ได้ในที่ที่มีแสงสว่าง
• เหมาะสําหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่
• ผู้สอนหันหน้าเข้าหาผู้เรียนได้
• ผู้สอนสามรถเตรียมแผ่นไปร่งใสไว้ใช้ล่วงหน้าหรือสามารถเขียนลงไปพร้อมทําการบรรยายเพื่อเสริมสร้าง ความเข้าใจ
• ถ้าจะผลิตแผ่นโปร่งใสที่มีลักษณะพิเศษต้องลงทุนสูง
• ผู้เรียนไม่มีบทบาทร่วมในการใช้อุปกรณ์
1.3 สไลค์
• เหมาะสําหรับผู้เรียนกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก
• ผลิตค่อนข้างง่ายและทําสําเนาได้ง่ายเช่นกัน
• สามารถเปลี่ยนสลับรูปในการสอนได้ตามต้องการ
• สามารถปรับเปลี่ยนรูปที่ไม่ทันสมัยหรือเพิ่มรูปตามความต้องการของเนื้อเรื่อง
• ใช้สะดวก เก็บรักษาง่าย
• ใช้ประกอบกับเครื่องบันทึกเสียงในการผสม สัญญาณเสียงและภาพ
• สามารถใช้ได้กับเครื่องฉายที่ใช้ไฟฟ้าหรือแบตเตอรี่

ต้องฉายในห้องที่มืดพอสมควรยกเว้นจะมี
• การถ่ายทําชุดสไลด์ที่ดีต้องมีการวางแผนทำบท สคริปการถ่ายทําและการจัดภาพเป็นชุด
1.4 ฟิล์มสคริป
• เหมาะสําหรับการเรียนเป็นกลุ่มเล็กหรือรายบุคคล ใช้ภาพกับเรื่องอื่นๆ ได้
• ผลิตเองได้ง่าย
• สะดวกในการใช้และเก็บรักษา
• ไม่สามารถติดต่อสลับ
• ริมหนามเตยชํารุดได้ง่าย
1.5ไมโครฟิล์ม ไมโครฟิร
• สะดวกในการเก็บรักษา
• สามารถเก็บจําแนกประเภทได้ง่าย
• เหมาะสําหรับการเก็บรักษาข้อมูลสิ่งพิมพ์เพราะมีขนาดเล็ก 
• ขนาดเล็กหยิบใช้ได้สะดวก
• ไม่สามรถอ่านข้อความได้ด้วยตาเปล่า
ต้องใช้เครื่องอ่านที่มีคุณภาพดี
 เครื่องอ่านใช้อ่านคนเดียว มีราคาไม่สูง
มากนัก
• เครื่องอ่านสําหรับฉายให้กลุ่มใหญ่จะราคา
แพง
2.ประเภทเสนอภาพเคลื่อนไหว
2.1ภาพยนตร์ (และ 16มม.)
 ให้ภาพที่ดูแล้วเสมือนมีการเคลื่อนไหวของสิ่งของและให้เสียงประกอบซึ่งทั้งภาพและเสียงมีลักษณะใกล้เคียง ความจริงมาก
• เหมาะสําหรับการสอนกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย
• ภาพยนตร์ มม. เหมาะสําหรับการเรียนรายบุคคล
• เหมาะสําหรับให้ความรู้ แต่ผู้สอนจะต้องอธิบายบางสิ่ง ในภาพยนตร์ก่อนทําการฉายและเมื่อฉายจบแล้วควรมีการ ซักถามปัญหาหรืออภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปเรื่อง
• ต้นทุนในการผลิตสูงมากและกรรมวิธีในการผลิตยุ่งยาก
• หากผลิตฟิล์มจํานานน้อยม้วนจะทําให้ ต้นทุนในการผลิตสูงกว่าเดิมมาก
• ต้องใช้ไฟฟ้ามากในการฉาย
• ลําบากในการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์
• ต้องฉายในที่มืด
• หากใช้ภาพยนตร์ต่างประเทศอาจจะไม่
ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้จริงๆ หรือผู้ชม อาจไม่เข้าใจเนื้อเรื่องได้เท่าที่ควร
2.2 โทรทัศน์
• สามารถใช้ได้กับผู้เรียนหรือผู้ชม ไม่จํากัดจํานวนและสามารถถ่ายทอดไปได้ในระยะไกลๆ
• ช่วยดึงดูดความสนใจของผู้เรียน
• เหมาะสําหรับใช้ในการจูงใจสร้างทัศนคติและเสนอปัญหาให้ผู้เรียนคิดหรือเสริมสร้างการอภิปรายร่วมกัน
• ช่วยลดภาวะของผู้สอน คือแทนที่จะต้องบรรยายหลายครั้ง หรือหลายแห่งในหัวของเดียวกันต่อผู้เรียนหลายกลุ่มก็ใช้การถ่ายทอดไปยังที่ต่างๆ ได้ในเวลาเดียวกัน
