บทที่2
การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้
(settingLearning
Goals)
การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้ผู้เรียนต้องระบุจุดหมายการเรียนรู้โกลด์ด้วยการระบุความรู้และการปฏิบัติโดยการระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศและระบุทักษะการปฏิบัติกระบวนการจุดหมายการเรียนรู้ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยจำนวนของบทเรียนปริมาณเนื้อหาสาระ
หรือความรู้สูงสุดแต่หมายถึงความคาดหวังที่จะเรียนรู้ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งและเจตนาที่จะให้ผู้เรียนแสดงถึงสิ้นท่าเรียนรู้
จุดหมายการเรียนรู้
จุดหมายการเรียนรู้ (learning
Goals)
ความปรารถนาอยากเรียนรู้ ความปรารถนาอาจมาจากบุคคล ประสบการณ์
สถานการณ์พิเศษหรืออื่นๆ David Healy Feldman (อ้างถึงในอารี สัณหฉวี 2546 :
140 ) อารี สุณหาฉวีแปลความเก่ง 7 ชนิด ค้นหาและพัฒนาพหุปัญญาในตน กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยทัฟต์ เรียกสิ่งที่จุดประกายความปรารถนาที่จะเรียนรู้นี้ว่า
ประสบการณ์ตกผลึก (crystallizing experiences ) ประสบการณ์ประทับใจหรือประสบการณ์ตกผลึกนี้ จะเป็นประสบการณ์ที่เป็นจุดหักเหของชีวิต
ถ้าความปรารถนาที่จะเรียนรู้เกิดขึ้นหลังประสบการณ์ตกผลึก
ก็จะต้องมีการพัฒนาฟูมฟัก Alfred North Whitehead (อ้างถึงในอารี สัณหฉวี 2546 : 141 )
กล่าวว่าในการพัฒนาฟูมฟักมี 3 ขั้น เรียกว่า จังหวะของการศึกษา (rhythm of
education ) ขั้นที่หนึ่งคือ ระยะหลงรัก (romance) ระยะนี้จะเป็นความรื่นเริง มีชีวิตชีวาที่จะเรียนรู้ ขั้นที่สอง คือ ระยะของความแม่นยำ
(precision) ระยะนี้จะต้องศึกษาฝึกฝนฝึกซ้อมให้ถูกต้องแม่นยำ
และขั้นที่สาม คือ ระยะของความคล่องแคล่ว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ (generalization)
การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้เป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาปัญญา
ซึ่งอาจวางแผนเพื่อพัฒนาปัญญาด้านใดด้านหนึ่งมาศึกษาและฝึกหัด
ในการวางแผนพัฒนาปัญญานี้ ผู้ที่ถนัดด้านมิติอาจทำเป็นเส้นเวลาหรือรูปภาพ
ผู้ที่ถนัดด้านมนุษยสัมพันธ์อาจจะเล่าเรื่องให้เพื่อนสนิทฟัง เป็นต้น
จุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
Bloom และคณะ (1956) ได้จัดกลุ่มการเรียนรู้ออกเป็นสามประเภท
คือ ด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย และด้านพิสัย
พุทธพิสัยรวมถึงการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะพิสัย
รวมถึงการพัฒนาเสรีทางกายและทักษะที่ต้องการใช้กล้ามเนื้อสัมพันธ์กับประสามจิตพิสัยเกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งเจตคติ
ความซาบซึ้งและค่านิยม
การเรียนรู้ทั้งสามประการนี้ควรได้รับการพิจารณาในการวางแผนผลที่ได้รับจากการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนการสอน
ในการที่จะประสบผลสำเร็จตามจุดหมายของการศึกษา
ขอบเขตการเรียนรู้ทั้งสามนี้ต้องได้รับการบูรณาการเข้าไว้ในทุกลักษณะของการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตรซึ่งจะทำให้ผู้เรียนกลายเป็นจุดโฟกัสของกระบวนการเรียนการสอนการเรียนรู้
ดังภาพประกอบที่ 3
ภาพประกอบที่ 3 บูรณาการของพุทธิพิสัย
ทักษะพิสัย และจิตพิสัย
อนุกรมภิธาน เป็นระบบของการแยกแยะบางสิ่งบางอย่าง ดังนั้น อนุกรมภิธานของการศึกษาจึงแยกแยะพฤติกรรมที่นักเรียนสามารถคาดหวังที่จะทำให้ได้ภายหลังจากที่ได้เรียนรู้แล้ว
อนุกรมภิธานเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คือ อนุกรมภิธานด้านพุทธิพิสัยของบลูมและคณะ
พุทธิพิสัย
รวมถึง
ความรู้ ความเข้าใจการนำไปประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และการประเมินค่า
พุทธิพิสัยแต่ละประเภทในอนุกรมภิธานประกอบด้วยองค์ประกอบบางประการของประเภทความรู้ที่ต้องมาก่อนอนุกรมภิธานนี้มีประโยชน์สำหรับการออกแบบหลักสูตรและการสร้างแบบทดสอบ
ตารางที่
1 อนุกรมภิธานทางปัญญาของบลูม
ระดับพฤติกรรม
|
นิยาม
|
1.
ความรู้
|
เกี่ยวข้องกับความจำและการระลึกได้ของข้อความจริงเฉพาะคำต่างๆ
สัญลักษณ์
วันที่ สถานที่ ฯลฯ
กฎ
แนวโน้ม ประเภท วิธีการ ฯลฯ
หลักการ
ทฤษฎี วิธีการจัดความคิด
|
2.
ความเข้าใจ
|
เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะใช้
การเรียนรู้ แปลความ สรุปความ ตีความ ย่อความ ขยายรายละเอียด ทำนายผล
และผลที่ติดตามมา
|
3.
การนำไปประยุกต์
|
เกี่ยวข้องกับความสามารถที่จะใช้ในการเรียนรู้ที่หลากหลายสถานการณ์การใช้หลักการและทฤษฎีการใช้ความเป็นนามธรรม
|
4.
การวิเคราะห์
|
เกี่ยวข้องกับการแตกส่วนใหญ่ให้เป็นส่วนย่อยระบุหรือแยกส่วนขององค์ประกอบค้นพบปฏิสัมพันธ์หรือความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลักการ
|
5.
การสังเคราะห์
|
เกี่ยวข้องกับการผสมผสานองค์ประกอบเข้าด้วยกันเป็นสิ่งใหม่ระบุและเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆเข้าด้วยกันเป็นการใหม่ๆ
จัดการผสมผสานส่วนย่อยต่างๆเข้าด้วยกันสร้างสิ่งใหม่ขึ้น
|
6.
ประเมินค่า
|
เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคุณค่าของวัตถุและวิธีการ
พิจารณาในรูปของมาตรฐานภายในพิจารณาในรูปของมาตรฐานภายนอก
|
ตารางที่
2 อนุกรมภิธานทางเจตคติของบลูม
ระดับพฤติกรรม
|
นิยาม
|
1.
การรับรู้
|
เกี่ยวข้องกับความตั้งใจทางอ้อมที่มีต่อสิ่งกระตุ้น
การรับรู้ข้อความจริง ความถูกต้อง เหตุการณ์หรือโอกาส ความตั้งใจในการสังเกต
หรือความตั้งใจที่มีต่อภาระงาน เลือกสิ่งกระตุ้น
|
2.
การตอบสนอง
|
เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติบางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับสิ่งกระตุ้น
การยินยอมตามีทิศทาง การอาสาสมัครด้วยตนเอง ความพึ่งพอใจหรือความร่าเริง
|
3.
ค่านิยม
|
การให้คุณค่ากับบางอย่างเกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้อง
แสดงออกถึงความเชื่ออย่างแข็งขันในบางสิ่งบางอย่าง
แสดงออกถึงความชอบมากกว่าในบางอย่าง แสวงหากิจกรรมเพื่อบางอย่างข้างหน้า
|
4.
