วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา


การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
            ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา  เป็นระบบที่สถานศึกษาร่วมกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้การกำกับ ดูแลและสนับสนุนส่งเสริมของหน่วยงานต้นสังกัด   เพื่อสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชา ข้อมูลหลักฐาน ที่ตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับบริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่กำหนดในมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔  และมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่สอง (พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๓)
        ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา (Internal Quality Assurance System)
                 สถานศึกษาจะต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องว่า ผู้เรียนทุกคนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากสถานศึกษา เพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาและตัวบ่งชี้ เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่สอง (พ.ศ.๒๕๔๙-๒๕๕๓) ที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๔๔   ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  โดยให้สถานศึกษายึดหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยการส่งเสริม สนับสนุนและกำกับ ดูแลของหน่วยงานต้นสังกัด ประกอบด้วย  
                1) การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ  ด้วยการทำจัดโครงสร้างการบริหารจัดการให้เอื้อต่อการดำเนินงาน ทุกคนมีส่วนร่วมและมีการประชาสัมพันธ์กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนดแนวทางให้ความเห็นและข้อเสนอแนะและแต่งตั้งคณะบุคคลทำการตรวจสอบ ทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษา และจัดให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อนำมากำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจและแผนพัฒนา              2) การพัฒนามาตรฐานการศึกษา   โดยมุ่งเน้นมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่สอดคล้องกับมาตรฐานช่วงชั้นที่หลักสูตรกำหนด
              
3) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ด้วยการจัดทำแผนอย่างเป็นระบบพื้นฐานของข้อมูลสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สมบูรณ์ คลอบคลุมการพัฒนาทุกกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบหลักของการจัดการศึกษาและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของแต่ละกิจกรรมที่กำหนดอย่างสอดรับกับวิสัยทัศน์และมาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน              4) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยการกำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องให้บรรลุเป้าหมายตจามแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่กำหนดไว้โดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจนครอบคลุมงาน/โครงการของสถานศึกษา              5) การตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา  จะประกอบด้วยการตรวจสอบและทบทวนภายในโดยบุคลากรในสถานศึกษาดำเนินการและการตรวจสอบและทบทวนจากหน่วยงานต้นสังกัด             6) การประเมินคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งเน้นการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในระดับชั้นที่เป็นตัวประโยค ได้แก่ประถมศึกษาปีที่ และ มัธยมศึกษาปีที่ และ ในวิชาแกนร่วมโดยใช้แบบทดสอบมาตรฐาน จากหน่วยงานส่วนกลางร่วมกับต้นสังกัด (เขตพื้นที่) ดำเนินการ             7) การรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี  เป็นการนำข้อมูลผลการประเมินมาตรฐานคุณภาพ การตรวจสอบและทบทวนภายในและภายนอกมใประมวลรายงานผลการพัฒนาคุณภาพประจำปีการศึกษาซึ่งจะนำไปใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพต่อไป            8) การผดุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษา  เป็นกลไกส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพภายใน เพื่อให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการส่งเสริม พัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการดำเนินงานของระบบประกันคุณภาพ
หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
                1)  สถานศึกษาจะต้องจัดทำโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามระบบกระกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา                2) สถานศึกษาจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังนี้
      
              2.1 กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
                    
2.2 กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวข้องกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
                   
2.3 เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวนและรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
                 3) สถานศึกษาจะต้องจัดระบบสารสนเทศที่มาข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
               
 4) สถานศึกษาจะต้องกำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                
5) สถานศึกษาจะต้องจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษาโดยคำนึงถึงหลักการและครอบคลุมในเรื่อง ต่อไปนี้            
                   
5.1 เป็นแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาและความจำเป็นอย่างเป็นระบบและมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ
                  
5.2 กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม
                  
5.3 กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชาหรือผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างถึงให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์เรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากรและการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้
                 
5.4 กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ
                 
5.5 กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผูเรียน รับผิดชอบ และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างอย่างมีประสิทธิภาพ
                 
5.6 กำหนดบทบาทหน้าที่ และแนวทางให้บิดา มารดา ผู้ปกครองและบุคลากรในชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน                 5.7 กำหนดการจัดงบประมาณและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
            