• การจัดรายการที่ที่ต้องใช้ต้นทุนสูงมากและต้องใช้ช่างเทคนิคในการผลิตรายการ
• ต้องใช้ไฟฟ้า
• เป็นการสื่อสารทางเดียวทําให้ผู้เรียนได้ สามารถถามข้อสงสัยได้ทันทีและผู้สอนไม่ สามารถทราบการตอบสนองของผู้เรียนได้
• รายการที่เสนออาจไม่ตรงกันตารางสอน
หรือบทเรียน

2.3 โทรทัศน์วงจรปิด
• สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
• ใช้ถ่ายทอดเหตุการณ์หรือการสอนที่ผู้เรียน ผู้ชมไม่สามารถรวมกันอยู่ในบริเวณที่เรียนที่ชมพร้อมกันได้
• สามารถใช้ร่วมกับวิดิทัศน์ในการส่งภาพได้
• รับภาพได้เฉพาะในบริเวณที่กําหนดไว้
เท่านั้น
2.4 วีดิทัศน์
• สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
• สามารถฉายเมื่อผู้เรียนไม่เข้าใจหรือผู้ทบทวน
• แสดงการเคลื่อนไหวของภาพประกอบเสียงที่ให้ความรู้สึกที่ใกล้เคียงของจริงมากมีขนาดเล็กอ่อนมาก
• ต้นทุนอุปกรณ์และการผลิตสูง ต้องใช้ช่าง เทคนิคในการผลิต/จัดรายการ         
• ตัวอักษรที่ปรากฏจอโทรทัศน์
• ม้วนเทปเสื่อมสภาพได้ง่าย
สื่อการสอนประเภทเครื่องเสียง
1. วิทยุหรือรายบุคล
• สามารถใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กและกลุ่มใหญ่
• ระยะกระจายเสียงกว้างและกระถ่ายทอดได้ในระยะไกลๆ
• ลดภาระของผู้สอนหรือผู้บรรยายในการเดินทางไปสอน
• ดึงดูดความสนใจได้ดี
• เครื่องรับวิทยุราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้
• สามารถใช้กับสื่ออื่น เช่น สิ่งพิมพ์เพื่อประกอบการเรียน
• ต้องใช้ห้องที่ทําขึ้นเฉพาะเพื่อการกระจาย เสียง
• ผู้ฟังหรือผู้เรียนต้องปรับตัวเข้าหารายการ เนื่องจากผู้บรรยายไม่สามารถปรับตัวเข้าหา ในที่ต่างๆ
• เป็นการสื่อสารทางเดียวที่ทําให้ผู้บรรยาย  ไม่สามารถทราบปฏิกิริยาสนองกลับของผู้ฟัง
2. เทปบันทึกเสียง
• สามารถใช้ได้โดยไม่จํากัดขนาดและจํานวนผู้เรียน
• เหมาะสําหรับการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือกับกลุ่มย่อย
• การเปิด/ปิด/ เดินหน้าย้อนกลับสามารถทําได้โดยสะดวก
• อุปกรณ์ราคาถูกและสามารถใช้กับแบตเตอรี่ได้
• ใช้ได้หลายกรณีเช่นใช้ประกอบสไลด์ใช้บันทึก
• เสียงที่ไม่สามารถฟังได้ทั่วถึง เช่น การเต้นของหัวใจ
• การบันทึกเสียงที่คุณภาพดีจําเป็นต้องใช้ ห้องและอุปกรณ์ที่ดีมีคุณภาพสูง
• ต้องมีความชํานาญพอสมควรในการติดต่อเทป
• ต้องระมัดระวังในการเก็บรักษา
3.แผ่นซีดี
• บันทึกเสียงในประเภทต่างๆ ในระบบ ดิจิทัลที่ให้ความชัดมาก
• ไม่มีการพรั้งเผลอลบเสียงที่บันทึกไว้แล้วและไม่พรั่นต่อสนามแม่เหล็ก
• เรียกค้นข้อมูลเสียงได้รวดเร็ว
• มีอายุใช้งานนานและยากแก่การบุบสลาย
• ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา
• ไม่สามารถบันทึกทับได้
• โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้ไม่สามารถบันทึกเสียงเองได้ต้องมีการบันทึกเชียงมาจากโรงงาน ผู้ผลิต
• ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการบันทึกลงเทป
เสียงแต่ถ้าผลิตเป็นจํานานมากจะลดต้นทุน
ได้มาก
• เครื่องเล่นมีราคาสูงกว่าเครื่องเล่นเทปเสียง
4. สื่อเชิงโต้ตอบ (Interactive Media)