การจัดการ
|
เป็นการจัดคุณค่าให้มีระบบ
เห็นคุณค่าที่ยึดถือมีความสัมพันธ์กับคุณค่าอื่นๆ ก่อตั้งคุณค่าที่มีลักษณะเด่น
เป็นค่านิยมของตนเอง
|
5.
คุณลักษณะ
|
เป็นการกระทำที่สอดคล้องกับระบบค่านิยมหรือคุณค่าภายใน
กระทำที่สอดคล้องในทิศทางที่มีความแน่ใจ
การพัฒนาปรัชญาชีวิตที่มีความคงเส้นคงวาทั้งหมด
|
ตารางที่
3 อนุกรมภิธานทางทักษะพิสัย
พฤติกรรมการเรียนรู้
|
นิยาม
|
การเคลื่อนไหวทั่วไป
(Generic
movement)
|
ปฏิบัติการเคลื่อนไหวหรือกระบวนการซึ่งให้ความสะดวกต่อการพัฒนาแบบการเคลื่อนไหวของมนุษย์
|
1.
การรับรู้
|
การจำท่าการเคลื่อนไหว รูปร่าง แบบและทักษะโดยอวัยวะรับความรู้สึก
|
2.
เลียนแบบ
|
เลียนแบบ แบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะในเชิงของผลที่ได้จากการเรียนรู้
|
3.
สร้างแบบ
|
จัดและใช้ส่วนของร่างกายในทิศทางที่ผสมกลมกลืน
เพื่อให้ประสบความสำเร็จในแบบการเคลื่อนไหวหรือทกษะ
|
การเคลื่อนไหวตามปกติ
(Ordinry
movement )
|
การพบข้อกำหนดของภาระงานการเคลื่อนไหวผ่านกระบวนการของการจัดการการแสดงออกและการแก้ไขแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะ
|
1.
การปรับตัว
|
ปรับแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะเพื่อให้พบกับภาระงานเฉพาะอย่างที่
(adaping)ต้องการ
|
2.
การแก้ไข
|
ความกระตือรือร้นที่จะเคลื่อนไหวอย่างราบเรียบ แบบการเคลื่อนไหวหรือ (refining)ทักษะที่แสดงออกมีประสิทธิภาพในเชิงแห่งผลของกระบวนการปรับปรุง เช่น
1.ขจัดการเคลื่อนไหวที่แทรกซ้อน
2.รอบรู้ถึงความสัมพันธ์ของอวกาศกับจังหวะ
3.การแสดงออกทางนิสัยภายใต้สภาวะแทรกซ้อน
|
การเคลื่อนไหวอย่างสร้างสรรค์
(Creative
movement)
|
กระบวนการในการประดิษฐ์หรือสร้างสรรค์การเคลื่อนไหวที่เต็มไปด้วยทักษะซึ่งจะสนองความมุ่งหมายของผู้เรียน
|
1.
ความหลากหลาย
|
ประดิษฐ์หรือสร้างทางเลือกในการปฏิบัติแบบการเคลื่อนไหวหรือทักษะ
(Varying)
|
2.
การดัดแปลงโดย
|
การเริ่มท่าการเคลื่อนไหว
การริเริ่มผสมผสานท่าการเคลื่อนไหวไม่ต้องเตรียมตัว (improvising)
|
3.
แต่งท่าการเคลื่อนไหว
|
สร้างสรรค์การออกแบบการเคลื่อนไหว
หรือทักษะที่มีคุณค่า (composing)
|
จิตพิสัย การเรียนรู้ทางเจตคติพาดพิงถึงคุณลักษณะของอารมณ์ของการเรียนรู้
เกี่ยวข้องการว่านักเรียนรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้
รู้สึกอย่างไรกับการเรียนรู้กับตนเอง และเป็นการพิจารณาความสนใจ ความซาบซึ้ง
เจตคติค่านิยมและคุณลักษณะของผู้เรียน
ทักษะพิสัย เกี่ยวข้องกับทางร่างกายหรือทักษะทางประสาทและกล้ามเนื้อสัมพันธ์กันในการเฝ้าดูการเรียนรู้ที่จะเดินก็จะเกิดความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้ทักษะการเคลื่อนไหวอย่างไร
เมื่อเด็กได้รับความคิดว่าต้องการอะไร และมีทักษะที่ต้องมีมาก่อนมีความแข็งแรง
และวุฒิภาวะและอื่นๆ เด็กจะพยายามมีความหยาบๆ ซึ่งจะค่อยๆ
แก้ไขผ่านข้อมูลกลับย้อนมาจากสิ่งแวดล้อม เช่น ธรณีประตู การหกล้ม พรมผู้ปกครอง
และสุดท้ายทักษะการแสดงออกซึ่งมีคุณค่าต่อวัยเตาะแตะนั้น
การปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม
แอนเดอร์สัน และแครทโฮล ( 2001) ได้ปรับปรุงจุดมุ่งหมายการศึกษาของบลูม ( Bloom’ Taxonomy revise
) ดังตารางที่ 4
ตารางที่
4
การเปรียบเทียบ Bloom’ Taxonomy 1956 และ 2001
New
Version ( Bloom’s Taxonomy 2001 )
|
Old
Version ( Bloom’s Taxonomy 2001 )
|
สร้างสรรค์
-Creating
|
การประเมิน
-Evaluation
|
ประเมิน -Evaluation
|
การสังเคราะห์
-Synthesis
|
วิเคราะห์ -Analysing
|
การวิเคราะห์
-Analysis
|
ประยุกต์ -Applying
|
การนำไปใช้
-Application
|
ความเข้าใจ
-Understand
|
ความเข้าใจ
-Application
|
ความจำ -Remembering
|
ความรู้ -Knowledge
|
Bloom (1956) ใช้คำนามในการอธิบายความรู้
ประเภทต่างๆ ในฉบับปรับปรุงปี 2001 ใช้คำกริยา
และปรับเปลี่ยนคำว่าความรู้ (Knowledge) เป็นความจำ (Remember) เมื่อนำเขียนจุดมุ่งหมายการศึกษา ของหลักสูตรที่อิงมาตรฐาน (standards
– based curriculum) จะเขียนได้ว่า ผู้เรียนควรรู้และทำอะไรได้ (เป็นกิริยา)
และได้จัดความรู้เป็น 4 ประเภท ได้แก่ ข้อเท็จจริง (factual) มโนทัศน์ (concept) กระบวนการ (procedural) และอภิปัญญา (meta-cognition) และมีการเปลี่ยนแปลงขั้นพฤติกรรมหลักในกรอบเดิม
2 ขั้นคือ ขั้นความเข้าใจ (comprehension) เปลี่ยนเป็นเข้าใจความหมายและขั้นประเมิน (evaluation) เป็นสร้างสรรค์ (create)
การปรับปรุงอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษา
(Revised’s
Bloom Taxonomy) ที่กล่าวถึงมิติทางการเรียนรู้ ของ Bloom และคณะ 1956 ซึ่งแอนเดอร์สันและแครธโทร (Anderson
and Krathwohl,2001)
ได้กล่าวถึงรายละเอียดของพฤติกรรมผู้เรียนและผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning
Outcome) โดยจำแนกเป็น 2 กลุ่มคือ 1) มิติด้านกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Dimension Process) และ 2) มิติด้านความรู้ (Knowledge
Dimension) มิติด้านกระบวนการทางปัญญาได้แก่ การจำ (remember) เรียกความรู้จากหน่วยความจำระยะยาว ความเข้าใจ (Understanding) ศึกษาความหมายจากข้อมูลที่เรียนรู้ รวมถึงการพูด
การเขียนและการสื่อสารด้วยรูปร่าง ประยุกต์ใช้ (Applying)
ประยุกต์ขั้นตอน/กระบวนการในงานที่คุ้นเคย วิเคราะห์ (Analyzing) จำแนกองค์ประกอบและหาความสัมพันธ์เพื่อกำหนดโครงสร้างหรือเป้าหมายใหม่