6) สถานศึกษาจะต้องดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ 
            
7) ให้คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาดำเนินการตรวจสอบ ทบทวนและรายงานการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา  สำหรับในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม (การสังเกตพฤติกรรม และกระบวนการทำงาน กระบวนการจัดการเรียนการสอน การสอบถาม การสัมภาษณ์ การพิจารณาหลักฐาน ร่องรอยการปฏิบัติงาน ตัวอย่างผลงาน และแฟ้มสะสมงาน แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบทดสอบและแบบวัดมาตรฐาน)  การตรวจสอบและทบทวนคูณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุง แก้ไข เปลี่ยนแปลงและพัฒนาคุณภาพการศึกษา
           
8) สถานศึกษาจะต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน 
          
9) สถานศึกษาจะต้องจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี โดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแบบพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาพร้อมหลักฐานข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ ตามข้อ (8) เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
        
10) หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด ส่งเสริม สนับสนุนและร่วมดำเนินงานตามระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาดังนี้
              
10.1 จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
              
10.2 จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักของสถานศึกษาร่วมกันเป็นรายปี/รายภาค
              
10.3 จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยเครื่องมือมาตรฐาน       
        
11) หน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด ดำเนินการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และรายงานผลให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดทราบ ทั้งนี้การตรวจสอบและทบทวนให้เป็นไปตามข้อ (7) โดยอนุโลม
        
12) หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำกับ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผลและผดุงประสิทธิภาพของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาด้วย 
ขั้นตอนการประกันคุณภาพการศึกษา
 การควบคุมคุณภาพ (Quality Control)
1.  ศึกษาและเตรียมการ
·       ตั้งคณะทำงานประกัน 
·       ให้ความรู้แก่บุคลากรทุกมนุษย์ 
·       ตั้งคระทำงานฝ่ายต่าง ๆ
2. วางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา
·       กำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
·       สร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพตามมาตรฐาน
·       จัดทำสารสนเทศสภาพปัจจุบัน (ข้อมูลพื้นฐาน)
·       จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีตามแผนยุทธศาสตร์ในธรรมนูญสถานศึกษา
·       จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของสถานศึกษา
·       ประเมินสภาพปัจจุบันของสถานศึกษาตามมาตรฐาน
·       จัดทำธรรมนูญสถานศึกษาหรือแผนพัฒนาสถานศึกษา
3. ดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามแผน
·       ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษา และตามแผนปฏิบัติการของสถานศึกษา
·       นิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

การตรวจสอบ ทบทวน และปรับปรุงคุณภาพ    (Quality Audit)

4. ตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
·       แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ
·       กำหนดระยะเวลาและแนวทางการตรวจสอบ
·       ประเมินสภาพของสถานศึกษาตามมาตรฐานของสถานศึกษาครั้งที่ 2หลังจากปฏิบัติงานไปได้ระยะเวลาหนึ่ง
·       จัดทำสารสนเทศแสดงผลการปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดและเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
5. พัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
      ·       ปรับปรุง แก้ไขการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
      ·       ติดตาม ตรวจสอบการแก้ไข ปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานของสถานศึกษา
      ·       สรุปผลการตรวจสอบ จัดทำสารสนเทศ(ข้อมูลพื้นฐานครั้งที่ และรายงานการตรวจสอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
      ·       พัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 การประเมิน (Quality Assessment)และรับรองคุณภาพ  (Quality Accreditation)

 6. เตรียมการเพื่อรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา
·       จัดเตรียมหลักฐาน และข้อมูลต่าง ๆ ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
·       ถ้าได้รับการรับรอง และได้ใบรับรอง สถานศึกษารักษามาตรฐานคุณภาพให้คงไว้และรายงานผลการประเมิน
·       ถ้ายังไม่ได้รับการรับรอง สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไข และขอรับการประเมินใหม่ ตามเวลาที่กำหนด

