การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตัวเอง
การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมี บทบาทสําคัญในการเป็นผู้เรียน โดยพยายามจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ โดยใช้กระบวนการต่างๆ เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และผู้เรียนมีโอกาสนําความรู้ ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่น คําถามคือ ผู้สอนจะมีวิธีการหรือเทคนิคที่จะทําให้เกิดเหตุการณ์นั้นๆได้อย่างไร ผู้สอนทั่วไปยังเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ โดยเข้าใจว่า การให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเองคือ การปล่อยให้ผู้เรียน เรียนรู้กันเองโดยที่ผู้สอนไม่ต้องมีบทบาท อะไร หรือใช้วิธีสั่งให้ผู้เรียนไปที่ห้องสมุด อ่านหนังสือกันเองแล้วเขียนรายงานมาส่งซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง แม้ว่าการให้การเรียนรู้เกิดขึ้นที่ตัวผู้เรียน เป็นลักษณะที่ถูกต้องของ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ แต่การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ขึ้นมาได้เองนั้นเป็นเรื่องยาก ผู้สอนจึงต้องมีหน้าที่เตรียมจัดสถานการณ์และกิจกรรมต่างๆ นําทางไปสู่ การเรียนรู้ โดยไม่ใช้วิธีบอกความรู้โดยตรง หรือถ้าจะจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้โดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งข้อมูล ผู้สอนจะต้องสํารวจให้รู้ก่อนว่า ภายในห้องสมุดมีข้อมูลอะไรอยู่บ้าง อยู่ที่ใด จะค้นหาอย่างไร แล้วจึงวางแผนสั่งการ ผู้เรียนต้องรู้เป้าหมาย ของการค้นหาจากคําสั่งที่ผู้สอนให้ รวมถึงการแนะแนวทางที่จะทํางานให้สําเร็จ และในขณะที่ผู้เรียนลงมือ ปฏิบัติ ผู้สอนควรสังเกตการณ์อยู่ด้วย เพื่ออํานวยความสะดวก นําข้อมูลนั้นมาปรับปรุง การจัดการเรียนการ สอนในครั้งต่อไป
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนทํางานร่วมกับผู้อื่น
ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญของผู้สอนอีกประการหนึ่ง คือ ผู้สอนเข้าใจว่าการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ต้องจัดโต๊ะเก้าอี้ให้ผู้เรียนได้นั่งรวมกลุ่มกัน โดยไม่เข้าใจว่าการนั่งรวมกลุ่มนั้นทําเพื่ออะไร ความเข้าใจที่ถูกต้องคือ เมื่อผู้เรียนจะต้องทํางานร่วมกัน จึงจัดเก้าอี้ให้นั่งรวมกันเป็นกลุ่ม ไม่ใช่นั่งรวมกลุ่มกันแต่ต่างคนต่างทํางานของตัวเอง การจัดให้ผู้เรียนทํางานร่วมกัน ผู้สอนจะต้องกํากับดูแลให้สมาชิกในกลุ่มทุกคนมีบทบาทในการทํางาน ซึ่งรูปแบบการจัดการเรียน การสอนประเภทหนึ่งที่ผู้สอนควรศึกษาเป็นแนวทางนําไปใช้เป็นเทคนิคในการจัดกิจกรรม คือ รูปแบบการ จัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน (Cooperative Learning)
วิทยากร เชียงกูล (2549) ได้กล่าวถึงลักษณะการจัดการเรียนการสอนโดยให้ผู้เรียนเรียนรู้ร่วมกัน เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ กลุ่มละ 4-5 คน โดยสมาชิกในกลุ่มมีระดับ ความสามารถแตกต่างกัน สมาชิกทุกคนมีบทบาทหน้าที่ร่วมกันในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย มีเป้าหมายและมีโอกาสได้รับรางวัลของความสําเร็จร่วมกัน วิธีการแบบนี้ผู้เรียนจะมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในเชิงบวก มาปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้ากัน ได้มีโอกาสรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม ได้พัฒนาทักษะทางสังคมและได้ใช้กระบวนการกลุ่มในการทํางานเพื่อสร้างความรู้ให้กับตนเอง
เทคนิคการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนนําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
ตามความหมายของการเรียนรู้ที่แท้จริง คือ ผู้เรียนต้องมีโอกาสนําความรู้ที่เรียนรู้มาไปใช้ในการ ดําเนินชีวิต สิ่งที่เรียนรู้กับชีวิตจริงจึงต้องเป็นเรื่องเดียวกัน ผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน ประยุกต์ใช้ความรู้ได้โดยสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนต้องแก้ปัญหาและนําความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้ หรือ ให้ผู้เรียนแสดงความรู้นั้นออกมาในลักษณะต่างๆ เช่น ให้วาดภาพแสดงรายละเอียดที่เรียนรู้จากการอ่านบท ประพันธ์ในวิชาวรรณคดี เมื่อผู้สอนได้สอนให้เข้าใจโดยการตีความและแปลความแล้ว หรือในวิชาที่มี เนื้อหาของการปฏิบัติ เมื่อผ่านกิจกรรม การเรียนรู้แล้วผู้สอนควรให้ผู้เรียนได้ฝึกให้ทํางาน ปฏิบัติซ้ำอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความชํานาญ
ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนนําความรู้ไปประยุกต์ใช้นี้ ผู้สอนควรจัดกิจกรรมให้ผู้เรียน แสดงความสามารถในลักษณะต่างๆ และเปิดโอกาสให้มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความสามารถ เฉพาะที่ผู้เรียนแต่ละคนมีแตกต่างกัน นอกจากการใช้เทคนิคการออกคําสั่งให้ผู้เรียนแสดงการทํางานใน ลักษณะต่างๆ แล้ว ผู้สอนอาจใช้วิธีการสอนบางวิธีที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ในสถานการณ์อื่นๆ ได้เช่นกัน
ตัวอย่าง วิธีสอนการสอนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน ผู้สอนเป็นผู้กํากับควบคุมให้ผู้เรียนทุกคนได้ ร่วมกันวางแผน คําเนินการตามแผน และร่วมกันสรุปผลงาน ผู้เรียนแต่ละคนจะได้เลือกและแสดง ความสามารถที่ตนเองถนัด เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย จึงสามารถกล่าวขยายความได้ว่า การเรียนรู้โดยใช้ โครงงาน ซึ่งสามารถทําอย่างต่อเนื่องกันได้ โดยมีประเด็นดังนี้
1. ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ตนเองสนใจ
2. ผู้เรียนได้เรียนรู้หรือหาคําตอบด้วยตนเองโดยการคิดและปฏิบัติจริง
3. วิธีการหาคําตอบมีความหลากหลายจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
4. นําข้อมูลหรือข้อความรู้จากการศึกษามาสรุปเป็นคําตอบหรือข้อค้นพบของตนเอง
5. มีระยะเวลาในการศึกษาหรือแสวงหาคําตอบพอสมควร
6. คําตอบหรือข้อค้นพบเชื่อมโยงต่อการพัฒนาความรู้ต่อไป
7. ผู้เรียนมีโอกาสเลือก วางแผน และจัดการนําเสนอคําตอบของปัญหาหรือผลของการค้นพ ด้วยวิธีการที่หลากหลายและสอดคล้องกับความถนัดและความสนใจของตนเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น