ประเมิน (Evaluating) ตัดสินบนพื้นฐานของเกณฑ์และมาตรฐาน
และสร้างสรรค์ (Creating)
จัดองค์ประกอบหรือหน้าที่ให้เชื่อมโยงกันไปสู่รูปแบบหรือโครงสร้างใหม่
มิติด้านความรู้ จำแนกระดับความรู้เป็น
4
ระดับ ได้แก่ 1) ความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริง (Factual
Knowledge) พื้นฐานของผู้เรียนต้องรู้จักหลักการหรือวิธีการแก้ปัญหา
2) ความรู้ที่เป็นมโนทัศน์ (Conceptual Knowledge)
ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบพื้นฐานในโครงสร้างทั้งหมดที่จะทำให้สามารถเชื่อมโยงกันได้
3 )ความรู้ในการดำเนินการ (Procedural Knowledge) วิธีการสืบค้นและเกณฑ์ในการใช้ทักษะเทคนิควิธีการเพื่อดำเนินการ และ 4) ความรู้อภิปัญญา (Metacognitive Knowledge)
ความรู้จากการรับรู้และเข้าใจในตนเอง
การปรับปรุงอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษามีได้กล่าวถึงอภิปัญญา (Meta
cognitive Knowledge) เป็นมิติหนึ่งของความรู้ คือ
การมีความรู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับความรู้ทางปัญญาโดยทั่วไป รู้ถึงความรู้ในตนเอง
ซึ่งมิติใหม่ทางการศึกษานี้จะมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ระดับอภิปัญญา (Meta
cognitive Knowledge) ตระหนักในตนเอง (meta awareness) การไตร่ตรอง ย้อนคิดในตนเอง (Self - reflect)
และการกำกับดูแลตนเอง (Self - reflect)
เขียนตารางแสดงความสัมพันธ์ของมิติด้านกระบวนการทางปัญญา
() และ 2) มิติด้านความรู้ () ได้ดังนี้
ตารางที่
5
ความสัมพันธ์ของมิติด้านกระบวนการทางปัญญา กับ มิติด้านความรู้
|
Cognitive
Process
|
|||||
The
Knowledge Dimension
|
1
Remember
|
2
Understand
|
3
Apply
|
4
Analyze
|
5
Evaluate
|
6
Create
|
Factual
|
|
|
|
|
|
|
Conceptual
|
|
|
|
|
|
|
Procedural
|
|
|
|
|
|
|
Metacognitive
|
|
|
|
|
|
|
ที่มา : ปรับจาก Anderson,
L. W. and Krathwohl, D. R., et al (Eds..) (2001)
Anderson and Krathwohl (2001) นำเสนอรูปแบบของอภิปัญญาแบ่งออกเป็น 2
กลุ่มคือ ความรู้ทางปัญญา (Knowledge of Cognition) และกระบวนการในการดูแล ควบคุมกำกับติดตามตนเอง
โดยแบ่งเป็นอภิปัญญาในความรู้ (Meta cognitive knowledge)
และอภิปัญญาในการควบคุมตนเอง (Meta cognitive Control)
และความรู้เกี่ยวกับอภิปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ 1.
ความรู้ในกลยุทธ์วิธีการเรียนรู้ (Strategic knowledge) คือ ความรู้ในกลยุทธ์ยุทธวิถี การเรียนรู้
การคิดการแก้ปัญหาในกลุ่มทุกวิชา 2. ความรู้ในการเลือกใช้กลยุทธ์และวิธีการเรียนรู้
(Knowledge about Cognitive takse) คือ การเลือกกลยุทธ์
ยุทธวิธี ที่เหมาะสมกับภาระงานชิ้นงาน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในสภาพที่แตกต่างกัน
และ 3. การรู้ในตนเอง (Self - Knowledge) คือ การรู้ถึงความรู้ ความสามารถของตน
การประเมินตนเองทั้งจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนา และ
ควรพัฒนาตนเองอย่างไรเพื่อให้บรรลุภาระชิ้นงานหรือมีความรู้ที่เพียงพอในการแก้ปัญหานั้นๆ
จุดมุ่งหมายการศึกษาของมาร์ซาโน
Marzano and Kendall, (2007) ได้พัฒนาการจัดกลุ่มพฤติกรรมการเรียนรู้ขึ้นใหม่แบ่งเป็น 1) ระบบปัญญา (Cognitive System) 2) ระบบอภิปัญญา (Meta cognitive System) และ 3) ระบบตนเอง (Self-System)
และได้จัดจำแนกอนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเป็น 6 ขั้น
ขั้นที่ 1 การดึงกลับคืนมา (Retrieval) ได้แก่
การระบุข้อความได้ การระลึกได้ และลงมือปฏิบัติได้ (Executing)
ขั้นที่ 2 ความเข้าใจ (Comprehension) ได้แก่
การบูรณาการและการทำให้เป็นรัฐสัญลักษณ์ (Symbolizing)
ขั้นที่ 3 การวิเคราะห์ (Analysis) ได้แก่การจับคู่ได้ (Matching) แยกประเภทได้ (Classifying)
วิเคราะห์ความผิดพลาดได้ (Analysis Error) ติดตามได้ (Generalizing) และชี้ให้จำเพาะเจาะจงได้ (Specifying)
ขั้นที่ 4 การนำความรู้ไปใช้ (Knowledge Utilizing) ได้แก่
การตัดสินใจ (Decision Making) การแก้ปัญหา (Problem
Solving) การทดลองปฏิบัติ (Experimenting)
และการสืบค้นต่อไปให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
ขั้นที่ 5 อภิปัญญา (Meta-cognition) ได้แก่ การระบุจุดหมาย (Specifying
Goals) การกำกับติดตามกระบวนการ (Process Monitoring) การทำให้เกิดความชัดเจนในการกำกับติดตาม (Monitor Clarity) และการกำกับติดตามตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน (Monitoring Accuracy)
ขั้นที่ 6 การมีระบบความคิดของตนเอง
(Self – System thinking) ได้แก่ การตรวจสอบประสิทธิภาพ (Examining
Efficacy) การตรวจสอบการตอบสนองทางอารมณ์ (Examining
Emotional Response) และการตรวจสอบแรงจูงใจ (Examining
Motivation)
Marano, (2000) ได้นำเสนอมิติใหม่ทางการศึกษา ดังนี้
ตารางที่
6
มิติใหม่ทางการศึกษา ระบบตนเอง
ระบบตนเอง
(Self
- System)
|
||
ความเชื่อเกี่ยวกับความสำคัญของความรู้
(Beliefs
About the Importance of Knoeledge)
|
ความเชื่อเกี่ยวกับประสิทธิภาพ
(Beliefs
About Efficacy)
|
อารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับความรู้
(Emotions
Associated with Knowledge)
|
ตารางที่
7
มิติใหม่ทางการศึกษา ระบบอภิปัญญา
ระบบอภิปัญญา
(Meta-cognitive
System)
|
|||
การบ่งชี้จุดหมาย
(Specifying
Learning Goals)
|
การเฝ้าระวังในกระบวนการ/การนำความรู้ไปใช้
(Monitoring
