การทดสอบและการใช้เกรด (Testing and Grading)
การทดสอบ เป็นการนำข้อของคำถามที่สร้างขึ้นไปกระตุ้นให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามที่ต้องการออกมา โดยสามารถสังเกตและวัดได้ การทดสอบนี้มักจะใช้ในการวัด และการประเมินผลการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ ใช้ในการจำแนกได้ดังนี้
1.จำแนกตามลักษณะการกระทำ ได้แก่
1.1 แบบทดสอบแบบให้ลงมือกระทำ ได้แก่ แบบทดสอบภาคปฏิบัติทั้งหลาย เช่น การทดสอบวิชาพละศึกษา
1.2 แบบทดสอบแบบเขียนตอบ ได้แก่ การทดสอบที่ให้ผู้สอบต้องเขียนตอบในกระดาษและการใช้การเขียนเกณฑ์ เช่น แบบทดสอบอัตนัย แบบทดสอบความเรียง เป็นต้น
1.3 แบบทดสอบปากเปล่า เป็นแบบทดสอบที่ผู้สอบต้องตอบด้วยวาจาแทนการเขียนตอบ หรือการปฏิบัติ
2 จำแนกตามสมรรถภาพที่ใช้วัด ได้แก่
2.1 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดระดับความรู้ความสามารถและทักษะทางวิชาการที่ได้จากการเรียนรู้
2.2 แบบทดสอบความถนัด เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความสามารถทางสมอง ที่เกิดจากการสะสมประสบการณ์ต่าง ๆ
2.3 แบบทดสอบบุคลิกภาพและสถานภาพทางสังคม เป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดบุคลิกภาพของคน เช่น เจตคติ ความสนใจ ค่านิยม นิสัย ความเชื่อ การปรับตัว เป็นต้น
3.จำแนกตามลักษณะการตอบ ซึ่งอาจแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
3.1 แบบทดสอบความเรียง เป็นแบบทดสอบที่ให้ผู้ตอบหาคำตอบและเรียบเรียงคำตอบขึ้นเอง ผู้ตอบสามารถแสดงความรู้ความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่
3.2 แบบทดสอบปรนัย เป็นแบบทดสอบที่มุ่งให้ผู้ตอบตอบเพียงสั้น ๆ หรือเลือกคำตอบจากที่กำหนดไว้
แบบทดสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการสอน
แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่ละชนิดมีจุดมุ่งหมายและความสามารถในการวัดต่างกัน แบบทดสอบที่ใช้กันอยู่ในการเรียนการสอนนั้นเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ที่ผู้สอนสร้างขึ้นเอง โดยจำแนกตามลักษณะการตอบเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. แบบทดสอบอัตนัยหรือความเรียง เป็นแบบทดสอบที่ให้คำตอบโดยไม่มีขอบเขตของคำตอบที่แน่นอนไว้ การตอบใช้การเขียนบรรยายหรือเรียบเรียบคำตอบอย่างอิสระตามความรู้ ข้อเท็จจริง นอกจากกำหนดด้วยเวลา ส่วนมากขึ้นอยู่กับผู้ตรวจสอบเป็นสำคัญ
2. แบบทดสอบแบบปรนัย แบบทดสอบแบบนี้จะกำหนดคำถามและคำตอบไว้ให้ โดยผู้ตอบจะต้องอ่านด้วยความพินิจพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคำตอบ แบบทดสอบแบบปรนัยนี้มีลักษณะเด่นที่ผู้ตอบจะต้องใช้เวลาส่วนมากไปในการอ่านและคิด
กล่าวสรุปแล้วแบบสอบหรือข้อสอบที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนทั้งแบบทดสอบแบบอัตนัยหรือความเรียง และแบบทดสอบแบบปรนัยต่างมีข้อจำกัดด้วยกันทั้งคู่ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่นำไปใช้ ตามตารางที่ 23 ดังนี้
ตารางที่ 23 ข้อดีและข้อจำกัดของแบบทดสอบแบบอัตนัย หือความเรียง และแบบทดสอบแบบปรนัย
แบบทดสอบแบบอัตนัย/แบบความเรียง
|
แบบทดสอบแบบปรนัย
|
1. ผู้สอบมีจำนวนไม่มากนัก
2. ต้องการสอบวัดความสามารถที่ซับซ้อน
3. ต้องการส่งเสริมทักษะเชิงความคิดและการแสดงออก
4. ผู้สอบต้องมีความสามารถในการเขียนและทักษะทางภาษาที่ดี
5. ต้องการวัดทักษะและความรู้สึกนึกคิดอื่นด้วยนอกจากวัดผลสัมฤทธิ์
6. มีเวลาออกข้อสอบน้อย แต่มีเวลาตรวจข้อสอบมาก
|
1. ผู้สอบมีจำนวนมาก
2. ต้องการนำข้อสอบไปวิเคราะห์และเก็บไว้ใช้อีก
3. ต้องการสอบวัดรายละเอียดเนื้อหาย่อย
4. ไม่ต้องการวัดทักษะและความรู้สึกนึกคิดอื่นนอกจากผลสัมฤทธิ์
5. มีเวลาออกข้อสอบมากและต้องการผลสอบเร็ว
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น