4.1 ด้านวัสดุอุปกรณ์
4.1.1 คอมพิวเตอร์
• ใช้งานได้หลายประเภท เช่น การคํานวณจัดเก็บฐานข้อมูล การจัดหน้า สิ่งพิมพ์ ฯลฯ
• ใช้แก้ปัญหาต่างๆ ที่ซับซ้อนได้
• เสนอข้อมูลได้หลายประเภททั้งตัวอักษรภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง
• มีการโต้ตอบกับผู้เรียนเพื่อให้ผลป้อนกลับด้วยความ รวดเร็ว
• สามารถบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในหน่วยความจําของเครื่อง หรือในวัสดบันทึกอื่น เช่น จานบันทึกและเทปแม่เหล็กได้
• ใช้ร่วมกับโมเด็มเพื่อใช้ในอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสาร ข้อมูลกับฐานข้อมูลอื่นๆ ได้ทั่วโลก • เครื่องกระเป๋าหิ้วขนาดเล็กเหมาะแก่การพกพาไปใช้ใน ที่ต่างๆ ได้
• มีราคาสูงพอสมควร
• ต้องมีการบารุงรักษาตามระยะเวลา
• ต้องใช้กับโปรแกรมซอฟต์แวร์ประเภท ต่างๆ จึงจะใช้งานได้
  มีการเปลี่ยนแปลงด้านอุปกรณ์เช่น ความเร็วในการทํางานของการ์ดประเภท
ค่างๆจนทําให้เครื่องที่มีอยู่ล้าสมัยได้เร็ว
4.1.2 บทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAI)
 ผู้เรียนสามารถมีการโต้ตอบกับบทเรียนได้
• สามารถป้อนกลับแก่ผู้เรียนได้ในทันที
• มีรูปแบบบทเรียนให้เลือกใช้มากมาย เช่นการสอนทบทวน เกม การจําลอง ฯลฯ
• เสนอบทเรียนได้ทั้งลักษณะตัวอักษรภาพและเสียง
• ผู้เรียนสามารถทบทวนเนื้อหาบทเรียนและทํากิจกรรม ได้ตามความสามารถของตนในลักษณะการศึกษารายบุคคล
• ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการเรียนโปรแกรมบทเรียน
• โปรแกรมซอฟต์แวร์ บางประเภทมีราคาสูงพอสมควร
4.13 ซีดี-รอม
• สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 680 เมกะไบต์
• บันทึกข้อมูลได้ทั้งตัวอักษรภาพนึ่งภาพกราฟิก เคลื่อนไหวภาพ วีดิทัศน์ และ เสียง
• เรียกค้นข้อมูลได้รวดเร็วและถูกต้อง
• มีอายุใช้งานนานและยากแก่การบุบสลาย
• ขนาดเล็กกะทัดรัดเหมาะแก่การพกพา
• ไม่สามารถบันทึกทับข้อมูลเดิมได้
• ปกติแล้ว ผู้ใช้ไม่สามารถบันทึกข้อมูลเอง ได้ ต้องมีการบันทึกมาจากโรงงานผู้ผลิต
• ต้นทุนการผลิตสูง แต่ถ้าผลิตเป็นจํานวน มากจะลดต้นทุนได้มาก
• ต้องใช้เล่นร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์
4.1.4 แผ่นวีดิทัศน์ (Videodise Laserdisc)
• บันทึกข้อมูลในลักษณะตัวอักษรภาพนึ่งภาพกราฟิกเคลื่อนไหว
• แบ่งเป็นสองชนิด บันทึกข้อมูลได้ทั้งแบบหน้าละ30นาที และ ชั่วโมง
ดูภาพนิ่งได้ที่ละภาพด้วยความคมชัดหรือจะดูภาพช้า หรือภาพเร็วก็ได้เช่นกัน
• เล่นเดินหน้าหรือย้อนกลับได้ด้วยความรวดเร็ว
• ค้นหาเนื้อเรื่องเป็นตอนหรือตามเวลาของการเล่นได้
• มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 12นิ้ว จึงมีขนาดใหญ่ ไม่เหมาะในการพกพา
• ผู้ใช้ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้เอง ต้องบันทึกมาจากโรงงานเท่านั้น
4.2 ด้านเทคนิควิธีการ
4.2.1 สื่อหลายมีดี (Hypermedia)
• เสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรงทําให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลในที่ต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว
• ต้องใช้โปรแกรมซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพสูง ในการผลิตบทเรียน
• ต้องอาศัยเชี่ยวชาญในการสร้างบทเรียน
• ต้องใช้รวมกับคอมพิวเตอร์ที่คุณภาพสูง
พอควรจึงจะใช้ได้ดี
• เนื้อหาบทเรียนที่มีทั้งภาพนิ่งภาพกราฟิกเคลื่อนไหว ภาพวีดิทัศน์เสียงพูดเสียงดนตรี
• ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนและได้รับผล ป้อนกลับทันที
 สะดวกในการใช้
• การผลิตบทเรียนลักษณะนี้ต้องอาศัยอุปกรณ์ร่วมหลายอย่างเช่นเครื่องเสียง กล้อง วีดิทัศน์ เครื่องเล่น แผ่นวีดิทัศน์ ฯลฯ
4.2.2 แผ่นวีดิทัศน์เชิง โต้ตอบ (Interactive Video, Interactive Videodise)
• ใช้ได้กับผู้เรียนกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยและการศึกษารายบุคคล
 เสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง(Non-linear)
• การเสนอเนื้อหามีทั้งภาพนึ่งภาพ วีดิทัศน์และเสียง
 ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับบทเรียนและได้รับผลป้อนกลับทันที
• บันทึกผลการเรียนและการตอบสนองของผู้เรียนได้
• ต้องใช้อุปกรณ์ร่วมในการทํางานหลาย อย่าง
• ต้องเลือกเนื้อหาในแผ่นวีดิทัศน์มา ประกอบบทเรียนให้เหมาะสม ซึ่งบางครั้ง
อาจหาได้ไม่ตรงนัก
• อุปกรณ์ต่างๆ มีราคาสูง จึงทําให้การเรียน แบบนี้ไม่เป็นที่นิยมใช้กันมากนัก
4.23 อินเทอร์เน็ต
• ค้นคว้าข้อมูลได้ทุกมุมโลกอย่างรวดเร็ว
• ติดตามข่าวสารความรู้และความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้
อย่างรวดเร็ว
• สนทนากับผู้ที่ห่างไกลได้ทั้งลักษณะข้อความและเสียง
• ร่วมกลุ่มอภิปรายกับผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกันเพื่อขยายวิสัยทัศน์
• รับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบข้อความภาพ และเสียงได้อย่างรวดเร็วในราคาย่อมเยา
• ถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลในที่ต่างๆ ได้ • ติดประกาศข้อความเพื่อหาผู้ที่สนใจในเรื่องเดียวกัน
• ข้อมูลที่ได้อายไม่ถูกต้องเนื่องมากไม่มีผู้ใดรับรอง
• ต้องมีการศึกษาการใช้งานเพื่อการสืบค้นข้อมูล
• นักเรียนและเยาวชนยาเข้าไปดูในเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม
4.2.4ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์
• ช่วยจัดปัญหาในเรื่องของเวลาและระยะทางในการเรียน 
• ผู้เรียนที่ไม่กล้าแสดงออกในชั้นเรียนจะได้รู้สึกอิสระใน การแสดงความคิดเห็น
• เสริมบรรยากาศในการเรียนรู้เพื่อเปิดโอกาสให้การถาม ข้อข้องใจเป็นการส่วนตัว
• ผู้เรียนสามารถติดต่อกัน ในการแบ่งปันข้อมูลและ ปรึกษาร่วมกันได้ การพิมพ์และเรียบเรียงเนื้อหา จึงจะทํา ให้การอภิปรายราบรื่น
• เป็นการสื่อสารที่ผู้สื่อสารไม่สามารถแสดงความรู้สึกต่อกันได้ทําให้ขาดความเป็นธรรมชาติ
• อาจเกิดความสับสนในการอภิปรายเนื่องจากอภิปรายในเวลาที่ไม่ต่อเนื่องกัน
4.2.5 การสอนในเว็บเป็น ฐานการสอนบทเว็บ
• ขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้เรียน