the Execution Knowledge)
|
การทำให้เกิดความชัดเจน
(Monitoring
Clarity)
|
การตรวจสอบความถูกต้องชัดเจน
(Monitoring
Accuracy)
|
ตารางที่
8
มิติใหม่ทางการศึกษา ระบบปัญญา
ระบบปัญญา
(Cognitive
System)
|
|||
การเรียกใช้ความรู้
(Knowledge
Retrieval)
|
ความเข้าใจ
(Comprehension)
|
การวิเคราะห์
(Analysis)
|
การนำความรู้ไปใช้
(Knowledge
Utillizing)
|
การระลึกได้
() การลงมือปฏิบัติได้
|
การสังเคราะห์
() การกำหนดสัญลักษณ์/การเป็นตัวแทน ()
|
การจับคู่ได้
() แยกประเภทได้ () วิเคราะห์ความผิดพลาดได้ () การกำหนดเป็นเกณฑ์ทั่วไป ()
การกำหนดเฉพาะเจาะจงได้ ()
|
การตัดสินใจ
() การแก้ปัญหา () การทดลองปฏิบัติ () การสืบค้นต่อไปให้เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง
()
|
ขอบเขตความรู้
()
|
|||
ข้อมูล ()
|
ขั้นการคิดวิธีการดำเนินการ
()
|
ขั้นการลงมือทำ
()
|
|
3) การเรียนแบบร่วมมือ ()
|
หมายถึง
การจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีโอกาสในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้
|
||
4) ให้คำแนะนำ, ใช้คำถามและมโนทัศน์ล่วงหน้า ()
|
คือ
ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถจดจำ ใช้
และจัดการกับความรู้ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ศึกษา
|
||
5) การแสดงออกโดยภาษากาย ()
|
หมายถึง
การส่งเริมให้ผู้เรียนสามารถนำเสนอและให้รายละเอียดในการแสดงถึงความรู้
|
||
6) สรุปความและจดบันทึก ()
|
หมายถึง
การส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ข้อมูลและจัดการกับข้อมมูลโดยการสรุปสาระสำคัญ
และข้อมูลสนับสนุน
|
||
7) มอบหมายงานและปฏิบัติ ()
|
หมายถึง
การให้โอกาสผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติ, ทบทวนและประยุกต์ใช้ความรู้
การสร้างเสริมให้นักเรียนได้เข้าถึงระดับของความเชี่ยวชาญในทักษะหรือกระบวนการที่คาดหวัง
|
||
8) ระบุความเหมือนความแตกต่าง ()
|
หมายถึง
การจัดการเรียนร็ที่ส่งเสริมนักเรียนเข้าใจและสามารถใช้ความรู้ กระบวนการทางปัญญาในการระบุหรือจำแนกสิ่งที่เหมือนและแตกต่าง
|
||
9) สร้างและทดสอบสมมติฐาน ()
|
หมายถึง
การจัดการเรียนร็ที่ส่งเสริมนักเรียนเข้าใจและสามารถใช้ความรู้และกระบวนการทางปัญญาในการสร้างและทดสอบสมมติฐาน
|
Marzano,
R., & Kendall, J. (2001) นำเสนอระบบอภิปัญญา
เป็นระบบที่มุ่งสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง ที่มุ่งให้ผู้เรียนควบคุม
กำกับ ดูแล การปฏิบัติภาระงานชิ้นงาน ตามเป้าหมายที่กำหนด
รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ และข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การติดตามดูแลปรับปรุง
ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์
วิธีการต่างๆตามความจำเป็นและเหมาะสมให้ภาระงานชิ้นงานนั้นลุล่วงตามภารกิจ ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ครู
แนวคิดเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายในด้าน ตามที่มาร์ซาโน(Marzano Taxonomy) ได้นำเสนอไว้เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ Blooms Taxonomy และ Marzano Taxonomy) ได้ดังนี้
ตารางที่
9
การเปรียบเทียบ Bloom’s Taxonomy และ Marzano
Taxonomy)
Bloom’s
|
Bloom’s
Revised
|
|
|
|
|
|
|
|
|
Evaluation
|
Creating
|
Synthesis
|
Evaluation
|
Analysis
|
Analyzing
|
|
|
|
|
|
|
Marzano
Taxonomy
|
|||
Self
– System : M
|
|||
|
|
|
|
|
|||
|
|
|
|
|
|||
|
|
||
|
|
||
|
|
||
|
|
||
ที่มา
:
สุเทพ อ่วมเจริญ .วัชรา เล่าเรียนดี
และประเสริฐ มงคล
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อสร้างความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร 2559 :35.
จากตารางเปรียบเทียบสรุปว่า
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ตาม Bloom Taxonomy ด้าน cognitive
domain นั้น Marzano Taxonomy เรียกว่า cognitive
system อีก 2 ระบบที่เพิ่มขึ้นไม่พบใน Bloom
Taxonomy คือ Meta-cognitive system และ self-system
มาร์ซาโน ได้อ้างถึง แนวคิดของ Sternberg (Marzano, 1998: 54
-57 ) กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญของระบบอภิปัญญาที่ใช้ใน การจัดการตนเอง
(organizing) การกำกับติดตาม (Monitoring) การประเมิน (Evaluation)และการควบคุม (regulating)
ซึ่งองค์ประกอบของการรู้คิดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
ได้แก่ มาร์ซาโน กล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญของระบบอภิปัญญาที่ใช้ในการจัดการตนเอง (organizing
) การกำกับติดตาม (Monitoring) การประเมิน (Evaluating)
และการควบคุม (regulating) โดยแบ่งออกเป็น 4
กลุ่มได้แก่
1.
การระบุจุดหมายเฉพาะเจาะจง (Goal
specification) คือ การกำหนดจุดหมายของชิ้นงาน (the job of
the goal) ที่ผู้เรียนตัดสินใจเลือกปฏิบัติ โดยมีการกำหนดผลสำเร็จของงานในแต่ละขั้น
2.
การระบุกระบวนการที่ชัดเจน (Process
specification ) คือการกำหนดความรู้ ทักษะหรือกลวิธี
ขั้นตอน/กระบวนการเพื่อการบรรลุจุดหมายของชิ้นงานอย่างเหมาะสม
3.
การกำกับดูแลกระบวนการ (Process
monitoring) คือ การติดตามควบคุมแต่ละกระบวนการแต่ละขั้นตอนในการนำทักษะ
กลวิธีไปใช้สร้างสรรค์งานชิ้นงานอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพโดยใช้เวลาและทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
4.
