วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

การประกันคุณภาพการศึกษา

การประกันคุณภาพการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 48 “ให้หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายใน เป็น ส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือสําคัญในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้ได้มาตรฐาน จในระดับอุดมศึกษา และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งแนวคิดที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
          1. การประกันคุณภาพเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN Cooperation Initiative in QualityAssurance)
การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการสร้างมาตรฐานและเสริมสร้างของหลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับในอาเซียน surance - AUN-QA) ที่ตระหนักถึงความสําคัญของประกันคุณภาพการศึกษาในบน ในการพัฒนาระบบประกันคุณภาพแบบองค์รวมเพื่อยกระดับมาตรฐาน เลยเนเครือข่าย AUN เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network (AUN Quality Assurance ระดับอุดมศึกษาและความการศึกษา ให้แก่มหาวิทยาลัยในเครือข่าย (AUN Quality Assurance - AUN-QA) เป็นกลไกการ มาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยสมาชิกให้เป็นไปในทิศทาง
เดียวกัน การรับรองมาตรฐานระดับหลักสูตรจะเริ่มต้นจากความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสี กําหนดไว้ในผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสูตรการรับรอง ระดับหลักสูตร ตามเกณฑ์ ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA โดยมีเกอง 11 หมวด ได้แก่
                   1. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังไว้
                   2. ข้อกําหนดหลักสูตร
                   3. โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหา
                   4. แนวทางการสอนและการเรียนรู้
                   5. การประเมินผลนักศึกษา
                   6. คุณภาพบุคลากรสายวิชาการ
                   7. คุณภาพบุคลากรสายสนับสนุน
                   8. คุณภาพของนักศึกษาและการสนับสนุน
                   9. สิ่งอํานวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน
                   10. การเพิ่มคุณภาพ
                   11. ผลผลิต
          มหาวิทยาลัยในเครือข่าย AUN ได้มีการนําเกณฑ์ดังกล่าวมาใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับหลักสูตร (AUN-QA Assessment) โดยหลักสูตรที่มีความพร้อม มหาวิทยาลัยจะยื่นขอรับรองโดยAUN-QA ต่อไป
ภาพประกอบที่ 12 ความสัมพันธ์องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับ Learning outcome
          ที่มา htt://academic.swu.ac.th/portals/43/105.pdf

          2. การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
   สํานักทดสอบทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ (2545) ได้ศึกษาและพัฒนา การประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากผลการศึกษามือมาธิการได้ประกาศเป็นกฎกระทรวง กําหนด ระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพ การศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเอกสารการดําเนินงานตามระบบดังกล่าว ได้แก่
                   1. ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
                   2. แนวทางการจัดทําระบบสารสนเทศสถานศึกษา
                   3. แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพสถานศึกษา
                   4. แนวทางการจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
                   5. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพภายในของสถานศึกษา
                   6. แนวทางการรายงานคุณภาพการศึกษาประจําปีของสถานศึกษา
                   7. แนวทางการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยเขตพื้นที่ การศึกษา
ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา : กรอบและแนวการดําเนินงาน เขียนแสดง ความสัมพันธ์ได้ดังภาพประกอบที่ 13
          ภาพประกอบที่ 13 ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มา (กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ 2545 : 3)
          3. การประเมินคุณภาพภายนอก
   ประเมินภายนอก คือ การประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งกระทําโดยสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) (สมศ.) หรือผู้ประเมินภายนอกที่ได้รับการรับรองจาก สมศ. เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น

          ความสําคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก
             ประเมินคุณภาพภายนอก มีความสําคัญและมีความหมายต่อสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ดังต่อไปนี้ (สํานักงานรับรองมาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน),2550)
          1. เป็นการส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน และพัฒนาตนเอง ให้เต็มตามศักยภาพอย่างต่อเนื่อง
          2. เพิ่มความมั่นใจ และคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้รับบริการทางการศึกษาให้มั่นใจ ได้ว่า สภานศึกษาจัดการศึกษามุ่งสู่คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนเป็น- คนดี มีความสามารถ และ มีความสุขเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
          3. สถานศึกษาและหน่วยงานที่กํากับดูแล เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา หน่วยงานต้น สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ชุมชนท้องถิ่นมีข้อมูลที่จะช่วย ตัดสินใจในการวางแผน และดําเนินการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปในทิศทางที่ ต้องการและบรรลุเป้าหมาย ตามที่กําหนด
          4. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับนโยบายมีข้อมูลสําคัญในภาพรวมเกี่ยวกับ คุณภาพและ มาตรฐานของสถานศึกษาทุกระดับทุกสังกัดเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกําหนดนโยบายทางการศึกษาและ การจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
   สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ww.onesqa.or.th/th/index.php กําหนดหลักการสําคัญของการประเมินคุณภาพภายนอก ซึ่งมีหลักการ สําคัญ ประการ ดังต่อไปนี้
          1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการ ตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ ให้โทษ
          2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริงและมีความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้ (aaountability)
          3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกํากับควบคุม
          4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
          5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษา ของชาติตามที่กําหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคง ความหลากหลายในทางปฏิบัติ โดยสถาบันสามารถกําหนดเป้าหมายเฉพาะ และพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน
          วัตถุประสงค์ของการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา
    การประเมินคุณภาพภายนอก มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ (สํานักงานรับรอง- มาตรฐานและ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน), 2550)
          1. เพื่อตรวจสอบ ยืนยันสภาพจริงในการดําเนินงานของสถานศึกษา และ ประเมิน คุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาที่กําหนด
          2. เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งจะช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น จุดที่ควรพัฒนาของ สถานศึกษา สาเหตุของปัญหาและเงื่อนไขของความสําเร็จ
          3. เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่ สถานศึกษา และ หน่วยงานต้นสังกัด
          4. เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีการพัฒนาคุณภาพ และประกันคุณภาพภายใน อย่าง ต่อเนื่อง
          5. เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาต่อหน่วยงานเกี่ยวข้องและสาธารณชน
ผู้ประเมินภายนอก หมายถึง บุคคลหรือหน่วยงานที่มีคุณสมบัติตามที่กําหนดและได้รับการ รับรอง จากสมศ. ให้ทําการประเมินคุณภาพภายนอก
มาตรฐานการศึกษา คือข้อกําหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และเป็นเป้าหมายที่
เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสําหรับการส่งเสริม กํากับดูแลมาตรฐานการศึกษา คือข้อกําหนดเกี่ยวกับคณลักษต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง เพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคีย
ตรวจสอบประเมินผล และ การประกันคุณภาพการศึกษา

          4. การประเมินคุณภาพภายใน
          Clark (2005 : 2) กล่าวว่า การประเมินคุณภาพภายใน โปรแกรมการเรียนการสอน (internal evaluation) ประเมินที่นําไปใช้ในการตัดสินคุณค่าของโปรแกรมการเรียนการสอนในระหว่างดําเนินการ การ ๑. เป็นที่กระบวนการ (process) การประเมินคุณภาพภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบแก้ไขและเพื่อการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นเมื่อนําไปใช้กับผู้เรียนโดยทั่วไป ในการประเมิน ปรับรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคน โดยกําหนดจุดมุ่งหมายคือ การจัดการเรียนรู้นั้นหรือการเรียน การสอนนั้นประสบผลสําเร็จตามที่ตั้งใจไว้หรือไม่ ข้อมูลต้องถูกเก็บรวบรวมอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบว่า การจัดการเรียนรู้หรือการเรียนการสอนนั้นพัฒนาผู้เรียนได้จริง ถ้าพบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีปัญหาในการเรียน การสอนคล้าย ๆ กัน อาจสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้หรือเรียนการสอนนั้นมีบางอย่างที่ไม่เป็นไปตาม จุดมุ่งหมาย ดังนั้นการประเมินคุณภาพภายในเป็นการประเมินเพื่อปรับปรุงดําเนินการได้ทันท่วงที การ ประเมินนี้จึงมีบทบาทสําคัญต่อความสําเร็จของการจัดการเรียนการสอน เคมพ์ (Kemp : 1971) เสนอแนะการ ประเมินไว้ดังนี้
1. ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในระดับที่เป็นที่ยอมรับตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ผู้เรียนมี ข้อบกพร่องใดบ้าง
2. ผู้เรียนมีความสามารถในการใช้ความรู้ หรือทักษะในระดับที่เป็นที่ยอมรับหรือไม่ ผู้เรียนมี ข้อบกพร่องใดบ้าง
3. ผู้เรียนใช้เวลานานเพียงใด เพื่อให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ และเป็นที่ยอมรับของผู้สอน หรือไม่
4. กิจกรรมต่าง ๆ เหมาะสมสําหรับผู้เรียนและผู้สอนหรือไม่
5. วัสดุต่าง ๆ สะดวกและง่ายต่อการติดตั้ง การหยิบ การใช้ หรือการเก็บรักษาหรือไม่
6. ผู้เรียนมีปฏิกิริยาต่อวิธีการเรียนการสอน กิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ และวิธีการประเมินผล
อย่างไรบ้าง
          7. ข้อสอบการประเมินตนเอง และข้อสอบหลังจากเรียนแล้ว ใช้วัดจุดมุ่งหมายจากการเรียนได้หรือไม่
8. ควรมีการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในส่วนใดบ้าง (เนื้อหา รูปแบบ และอื่น ๆ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น