แนวการดำเนินการตามขั้นตอนการประกันคุณภาพการศึกษา
การควบคุมคุณภาพการศึกษา  (Quality Control)
1.   การศึกษา และเตรียมการ มีแนวการดำเนินการ ดังนี้
1.1 ตั้งคณะทำงาน และพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อ 
1)  ศึกษาแนวคิด รูปแบบ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา
2) พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยกำหนดรูปแบบที่สถานศึกษาสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3) จัดทำสื่อ เอกสาร คู่มือ และเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
1.2 ให้การศึกษาแก่ครู และบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อ
1) สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้เกิดความตระหนัก และเห็นความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อทุกมนุษย์จะได้ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ให้ช่วยกันสร้างแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและกำหนดรูปแบบการดำเนินงานที่เหมาะสมกับสถานศึกษา
1.3 ตั้งคณะกรรมการ และคณะอนุกรรม ในการดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อ
1)  กำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบงานต่าง ๆ ที่สถานศึกษาต้องจัดทำเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) การสร้างทีมงานต่าง ๆ ของสถานศึกษาให้เข้มแข็ง
3) การพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา

2. การวางแผนการประกันคุณภาพการศึกษา โดยวางแผนการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดย
1.1 กำหนดมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ที่เป็นการกำหนดจากมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมาตรฐานการศึกษาของหน่วยงานต้นสังกัด มีขั้นตอน ดังนี้
1) ตั้งคณะทำงานยกร่างมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ประชุมพิจารณา ความเหมาะสมของร่างมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
3) ปรับปรุง และจัดทำเป็นมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษามาให้ทุกมนุษย์ของสถานศึกษานำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาสถานศึกษา ให้เข้าสู่มาตรฐานของสถานศึกษาต่อไป
1.2  จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานต่าง ๆ ของสถานศึกษาเพื่อควบคุมให้ผู้รับผิดชอบงานคุณภาพต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐาน และตัวชี้วัดที่กำหนดปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพสม่ำเสมอตลอดเวลา มีขั้นตอน ดังนี้
1) ตั้งคณะทำงานยกร่างมาตรฐานการปฏิบัติงาน สำหรับงานต่าง ๆ ที่วิเคราะห์มาจากมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) จัดประชุมพิจารณาทบทวน และรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงานที่เขียนขึ้น พร้อมกับปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานในสถานศึกษา
3) จัดทำเป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษาและประกาศให้ทุกคนนำไปปฏิบัติ
1.3  สร้างเครื่องมือประเมินคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่กำหนดขึ้น เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มาจัดทำเป็นข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ที่จะใช้ในการหาจุดที่จะพัฒนาสถานศึกษาต่อไป มีขั้นตอนดังนี้
1) ตั้งกรรมการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ดำเนินการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
3)  ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
4) จัดเก็บเครื่องมือเพื่อการนำไปใช้ต่อไป
1.4 ประเมินสภาพปัจจุบัน หรือเก็บข้อมูลสภาพปัจจุบันของสถานศึกษา โดยใช้เครื่องมือประเมินคุณภาพการศึกษาที่สร้างขึ้นในข้อ 1.2 มีขั้นตอน ดังนี้
1) วางแผนกำหนดการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ตลอดปีการศึกษา
2) แต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา เป็นคณะเล็ก ๆ คณะละ 2-3 คน โดยให้มีการประเมินข้ามฝ่าย เพื่อป้องกันการประเมินที่เข้าข้างฝ่ายของตน จะได้ช่วยกันหากข้อบกพร่องของการปฏิบัติงาน ที่จะช่วยกันแก้ไข ให้งานนั้น ๆ มีคุณภาพ และป้องกันไม่ให้ข้อบกพร่องนั้น ๆ เกิดขึ้นอีก
3) เตรียมเครื่องมือประเมิน โดยรวบรวมเครื่องมือประเมินที่เกี่ยวกับนักเรียน หรือครู หรือ ผู้ปกครอง ฯลฯ ให้เป็นฉบับเดียวกันสำหรับแต่ละกลุ่ม เพื่อใช้การประเมินเพียงครั้งเดียว แล้วทำให้ได้ข้อมูลทุกมาตรฐาน และตัวชี้วัด ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มมนุษย์นั้น ๆ อย่างครบถ้วน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ให้ข้อมูล
4) ดำเนินการประเมิน และสรุปผลการประเมินตามมาตรฐาน และตัวชี้วัด
1.5  จัดทำสารสนเทศ หรือข้อมูลพื้นฐานสภาพปัจจุบันของสถานศึกษา โดยนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มาจัดทำข้อมูลพื้นฐานแสดงผลการปฏิบัติงานของสถานศึกษา โดยจัดกลุ่มของข้อมูล ตามมาตรฐานและตัวชี้วัด คุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
1.6 จัดทำแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา หรือแผนพัฒนาสถานศึกษา มีขั้นตอน ดังนี้
1)  ตั้งคณะทำงานร่างแผนกลยุทธ์หรือแผนพัฒนาสถานศึกษา
2)  สำรวจความต้องการของผู้ปกครอง ชุมชน สังคม ตรวจสอบนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเจตพื้นที่การศึกษานนทบุรีเขต 2  สภาพขีดความสามารถของสถานศึกษา และผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสำหรับมาตรฐาน และตัวชี้วัดคุณภาพที่ยังต้องปรับปรุง มาเป็นข้อมูลหนึ่งในการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษา จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี ตามแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา
3) ร่างแผนกลยุทธ์สถานศึกษาระยะ ปี
4)  ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  พิจารณาให้ข้อเสนอแนะ
5) ปรับปรุงร่างแผนกลยุทธ์ สถานศึกษา
6) ส่งให้ผู้เกี่ยวข้องให้ความเห็นชอบและลงนาม
7) ประกาศใช้เป็นแผนพัฒนาสถานศึกษาต่อไป
1.7  จัดทำแผนปฏิบัติราชการตามแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา โดยการนำกลยุทธ์และกิจกรรมในแต่ละปีการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกลยุทธ์สถานศึกษา ไปวางแผนการปฏิบัติราชการประจำปี ซึ่งอาจจะมีขั้นตอนการดำเนินงาน ต่อไปนี้
1) ตั้งคณะทำงาน ยกร่างกำหนดกรอบแผนงาน โครงการของสถานศึกษา
2) ประชุมพิจารณากรอบแผนงาน โครงการ และงบประมาณ
3) ให้ทุกฝ่าย/กลุ่มสาระการเรียนรู้/งาน ร่วมกันวางแผนปฏิบัติการของตน
4) ประชุมชี้แจง พิจารณาร่างแผนปฏิบัติราชการ
5) ปรับปรุง และจัดทำแผนปฏิบัติราชการการที่สมบูรณ์
6) ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
7) จัดทำเป็นแผนปฏิบัติราชการประจำปีของสถานศึกษา

3. การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา มีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
3.1 ทบทวนการประกันคุณภาพการศึกษา โดยทบทวนงานต่าง ๆ ที่สถานศึกษาได้ทำการวางแผนไว้ให้ทุกคนเข้าใจ และนำไปปฏิบัติ
3.2 ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษา และตามแผนปฏิบัติราชการของสถานศึกษาโดยดำเนินการ ดังนี้
1) ให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้รับผิดชอบปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษาที่รับผิดชอบ และปฏิบัติงานตามแผน/โครงการ ที่รับผิดชอบให้เต็มความสามารถ พร้อมเก็บรวบรวมหลักฐานการปฏิบัติงานไว้อย่างเป็นระบบ ที่ค้นหาง่าย รวดเร็ว
2) ติดตามการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน  และติดตามการทำงานตามโครงการที่ได้รับมอบหมาย
3) แก้ไข ปรับปรุงข้อบกพร่องที่พบจากการติดตามการปฏิบัติงาน
3.3 นิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ระหว่างที่ทุกฝ่ายของสถานศึกษาได้ดำเนินงานไป ขณะเดียวกัน ก็ช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้สำเร็จลุล่วงไป เพื่อให้คุณภาพของสถานศึกษาเข้าสู่มาตรฐานที่กำหนดไว้เร็วขึ้น