การกำกับดูแลการปฏิบัติของตน (Disposition
monitoring ) คือ การเป็นการควบคุมตนเองในการปฏิบัติงานที่เหมาะสม
เพื่อให้งานเกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ เช่น
การให้ความสำคัญกับงานมุ่งเน้นผลผลิตที่มีความถูกต้อง แม่นยำ ความเป็นระบบ
มีแรงจูงใจในการทํางาน มีส่วนร่วมในการทำงาน ฯลฯ
แนวคิดเกี่ยวกับระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive
system) ของ Marzano กล่าวสรุปองค์ประกอบของระบบอภิปัญญาได้เป็น
4 กลุ่มคือ 1) การกำหนดจุดหมายของการเรียนรู้
(Specifying Learning Goals) 2) การกำกับติดตามการปฏิบัติของกระบวนการทางปัญญา
(Monitoring the Execution of Knowledge) 3) การดูแลติดตามความชัดเจน
(Monitoring Clarity) และ 4) การกำกับติดตามให้เกิดความถูกต้อง
(Monitoring Accuracy)
แนวคิดการกำหนดวัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานของกระบวนการคิดร่วมกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดของผู้เรียน
ซึ่งมิติใหม่ทางการศึกษาที่มาร์ซาโน(Marzano) พัฒนาขึ้นประกอบด้วย
3 ระบบได้แก่ 1) Self-System คือ
ระบบที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อในตนเองในการปฏิบัติภาระงานชิ้นงานด้วยความเต็มใจตั้งใจมีความสุข
และมีความมุ่งหวังให้งานเกิดความสำเร็จ 2 ) Meta-cognitive คือ
ระบบการควบคุมตนเองให้ปฏิบัติภาระงานชิ้นงาน ที่เกิดขึ้นให้บรรลุผล
ด้วยการการกำหนดจุดหมายของการเรียนรู้ (Specifying Learning Goals) การดูแลติดตามการปฏิบัติของกระบวนการทางปัญญา (Monitoring the
Execution of Knowledge) การดูแลติดตามความชัดเจน (Clarity) และการดูแลติดตามให้เกิดความถูกต้อง (Monitoring Accuracy) และ 3 ) Cognitive System คือ กระบวนการทางปัญญา (Mental
Process) ที่จะปฏิบัติภาระงานชิ้นงานสำเร็จลุล่วงไปได้
ซึ่งระบบอภิปัญญา (Meta-cognitive) ถือเป็นระบบที่มุ่งสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบแนะนำตนเอง
(Self - Directed Learning) ที่มุ่งให้ผู้เรียนควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติภาระงานชิ้นงาน
ตามจุดหมายที่กำหนด รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์
ยุทธวิธีและข้อมูลที่เกี่ยวข้องตลอดจนการติดตามดูแลปรับปรุงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์วิธีการต่างๆ
ตามความจำเป็นและเหมาะสมให้ภาระงานชิ้นงานนั้นลุล่วงตามภารกิจ
ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของผู้สอน
การกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายมี 2 ลักษณะคือ
จุดมุ่งหมาย(goals) ที่มีลักษณะกว้างๆซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายที่ไม่สามารถวัดหรือ
สังเกตได้ทันที
จุดมุ่งหมายที่มีลักษณะเฉพาะ สังเกตเห็นพฤติกรรมหรือการปฏิบัติของผู้เรียนได้
บางครั้งเรียกว่าจุดประสงค์การเรียนรู้ (performance objective) จำแนกออกเป็น 2 ประเภทใหญ่คือ
จุดประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพ (potential performance) จุดประสงค์เพื่อพัฒนาบุคลิกภาพ
(typical performance)
การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจนสื่อความหมายให้เข้าใจในเพียงหนึ่งเดียว
การระบุสมรรถภาพให้ชัดเจน
ควรได้แสดงให้เห็นว่าเมื่อเรียนรู้จบรายวิชาแล้วมีความสามารถที่จะทำอะไรได้
โดยที่เอก่อนเรียนรู้รายวิชานั้นๆยังไม่สามารถทำได้
การเชื่อมโยงอดีตกับอนาคต
ถ้าเป็นไปได้เน้นย้ำมโนทัศน์จากชั้นเรียนที่ผ่านมา
พยายามเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์กับมโนทัศน์ที่จะเรียนในอนาคต
จุดมุ่งหมายกับการทดสอบ
ถ้าเราเขียนจุดมุ่งหมายได้ชัดเจนและครอบคลุมเนื้อหาจะทำให้สร้างแบบทดสอบได้ง่าย
ยังไม่สามารถกำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนที่จะให้ได้เป็นอย่างดี
การเขียนจุดมุ่งหมายตามหลัก
ABCD
A
แทน Audience หมายถึง ผู้เรียนที่แสดงพฤติกรรมตามจุดมุ่งหมายและ
กำหนดเวลา
B
แทน Behavior หมายถึง
พฤติกรรมที่คาดหวังจากผู้เรียนโดยเน้นพฤติกรรมที่
สังเกตได้
C
แทน Conditions หมายถึง
สภาพการณ์หรือเงื่อนไขที่ผู้เรียนจะต้องปฏิบัติ
หรือแสดงพฤติกรรมที่สามารถวัดได้
D
แทน Degree หมายถึง
ระดับหรือเกณฑ์การวัดที่กำหนดขึ้นมาให้ผู้เรียนปฏิบัติ
การเขียนจุดมุ่งหมายตามหลัก SMART
1.
S - Sensible and Specific จุดมุ่งหมายต้องเฉพาะเจาะจงชัดเจน
จุดมุ่งหมายการเรียนการสอนที่ดีต้องมีความเป็นไปได้และชี้เฉพาะ
2.
M - Measurable จุดมุ่งหมายต้องสามารถวัดผลได้
ซึ่งช่วยให้ได้ข้อมูลว่าผล
การดำเนินการเป็นอย่างไร
ประสบความสำเร็จหรือไม่
3.
A - Attainable and Assignable จุดมุ่งหมายต้องเป็นไปได้ และผู้เรียนหรือ
ผู้ปฏิบัตินำไปปฏิบัติได้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
4.
R- Reasonable and Realistic จุดมุ่งหมายต้องมีความเป็นเหตุเป็นผลกัน
และเป็นไปได้จริง
5.
T - Time Available จุดมุ่งหมายต้องมีกำหนดเวลาเป็นไปได้ตามเวลา
เมื่อ
เวลาเปลี่ยนไปหรือสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปได้
จุดมุ่งหมายก็ควรเปลี่ยนไปด้วย
จุดมุ่งหมายการศึกษาอิงมาตรฐาน
Harris and Carr (1996 รุ่งนภา นุตราวงศ์, ผู้แปล 2545 : 14-16 ) ให้คำจำกัดความของมาตรฐานเนื้อหา ( content
standard) และมาตรฐานการปฏิบัติของผู้เรียน ดังนี้
มาตรฐานเนื้อหา (content
standard) ระบุองค์ความรู้ที่สำคัญ ทักษะและพัฒนาการด้านจิตใจ
ดังนี้
1. จุดองค์ความรู้ที่สำคัญ (essential
knowledge) ระบุถึง แนวความคิด ประเด็นปัญหา ทางเลือก กฎเกณฑ์
และความคิดรวบยอดในวิทยาการต่างๆที่สำคัญตัวอย่างเช่น
ผู้เรียนสามารถอธิบายช่วงเวลา และเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์
และวิเคราะห์ช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงในท้องถิ่น ชุมชน
ในประเทศและภูมิและในภูมิภาคต่างๆของโลก
ผู้เรียนสามารถเข้าใจประวัติความเป็นมา
และโครงสร้างของภาษาอังกฤษ (ประโยค ย่อหน้า บทความ )
ผู้เรียนสามารถเข้าใจธรรมชาติและการทํางานของเซลล์ ทั้งการทำงานเป็นเอกเทศและการทำงานร่วมกันเป็นระบบที่ซับซ้อน
2 . ทักษะ (skill) เป็นวิธีการคิด การทำงาน การสื่อสาร และการศึกษาสำรวจ ตัวอย่าง
ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการบรรยาย
และอธิบายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ
ใช้ระเบียบวิธีการทางสถิติในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตีความ เปรียบเทียบ
และสรุปผลเกี่ยวกับเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆในสังคม
3 . พัฒนาการด้านจิตใจ (Habits
of mind)
การเรียนรู้และประสบการณ์จากการศึกษาทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน
มีผลต่อพัฒนาการด้านจิตใจของผู้เรียน รวมถึงกระบวนการในการศึกษาค้นคว้าการแสดงข้อมูล
หลักฐานสนับสนุนความคิด การอภิปรายโต้แย้ง และความพึงพอใจในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ตัวอย่าง
ผู้เรียนสามารถประเมินการเรียนรู้ของตนเอง
โดยการสร้าง เกณฑ์เพื่อใช้ประเมินงานที่มีคุณภาพ
ผู้เรียนสามารถแสดงออกถึงความสามารถในการร่วมทำงานกับผู้อื่น
การเป็นผู้นำ และความมั่นคงในตนเอง
มาตรฐานการปฏิบัติของผู้เรียน
มาตรฐานการปฏิบัติ (student performance
standards) จะบอกถึงคุณภาพ
โดยที่มาตรฐานเนื้อหาจะระบุถึงสิ่งใดที่ผู้เรียนควรรู้
และทักษะใดที่ผู้เรียนควรทำได้
มาตรฐานการปฏิบัติจะบอกถึงระดับคุณภาพและระดับที่ผู้เรียนต้องรู้หรือต้องทำสิ่งนั้นได้
ตัวอย่าง
กรณีที่มาตรฐานเนื้อหาระบุว่า
ผู้เรียนเรียนรู้และเข้าใจข้อมูลจากสื่อ ภาพ และบทอ่านจากสื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย
มาตรฐานการปฏิบัติ
อาจจะระบุว่า ผู้เรียนควรอ่านหนังสืออย่างน้อยที่สุด 25 เล่มต่อปี
เลือกอ่านบทอ่านที่มีคุณภาพทั้งที่เป็นเรื่องอมตะ และเรื่องราวที่ทันสมัย
จากหนังสือวรรณกรรมสำหรับเด็ก หรือจากแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น จาก นิตยสาร
หนังสือพิมพ์ หนังสือเรียน และสื่อเทคโนโลยี
Wiggins (1994 )
จัดกลุ่มมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ 4 กลุ่ม คือ
1.