รอบโลกทําให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทาง
• การเรียนด้วยการสื่อสารหลายรูปแบบทําให้ผู้เรียนรู้จัก การสื่อสารทางสังคม ทําให้การเรียนมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น
• การเรียนด้วยสื่อหลายมิติ ทําให้เลือกเรียนเนื้อหาได้ ตามสะดวกโดยไม่ต้องเรียงลําดับกัน
• มีหลักสูตรให้เลือกเรียนมาก
• มีการเรียนทั้งแบบประสานเวลาและแบบไม่ประสาน เวลาของตนเองจึงจะประสบความสําเร็จในการเรียน
• ผู้สอนและผู้เรียนอายไม่พบหน้ากันเลยอาจทําให้ผู้เรียนบางคนอึดอัดและไม่สะดวกในการเรียน
• ผู้สอนต้องใช้เวลาเตรียมการสอนมาก
• การตอบปัญหาในบางครั้งอาจไม่เกิดขึ้นในทันที่ทําให้ผู้เรียนไม่เข้าใจอย่างห้องแท้ได้
• ผู้เรียนต้องรู้จักควบคุมการเรียนของตนเองจึงจะประสบความสําเร็จในการเรียนได้

          การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
          สื่อเป็นวิธีการซึ่งมีการนําเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในขณะที่สื่อเป็นคําที่ใช้ อ้างถึงแบบของการเรียนการสอน (isode of delivery) ซึ่งเป็นความจําเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่จะส่งผ่าน แบบการเรียนการสอนนั้น ในทางตรรกะแล้วเป็นความจําเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์ (hardware ) และส่วนที่เป็นวัสดุ (software) สําหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์เป็นฐานเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์ที่ต้องการ โปรแกรมเป็นฐาน
          การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทําได้ก่อน ทําตามหลัง หรือทําไปพร้อมๆกับการตกลงใจเกี่ยวกับ วิธีการ โดยทั่วๆ ไปแล้ว จะทําตามหลังหรือทําไปพร้อมๆกัน การบรรยายอาจจะต้องการองค์ประกอบของสื่อ หรืออาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์ ในสมัยก่อนวัสดุอุปกรณ์ส่วนใหญ่จะเป็นสื่อประเภท สิ่งพิมพ์
          ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงการแบ่งวิธีการเสื่อ ออกเป็นสามประเภท คือ วิธีการ (methods) สื่อดั้งเดิม (traditional media) และเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า (newer technology) ในด้านวิธีการดําเนินหลักสูตร โดยทั่วไป ซึ่งอาจจะรวมๆ กัน แต่จะใช้สื่อรวมๆ กัน ส่วนสื่อเดิมๆ จะรวมถึงงานพิมพ์ (print) และสื่อโสตทัศน์ (audiovisual media) และสําหรับเทคโนโลยีใหม่ หรือสื่อดิจิทัล คือ การสื่อสารโทรคมนาคมและไมโคร โพรเซสเซอร์ (microprocessor) สือ (media) สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ (print materials) ทัศนวัสดุไม่ ฉาย (nonprojected visuals)ทัศนวัสดุฉาย (projected visuals) สื่อประเภทเสียง (audio media) ระบบสื่อผสม (multimedia systems) ภาพยนตร์ (films) และโทรทัศน์ (television) สื่อแต่ละประเภทเหล่านี้สามารถแตกออก ให้เลือกได้ในหลายรูปแบบ ดังแสดงในตารางที่18 และตารางที่ 19

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น