การตรวจสอบ ทบทวน และปรับปรุงคุณภาพ
4. การตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยดำเนินการ ดังนี้
4.1 แต่งตั้งคณะกรรมกมาตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของถานศึกษา
4.2 กำหนดระยะเวลา และแนวทางการตรวจสอบ หรือวางแผนการตรวจสอบ ซึ่งการตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา สถานศึกษาควรทำการตรวจสอบ ทั้งการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน และตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา (มาตรฐานและตัวชี้วัด)  ของสถานศึกษาด้วย
4.3  ดำเนินการตรวจสอบตามแผนที่วางไว้ สำหรับการประเมินสภาพของสาถนสึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสาถานศึกษาครั้งที่ หลังจากได้ปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของสถานศึกษา ไปได้ระยะเวลาหนึ่ง โดยนำเครื่องมือประเมินคุณภาพการศึกษาที่สร้างขึ้นมาแล้วในข้อ 1.3 ของขั้นตอนที่ 2 (การวางแผนฯและทำการประเมินคุณภาพการศึกษา ดังข้อ 1.4 และจัดทำสารสนเทศหรือข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษาครั้งที่ ตามข้อ 1.5 ของขั้นตอนที่ 2 (การวางแผนฯทั้งนี้เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าของตัวชี้วัด และมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ที่บกพร่องที่พบจากการประเมินครั้งที่ และเพื่อตรวจสอบ และแก้ไขสิ่งที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาต่อไป
5. การพัฒนาและการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดย
5.1 ปรับปรุง แก้ไขการปฏิบัติงานที่พบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
5.2 ติดตาม ตรวจสอบแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ตามระยะเวลาที่เหมาะสมที่ผู้ปฏิบัติได้กำหนดไว้ว่าจะแก้ไขเสร็จ ทั้งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่า ข้อบกพร่องที่พบ ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
5.3 สรุปผลการตรวจสอบ และรายงานผลการตรวจสอบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาโดยการจัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง(SAR)
5.4  สำหรับงานที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ ให้พัฒนาการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพดี   ยิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป

การประเมินและรับรองคุณภาพ
6. การเตรียมการเพื่อรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา โดยดำเนินการ ดังนี้
6.1 ผู้เกี่ยวข้องจัดเตรียมหลักฐานการปฏิบัติงาน และข้อมูลต่าง ๆ ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน และรายงานการประเมินตนเองไว้ล่วงหน้าให้พร้อม เพื่อรับการประเมินจากองค์กรภายนอก ที่เป็นผู้แทนสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา ตามกำหนดระยะเวลาที่องค์กรภายนอกจะมาประเมินคุณภาพของสถานศึกษา
6.2 รับการประเมินจากองค์กรภายนอก โดยองค์กรภายนอก จะทำการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้ง14  มาตรฐาน ซึ่งเมื่อองค์กรภายนอกจึงส่งรายงานข้อเท็จริงดังกล่าวให้กับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
6.3 ถ้าสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา พิจารณารายงานข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า สถานศึกษามีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ครบถ้วนทั้ง 14  มาตรฐาน ก็จะให้การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งหมายความว่าสถานศึกษาได้รับการรับรองคุณภาพการศึกษาจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษาแล้ว ซึ่งการรับรองดังกล่าวจะมีอายุ ปี คือ เมื่อครบ ปี สถานศึกษาจะต้องถูกประเมินคุณภาพาใหม่ทั้งหมด 14  มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่สถานศึกษาได้รับใบรับรองคุณภาพการศึกษา องค์กรภายนอกจะมาทำการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ ตลอดเวลา
6.4  ถ้าสถานศึกษาไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาต้องปรับปรุงคุณภาพของสถานศึกษาให้ได้มาตรฐาน ตามระยะเวลาที่คณะกรรมการประเมินกำหนดแล้วข้อรับการประเมินใหม่ แต่ถ้าถึงระยะเวลาที่กำหนดแล้วสถานศึกษายังมีการพัฒนายังไม่ถึงเกณฑ์ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ต้องรายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ตามมาตรา 51 ของหมวด ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545
การประเมินภายในสถานศึกษา
          การประเมินภายใน (Internal Evaluation) เป็นประบวนการประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่กระทำโดยบุคลากรในหน่วยงาน หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งการประเมินภายในนี้ถือเป็นกระบวนการตรวจสอบการทำงานของตนเอง(Self-evaluation) สถานศึกษา ควรกำหนดให้การประเมินภายใน เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องของสถานศึกษา และถ้าโรงเรียนจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานแล้ว ดังนั้น ในการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนควรดำเนินการประเมิน ลักษณะ ได้แก่
1. ประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. ประเมินการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายในโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนมีการดำเนินงานมีคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ


วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา
1. เพื่อตรวจสอบคุณภาพ และผลการปฏิบัติงานของโรงเรียน ตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. เพื่อนำผลการประเมินมาจัดทำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน และนำมาใช้ในการตัดสินใจวางแผนพัฒนา และปรับปรุงคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน
3. เพื่อรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชน
4. เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับการประเมินจากองค์กรภายนอก เพื่อนำไปสู่การรับรองคุณภาพการศึกษา