มาตรฐานผลลัพธ์หรือผลกระทบ (Impact) เป็นมาตรฐานที่ระบุผลที่ต้องการจากการปฏิบัติงานใดงานหนึ่งของผู้เรียน
เช่น กำหนดให้ผู้เรียนกล่าวสุนทรพจน์เพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้ฟัง
หรือให้ผู้เรียนเขียนสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดเพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือให้ผู้เรียนใช้ความรู้ทางภูมิศาสตร์ในการวางแผนอนาคต เป็นต้น
2. มาตรฐานกระบวนการ (Process)
เป็นมาตรฐานที่สะท้อนยุทธวิธี เทคนิค วิธีการที่เหมาะสมที่ใช้ในการปฏิบัติงาน เช่น
มาตรฐานที่กำหนดให้ผู้เรียนกล่าวสุนทรพจน์อย่างชัดเจน
หรือให้ผู้เรียนเขียนสื่อสารได้อย่างสละสลวยสัมพันธ์กัน
หรือให้ผู้เรียนใช้กระบวนการที่เหมาะสมในการสร้างหรือปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์
3. มาตรฐานเนื้อหา (content) เป็นมาตรฐานที่ระบุเนื้อหาสาระ
ความคิดรวบยอด แนวความคิดและข้อมูลต่างๆ เช่น
ผู้เรียนรู้สมบัติของสสารมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย
และความต้องการของตลาด เป็นต้น
4. มาตรฐานที่แสดงกฎหรือรูปแบบ
(Rule or from) เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวกับสูตร
กฎเกณฑ์ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะ ปริมาตร ปริมาณ อัตราส่วน ตัวอย่าง
ผู้เรียนสร้างกราฟซึ่งมีข้อมูลกำกับและใช้สีได้อย่างถูกต้อง
มาตรฐานนี้เกี่ยวข้องกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น
ให้ผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องมือสื่อสารต่างๆ
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ
การกำหนดมาตรฐานในหน่วยการเรียนให้มาจากหลายมาตรฐาน
จึงจะช่วยให้กิจกรรมการเรียนการสอน
และการประเมินมีความครอบคลุมยิ่งขึ้นการกำหนดมาตรฐานที่เป็นกระบวนการก็จะไม่มีความหมายหากไม่มีเนื้อหา
หรือการกำหนดมาตรฐานที่มีเนื้อหาเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ประโยชน์แก่ผู้เรียนเท่าที่ควร
หากไม่มีการนำกระบวนการนำไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆ
การวางแผนจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้
Joyce and We'll, (1996 :334) อ้างว่า มีงานวิจัยจำนวนไม่น้อยที่ชี้ให้เห็นว่า
การสอนมุ่งเน้นการให้ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง
จะช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกว่ามีบทบาทในการเรียน
ทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจในการเรียนรู้และช่วยให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียน
การเรียนการสอน โดยจะสาระและวิธี การให้ผู้เรียนอย่างดีทั้งทางด้านเนื้อหา ความรู้
และการให้ผู้เรียนใช้เวลาเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ (academic learning) เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนมากที่สุด
ผู้เรียนมีจิตใจจดจ่อกับสิ่งที่เรียนและช่วยให้ผู้เรียนถึง 80%
ประสบความสำเร็จในการเรียน นอกจากนั้นยังพบว่า
บรรยากาศการเรียนที่ไม่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียนสามารถสกัดกั้นความสำเร็จของผู้เรียนได้
ดังนั้น ผู้สอนจึงจำเป็นต้องระมัดระวัง ไม่ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกในทางลบ
เช่น การดุด่าว่ากล่าว แสดงความไม่พอใจ หรือวิพากษ์วิจารณ์ผู้เรียน
การเรียนการสอนโดยตรง
การเรียนการสอนโดยตรง
ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญสำคัญ 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นนำ
1.1 ผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์ของบทเรียน
และระดับการเรียนรู้หรือพฤติกรรมการเรียนรู้ที่คาดหวังแก่ผู้เรียน
1.2 ผู้สอนชี้แจงสาระของบทเรียน และความสัมพันธ์กับความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอย่างคร่าวๆ
1.3
ผู้สอนชี้แจงกระบวนการเรียนรู้
และหน้าที่รับผิดชอบของผู้เรียนในการเรียนแต่ละขั้นตอน
ขั้นที่ 2 ขั้นนำเสนอบทเรียน
2.1 หากเป็นการนำเสนอเนื้อหาสาระ ข้อความรู้
หรือมโนทัศน์ ผู้สอนควรกลั่นกรองและสกัดคุณสมบัติเฉพาะของมโนทัศน์เหล่านั้น
และนำเสนออย่างชัดเจน พร้อมทั้งอธิบายและยกตัวอย่างประกอบให้ผู้เรียนเข้าใจ
ต่อไปจึงสรุปคำนิยามของมโนทัศน์เหล่านั้น
2.2
ตรวจสอบว่าผู้เรียนมีความเข้าใจตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติ
หากผู้เรียนยังไม่เข้าใจ ต้องสอนซ่อมเสริมให้เข้าใจก่อน
ขั้นที่ 3 ขั้นปฏิบัติตามแบบ
(structured
practice)
ผู้สอนปฏิบัติให้ผู้เรียนดูเป็นตัวอย่าง
ผู้เรียนปฏิบัติตาม ผู้สอนให้เข้ามูลป้อนกลับ
ให้การเสริมแรงหรือแก้ไขข้อผิดพลาดของผู้เรียน
ขั้นที่ 4 ขั้นฝึกปฏิบัติภายใต้การกำกับของผู้ชี้แนะ
(guided
practice)
ผู้เรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
ผู้โดยผู้สอนคอยดูแลอยู่ห่างๆ
ผู้สอนจะสามารถประเมินการเรียนรู้และความสามารถของผู้เรียนได้จากความสำเร็จและความผิดพลาดของการปฏิบัติของผู้เรียนและช่วยเหลือผู้เรียน
โดยให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ
ขั้นที่ 5
การฝึกปฏิบัติอย่างอิสระ (independent
practice)
หลังจากที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติตามขั้นที่ 4
ได้ถูกต้องประมาณ 85-90 % แล้ว ผู้สอนควรปล่อยให้ผู้เรียนปฏิบัติต่อไปอย่างอิสระ
เพื่อช่วยให้เกิดความชำนาญ และการเรียนรู้อยู่คงทน
ผู้สอนไม่จำเป็นต้องให้ข้อมูลป้อนกลับในทันที สามารถให้ภายหลังได้
การฝึกในขั้นนี้ไม่ควรทำติดต่อกันในครั้งเดียว ควรมีการฝึกเป็นระยะระยะ
เพื่อช่วยให้การเรียนรู้อยู่คงทนนานขึ้น
ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนทางตรง
การเรียนการสอนแบบนี้ เป็นไปตามลำดับขั้นตอน
ตรงไปตรงมา ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งทางด้านพุทธิพิสัย
และทักษะพิสัยได้เร็วและได้มากในเวลาจำกัด ไม่สับสน
ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติตามความสามารถของตนจนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ ทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน
และมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง
สรุป
การสอนโดยตรงโดยทั่วไปมี 3 ขั้นตอน ได้แก่
1 . การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
2 . การนำเสนอข้อมูลใหม่
3 . การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประยุกต์ใช้
1 . การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
2 . การนำเสนอข้อมูลใหม่
3 . การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประยุกต์ใช้
ขั้นที่
1 การสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียน
สร้างแรงจูงใจผู้เรียน ให้มีแรงจูงใจเพียงพอที่จะมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้ มี
สร้างแรงจูงใจผู้เรียน ให้มีแรงจูงใจเพียงพอที่จะมีความปรารถนาที่จะเรียนรู้ มี
ส่วนร่วมในการเรียนรู้
และมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติภาระงานที่ได้รับมอบหมายจนกระทั่งงานเสร็จสิ้น
ขั้นที่ 2 การนำเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน
การอธิบาย พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อนคำถามถามทีละขั้นตอน
การสาธิต การเรียนการสอนที่ซับซ้อน ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด ด้วยมีเครื่องมือจำกัดและคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน
ตำรา ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