คุณสมบัติของผู้ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ดี          1. มีทักษะในการพูด การเขียน ที่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างชัดเจน
2. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานคุณภาพการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. มีความรู้เรื่องกระบวนการตรวจสอบ และการประเมินภายในเป็นอย่างดี
4. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับงานที่จะทำการตรวจประเมินพอสมควร (ที่เหลืออาจจะศึกษาเพิ่มเติมอีก ก่อนทำการตรวจประเมิน)
5. มีความเป็นกันเอง และบุคลิกที่เป็นผู้ใหญ่พอสมควร
6. มีหลักการแน่นอน ไม่เอนเอียงไปตามคำพูดของผู้รับการตรวจประเมิน
7. สามารถวิเคราะห์เรื่อง/เหตุการณ์ตาง ๆ อย่างมีเหตุผล
8. เข้าใจสถานการณ์ กฎ และระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อกับโรงเรียน
9. ควรผ่านการฝึกอบรมวิธีการตรวจประเมินภายในสถานศึกษา

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตรวจประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา
          การตรวจประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่อไปนี้
1. การให้การสนับสนุนของฝ่ายบริหารของสถานศึกษา ระหว่างที่ทำการตรวจประเมิน
2. ความพร้อมของบุคลากร และหลักฐานต่าง ๆ เพื่อรับการตรวจ ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจประเมิน
3. ความชัดเจนของอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ รวมทั้งความเป็นอิสระของคณะผู้ตรวจประเมิน
4. ความร่วมมือของผู้รับการตรวจประเมิน
5. ความถูกต้อง ชัดเจนของการรายงานผลการตรวจประเมิน ซึ่งต้องรายงานผลการตรวจประเมินให้ผู้บริหาร และผู้รับการตรวจประเมินทราบ
6. การดูแลของฝ่ายบริหาร เพื่อให้มีการแก้ไข้ข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานที่พบระหว่างการตรวจประเมิน
7. มีวิธีการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องที่เหมาะสม



ลักษณะการตรวจประเมินที่ดี
1. ผู้ทำหน้าที่ตรวจประเมิน มีความเข้าใจวัตถุประสงค์ของการตรวจประเมินที่ชัดเจนและดำเนินการตรวจประเมินอย่างต่อเนื่อง ตามขั้นตอน
2. มีการวางแผน และเตรียมตัวที่ดี โดยต้องทำให้ผู้รับการตรวจประเมินมีความสบายใจไม่รู้สึกเครียด วุ่นวาย และกังวล
3. ต้องมีการแจ้งกำหนดการตรวจประเมินไว้ล่วงหน้าอย่างน้อย สัปดาห์ และก่อนเข้าไปตรวจประเมิน ต้องแจ้งซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
4  ผู้ตรวจประเมิน ต้องมีความเป็นกลาง และเป็นอิสระจากงานที่จะไปตรวจ(ไม่เป็นผู้ที่ทำงานในฝ่ายที่รับการตรวจมีการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการตรวจ มีการแจ้งข้อบกพร่องที่ชัดเจน และรับฟังคำอธิบายของผู้รับการตรวจทุกอย่าง อย่างเต็มที่ (แต่อย่าเชื่อ จนกว่าจะมีหลักฐานมาให้ดู)
5. ผู้ตรวจประเมินตองมีไหวพริบดี ควบคุมอารมณ์ได้ดี วางตัวเหมาะสม มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ที่จะตรวจอย่างชัดเจน

มารยาทของผู้ตรวจประเมิน
1. ปฏิบัติหน้าที่ตรวจประเมินอย่างบริสุทธิใจ ไม่มีลับลมคมใน และไม่สับสน
2.ให้มีการสื่อสาร ทาง ให้เกียติแก่ผู้รับการตรวจประเมิน ไม่ทำพฤติกรรมสอบสวนคดี
3. สร้างบรรยากาศเป็นกันเอง ให้ผู้รับการตรวจประเมินสบายใจ และไม่รู้สึกว่ากำลังถูกจับผิด
4  ชื่อในคำอธิบายของผู้รับการตรวจประเมิน แต่ต้องพิสูจน์ด้วยหลักฐาน
5. พิจารณาบรรยากาศการทำงานของผู้รับการตรวจประเมินให้รอบคอบ ก่อนทำการตรวยประเมิน และไม่ใช้คำถามที่ทำให้เกิดความแตกแยก
6.ไม่ดูถูก ไม่หัวเราะเยาะ และไม่พูดคำใส่ร้ายผู้รับการตรวจประเมิน
7. ตรงต่อเวลานัดหมาย และรักษาคำพูด

การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
          กรดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษา มี แนวทางในการดำเนินการประเมิน วิธี ได้แก่
1. การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษา โดยการนำผลการปฏิบัติงานพัฒนาโรงเรียนเป็นปกติ มาสรุปเขียนรายงานการประเมินตนเอง
2.  การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษา โดยการสร้างเครื่องมือวัดสำหรับตัวบ่งชี้ทุกตัว แล้วประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน แล้วสรุปเขียนรายงานการประเมินตนเอง

วิธีที่ การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษา โดยการนำผลการปฏิบัติงาน
           พัฒนาโรงเรียนเป็นปกติ มาสรุปเขียนรายงานการประเมินตนเอง
การประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามมาตรฐานการศึกษาวิธีนี้ โรงเรียนไม่ต้องสร้างเครื่องมือวัด แต่ครูทุกคนในโรงเรียนต้องช่วยกันเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานที่โรงเรียนมอบหมายเป็นปกติ ให้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้ แล้วมาสรุปรวมกันเป็นหมวดวิชา/งาน/ฝ่าย โดยให้สรุปจากความถี่มากที่สุด สำหรับข้อมูลตัวบ่งชี้เดียวกัน แต่ได้มาจากหลายวิชา/หลายงาน แล้วสรุปเขียนรายงาน กระบวนการดำเนินงาน อาจจะมีลักษณะ ดังนี้
1. แต่ตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาภายในโรงเรียน ซึ่งอาจจะประกอบด้วย รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มการบริหาร  หัวหน้างาน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ให้มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นผลการปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่มการบริหาร/กลุ่มสาระการเรียนรู้/งาน ตามตัวบ่งชี้ รายงานข้อบกพร่องที่ไม่เป็นไปตามระดับคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนที่ได้กำหนดไว้ ให้ผู้บริหารทราบ เพื่อการดำเนินการแก้ไขต่อไป แล้วสรุปเขียนเป็นรายงานการประเมินตนเอง
2. แต่ละกลุ่มการบริหาร กลุ่มสาระการเรียนรู้ / งาน วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน หรือผลการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ของมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. แต่ละกลุ่มการบริหาร /กลุ่มสาระการเรียนรู้ งาน ปฏิบัติงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามที่โรงเรียนมอบหมายอย่างเป็นปกติ (อาจจะปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของโรงเรียน ถ้าโรงเรียนได้จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานไว้แล้ว พร้อมกับเก็บข้อมูลที่เป็นผลการปฏิบัติงานเป็นปกติ แยกเป็นมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ที่ได้วิเคราะห์ไว้ในขั้นตอนที่ โดยเก็บข้อมูลเป็นระดับคุณภาพของการจัดการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนที่ได้กำหนดไว้ พร้อมเก็บหลักฐานการประเมินไว้สำหรับการตรวจสอบ
4.    แต่ละกลุ่มการบริหารกลุ่มสาระการเรียนรู้ งาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานในฝ่าย/หมวด/งานเดียวกันมาสรุปเป็นคุณภาพการพัฒนาโรงเรียน โดยนำข้อมูลของผลการปฏิบัติงานที่เป็นตัวบ่งชี้เดียวกันจากผู้ปฏิบัติงาน มาสรุปให้เป็นผลสุดท้ายสำหรับตัวบ่งชี้นั้น ๆ โดยสรุปจากความถึงของระดับคุณภาพของตัวตัวบ่งชี้นั้น ถ้าความถี่ของระดับคุณภาพใดมีมากที่สุดให้สรุปว่า คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนตามตัวบ่งชี้นั้น เป็นไปตามระดับคุณภาพที่มีความถี่มากที่สุด บางตัวบ่งชี้ อาจจะต้องสรุปรวมจากหลายหมวดเพื่อตอบตัวบ่งชี้ ซึ่งแล้วแต่ดุลพินิจของโรงเรียน
5. สรุปคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน จากข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้
6. แก้ไข้ข้อบกพร่องของผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน (มาตรฐานและตัวบ่งชี้ ที่ยังมีคุณภาพไม่เป็นที่น่าพอใจ)
7. สรุปเขียนรายงานการประเมินตนเอง

วิธีที่ การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษา โดยการสร้างเครื่องมือวัด
การประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการศึกษา วิธีนี้โรงเรียนต้องสร้างเครื่องมือวัด
คุณภาพการจัดการศึกษา ของโรงเรียนทุกตัวบ่งชี้ แล้วนำมาประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน ในระยะเวลาที่ต้องการทราบผลการจัดการศึกษาของโรงเรียน วิธีนี้ โรงเรียนอาจจะต้องทำงานมาก คือ ต้องสร้างเครื่องมือประเมินทุกตัวบ่งชี้ แล้วทำการประเมินคุณภาพทุกตัวบ่งชี้ ซึ่งต้องใช้เวลา และต้องจัดการเกี่ยวกับเครื่องมือประเมินให้เป็นระบบ เช่น เครื่องมือประเมินที่เกี่ยวกับการประเมินคุณภาพของนักเรียน ต้องนำมาเข้ากลุ่มรวมกันไว้หมด แล้วนำมาประเมินนักเรียน เมื่อได้ผลการประเมินแล้ว ต้องนำคำตอบของนักเรียนมาแยกออกตามมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ เพื่อการสรุปรายงาน เป็นต้น กระบวนการดำเนินงาน อาจจะเป็นดังนี้
1.  แต่งตั้งคณะกรรมการสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
2.  สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ตามมาตรฐาน และตัวบ่งชี้ทุกมาตรฐาน
3. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาที่ประกอบด้วยบุคลากรจากทุกฝ่ายของโรงเรียน พร้อมทั้งมอบหมายให้ทำการตรวจประเมินข้ามฝ่ายกัน เพื่อจะได้พบข้อบกพร่องของการทำงานง่ายขึ้น ซึ่งจะได้ช่วยกันแก้ไขข้อบกพร่องนั้นต่อไป
4. อบรม/ทำความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตรวจประเมินภายใน และ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐาน และตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษา และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนการสรุปผลการประเมิน
5.โรงเรียนวางแผนกำหนดระยะเวลาในการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาตลอดปี
6. กรรมการตรวจประเมินวางแผนกำหนดระยะเวลาในการทำการตรวจประเมินคุณภาพภายใน แต่ละครั้ง แล้วแจ้งให้ผู้รับการตรวจประเมินทราบล่วงหน้าอย่างน้อย สัปดาห์
7.  คณะกรรมการตรวจประเมินเตรียมเอกสาร และเครื่องมือประเมินหลาย ๆ ตัวบ่งชี้เข้าด้วยกัน สำหรับการถามบุคลากรแต่ละประเภท เช่น ควรตรวจสอบเครื่องมือประเมินที่ใช้กับนักเรียนทั้งหมด แล้วออกแบบว่าจะจัดทำกี่ฉบับ จะจัดพิมพ์อย่างไร จะดำเนินการอย่างไร เป็นต้น เพื่อไม่ให้เกิดความรำคาญแก่ผู้ตอบแบบสอบถาม/ผู้รับการประเมิน ซึ่งถ้าทำการสอบถามบ่อย หรือสอบถามทุกวัน จะทำให้เกิดความรำคาญและความเบื่อหน่ายของผู้ตอบ อันจะทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
8.  ดำเนินการตรวจประเมิน โดยใช้เครื่องมือประเมินที่สร้างขึ้นและเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงที่พบตามเครื่องมือประเมิน
9.  สรุปผลการตรวจประเมิน
10. เขียนรายงานผลการประเมินตนเอง
11. ส่งรายงานให้หน่วยงานต้นสังกัด ผู้เกี่ยวข้อง และสาธารณชน ตามความเหมาะสม

การสร้างเครื่องมือเก็บรวมรวมข้อมูล
          การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล อาจจะดำเนินการได้ดังนี้ กำหนดกรอบการตรวจประเมินคุณภาพภายในโรงเรียน เพื่อเก็บรวบรวมเป็นข้อมูลพื้นฐานตามมาตรฐาน และตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยวางแผนกำหนดสิ่งต่อไปนี้   ด้านที่จะประเมิน (ผลผลิต/กระบวนการ/ปัจจัย) มาตรฐานที่จะประเมิน ตัวบ่งชี้ที่จะประเมิน แหล่งข้อมูล/แหล่งที่สามารถให้ข้อมูลได้ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีวิเคราะห์ และสรุปข้อมูล เกณฑ์ระดับคุณภาพของผลการประเมิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น