แบบฝึกหัดสําหรับผู้เรียน การฝึกเขียนการจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
โสตทัศนูปกรณ์ สร้างความน่าสนใจและแม่นยำในการนำเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน
ขั้นที่ 3 การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประยุกต์ใช้
สาระเบื้องต้นคือ การยืนยันความถูกต้องเพื่อความแน่ใจ และการให้แนวคิดหรือข้อเสนอแนะ
ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทำงานเป็นรายบุคคลแม้ว่าการทำงานเป็นกลุ่มจะเป็นที่ยอมรับก็ตาม
โอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับได้แก่: การตอบคำถาม การแก้ปัญหาการสร้างโครงสร้าง ต้นแบบ วาดแผนภูมิ สาธิตทักษะ เป็นต้น
การอธิบาย พยายามใช้การปฏิสัมพันธ์และการป้อนคำถามถามทีละขั้นตอน
การสาธิต การเรียนการสอนที่ซับซ้อน ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด ด้วยมีเครื่องมือจำกัดและคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้เรียน
ตำรา ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า
แบบฝึกหัดสําหรับผู้เรียน การฝึกเขียนการจัดระบบระเบียบและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ
โสตทัศนูปกรณ์ สร้างความน่าสนใจและแม่นยำในการนำเสนอข้อมูลใหม่ให้กับผู้เรียน
ขั้นที่ 3 การเสนอแนะแนวทางปฏิบัติให้ข้อมูลย้อนกลับ และการประยุกต์ใช้
สาระเบื้องต้นคือ การยืนยันความถูกต้องเพื่อความแน่ใจ และการให้แนวคิดหรือข้อเสนอแนะ
ผู้เรียนมีแนวโน้มที่จะต้องทำงานเป็นรายบุคคลแม้ว่าการทำงานเป็นกลุ่มจะเป็นที่ยอมรับก็ตาม
โอกาสที่ผู้เรียนจะได้รับได้แก่: การตอบคำถาม การแก้ปัญหาการสร้างโครงสร้าง ต้นแบบ วาดแผนภูมิ สาธิตทักษะ เป็นต้น
การเรียนการสอนตามแนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
(Constructivist
Methods : CLM) มีพื้นฐานแนวคิดที่ว่า
ผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด ก็ต่อเมื่อได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
จะให้โอกาสผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้จากความรู้ที่มาก่อน
เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่และความเข้าใจจากประสบการณ์จริง
การเรียนรู้จากวิธีการนี้ ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้สำรวจถึงความเป็นไปได้
คิดวิธีแก้ปัญหา ทดสอบแนวคิดใหม่ๆ การร่วมมือกับผู้อื่น การคิดทบทวนปัญหา
และท้ายที่สุดคือเสนอวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่ตนเองคิดค้นขึ้น
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
เชื่อว่าความรู้นั้นเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละคนและสิ่งแวดล้อม
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเป็นการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสท์
(constructivism)
ที่เปลี่ยนแนวคิดในการจัดการศึกษาตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism)
ซึ่งระบุจุดประสงค์ (Domains of objective) ระดับความรู้
(Level of Knowledge) และการให้แรงเสริม (Reinforcement)
เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่เน้นทฤษฎีความรู้ความคิด (Cognitive
theory) ที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ของตนเอง (Construct
their own knowledge) จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Gammon & Collage 2001:1)
ที่เป็นผลมาจากประสบการณ์และระเบียบแบบแผนทางความคิดของผู้เรียนแต่ละคน การเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์
มุ่งเตรียมผู้เรียนให้สามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่คลุมเครือ
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบคอนสตรัคติวิสต์สนใจศึกษากระบวนการเรียนรู้ด้วยการกระทำของตนเอง
เมื่อเกิดปัญหาหรือความขัดแย้งทางปัญญาขึ้นบุคคลจะใช้โครงสร้างทางปัญญา (cognitive
structure) ที่มีอยู่เดิมทำปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
หรือเพื่อนๆที่อยู่รอบข้าง
ความขัดแย้งทางปัญญาจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการต่อไตร่ตรอง (reflection) อันเป็นกิจกรรมของการตรวจสอบ
และปรับเปลี่ยนสมมติฐานทางความคิดด้วยเหตุและผล
ซึ่งนำไปสู่การสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญาต่อไป
การจัดการเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
การเรียนรู้แบบสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
(Constructivist
Methods : CLM) เชื่อว่า
ความรู้นั้นเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละคนและสิ่งแวดล้อม
ผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จะให้โอกาสผู้เรียนในการสร้างองค์ความรู้จากความรู้ที่มาก่อน
เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่และความเข้าใจจากประสบการณ์จริง
ในการเรียนรู้ผู้เรียนจะได้รับการส่งเสริมให้สำรวจถึงความเป็นไปได้วิธีคิดแก้ปัญหา
ทดสอบแนวคิดใหม่ๆ การร่วมมือกับผู้อื่น การคิดทบทวนปัญหา
และท้ายที่สุดคือเสนอวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดที่ตนเองคิดค้นขึ้น
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการสร้างความต่อเนื่องระหว่างข้อมูลสารสนเทศใหม่กับความรู้เดิม
การเรียนรู้เป็นผลของการผลิตหรือสร้างสรรค์ทางปัญญา
มนุษย์จะเรียนรู้ได้อย่างดีที่สุด ถ้าหากได้ลงมือสร้างความหมายหรือความเข้าใจของตนด้วยตนเอง
การเรียนรู้เกิดขึ้น
เมื่อผู้เรียนสร้างโครงสร้างความรู้หรือความเข้าใจอย่างแข็งขันและมีเจตนามุ่งมั่นชัดเจน
โดยผู้เรียนจะสลายความขัดแย้ง (Conflict Resolution) หรือความไม่เข้ากันของแนวคิดหรือข้อมูลต่างๆโดยการพินิจพิเคราะห์คำอธิบายหรือเหตุผลเชิงทฤษฎี
มนุษย์สร้างโลกทัศน์ของตนเองขึ้นจากประสบการณ์จริงในเวลานั้น
และโครงสร้างความรู้เดิมที่อยู่ในรูป Schema มนุษย์ใช้ schema ในการตีความหรือสร้างความหมายให้กับประสบการณ์หรือข้อมูลใหม่
เมื่อมีการเรียนรู้เกิดขึ้น จะมีการปรับ Schema ให้มีความครอบคลุม
และมีประสิทธิภาพในการตีความที่สูงขึ้น
ในเรื่องกระบวนการเรียนการสอนผู้เรียนมีความสำคัญในฐานะผู้ที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุหรือปรากฏการณ์
โดยการสังเกตการวัดหรือประมาณการ การตีความ หรือการกระทำ
เพื่อให้เกิดความเข้าใจสร้างความคิดรวบยอดต่อสิ่งเหล่านั้น
ผู้เรียนเป็นผู้สร้างแนวทางแก้ปัญหาของตนเอง ดังนั้น กลุ่ม
จึงเห็นคุณค่าของความคิดริเริ่ม ความเป็นอิสระในความคิดของผู้เรียน
และให้ความสำคัญและอิทธิพลของบริบทการการเรียนรู้และภูมิหลังเกี่ยวกับความเชื่อและเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้
Murphy (1997: Online;
citing Glasersfield 1999) อธิบายสรุปได้ว่า
บุคคลสร้างความรู้โดยอาศัยการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและการสื่อสารในขณะที่ตนเองมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ทำให้มีการปรับเปลี่ยนหรือจัดระบบประสบการณ์เดิมของตนเองใหม่ ดังนั้นความรู้จึงไม่สามารถถ่ายทอดจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งได้
อธิบายการเรียนรู้ว่าไม่เกี่ยวกับสิ่งเร้าและการตอบสนอง
แต่การเรียนรู้เกิดจากการกำกับตนเอง (self - regulation) และการสร้างมโนทัศน์จากการสะท้อนความคิดซึ่งกันและกัน
เมอร์ฟี (Murphy 1997 :
Online) รวบรวมแนวคิดของนักการศึกษาต่างๆ
ในการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์สรุปได้ดังนี้
1.
กระตุ้นให้ผู้เรียนใช้มุมมองที่หลากหลายในการนำเสนอความหมายของมโนทัศน์
2.
ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมายการเรียนของตนเองหรือจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนเกิดเกิดเกิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
3.
ครูผู้สอนแสดงบทบาทเป็นผู้ชี้แนะ ผู้กำกับ ผู้ฝึกฝน
ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนของผู้เรียน
4. จัดบริบทของการเรียน เช่น
กิจกรรม โอกาส เครื่องมือ สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมวิธีการคิดและการกำกัดและรับรู้เกี่ยวกับตนเอง
5. ผู้เรียนมีบทบาทสำคัญ
ในการสร้างความรู้และกำกับการเรียนรู้ของตนเอง
6. จัดสถานการณ์การเรียน
สภาพแวดล้อม ทักษะ เนื้อหาและงานที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนตามสภาพที่เป็นจริง
7.
ใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิเพื่อยืนยันสภาพณการณ์ที่เป็นจริง
8. ส่งเสริมการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
ด้วยการเจรจาต่อรองทางสังคมและการเรียนรู้ร่วมกัน
9. พิจารณาความรู้เดิม
ความเชื่อและทัศนคติของนักเรียนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
10. ส่งเสริมการแก้ปัญหา
ทักษะการคิดระดับสูงและความเข้าใจเรื่องที่เรียนอย่างลึกซึ้ง
11.
นำความผิดพลาดความเชื่อที่ไม่ถูกต้องของนักเรียนมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
12.
ส่งเสริมให้นักเรียนค้นหาความรู้อย่างอิสระ
วางแผนและการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ของตนเอง
13.
ให้นักเรียนได้เรียนรู้งานที่ซับซ้อน ทักษะและความรู้ที่จำเป็นจากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง
14.
ส่งเสริมให้นักเรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน 15.
อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของนักเรียนโดยให้คำแนะนำหรือให้ทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นต้น
16.
วัดผลการเรียนรู้ของนักเรียนตามสภาพที่เป็นจริงขณะดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนจากแนวคิดของนักการศึกษาดังกล่าว
Gammon & Collateral (2001:2)
ได้เสนอแนวคิดในการออกแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist
learning design) ว่าประกอบด้วย 6 ส่วนที่สำคัญได้แก่ สถานการณ์ (Situation)
การจัดกลุ่ม (Grouping) การเชื่อมโยง (Bridge)
การซักถาม (Question) การจัดแสดงผลงาน (Exhibit)
และการสะท้อนความรู้สึกในการปฏิบัติงาน (Reflection) โดยในการออกแบบครั้งนี้
เพื่อกระตุ้นให้ครูผู้สอนวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และสะท้อนกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน
(Reflection about the process of student learning) กล่าวคือ
ครูจะจัดสถานการณ์เพื่อให้นักเรียนอธิบายเรื่องกระบวนการในการจัดกลุ่ม (Grouping)
นักเรียนหรือสื่ออุปกรณ์
สำหรับใช้ในการอธิบายสถานการณ์พยายามสร้างความเชื่อมโยง (Bridge) ระหว่างสิ่งที่เป็นความรู้เดิมของนักเรียนกับสิ่งที่นักเรียนต้องการจะเรียนรู้
สรุปคุณลักษณะของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสท์
มีดังนี้
1. ผู้เรียนสร้างความรู้
ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง
2.
การเรียนรู้สิ่งใหม่ขึ้นกับความรู้เดิมและความเข้าใจที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3.
การมีปฏิสัมพันธ์ต่อสังคมมีความสำคัญต่อการเรียนรู้
4. การจัดสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่คล้ายคลึงกับชีวิตจริงทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
เป็นทฤษฎีการเรียนรู้
ดังนั้นตัวทฤษฎีเองไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอน
ไม่มีลำดับขั้นการสอน henrique
(1997) ได้ศึกษาทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และตีความทฤษฎีนี้
โดยพิจารณาจากมุมมองด้านปรัชญา ด้านจิตวิทยา
ด้านยานฤทธิ์ยาและด้านการเรียนการสอนและจำแนกทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ได้ 4 แนวคิด
ได้แก่
1. แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
แบบกระบวนการทางสมองในการประมวลผล (information processing approach) หรือแนวคิดแบบการประมวลผลข้อมูลนั้น
ใช้พื้นฐานที่ว่านักเรียนเรียนรู้สิ่งที่เป็นความจริง
ไม่ว่าจะเรียนจากครูหรือการได้รับประสบการณ์เรียนรู้
โดยการประมวลผลข้อมูลนี้ใช้หลักว่ามีความจริงเป็นกลางที่สามารถวัดและทำเป็นแบบได้
ตามหลักปรัชญาของพอสิทิวิสต์ (positivist philosophical tradition)
2.
แนวคิดอินเตอร์เอกทีฟคอนสตัคติวิสท์ (interactive constructivist approach) แนวคิดแบบอินเทอแรกทิฟคอนสตรักติวิสต์
เป็นมุมมองที่ว่านักเรียนสร้างความรู้และเรียนรู้เมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งที่จับต้องได้และผู้คนรอบข้าง
3.
แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เชิงสังคม (social constructivist approach) แนวคิดแบบโซชัลคันสตรักติวิสต์แนวคิดนี้ใช้หลักการว่าความรู้เกิดขึ้นในระดับชุมชนเมื่อผู้คนที่อยู่ในชุมชนนั้นมีปฏิสัมพันธ์กัน
4.
แนวคิดเรดิคอลคอนสตรัคติวิสท์ (radical constructivist approach) แนวคิดแบบเรดิคอลคอนสตรัคติวิสต์
แนวคิดนี้เชื่อว่าความคิดมาหลากหลายล้วนแต่มีทางที่จะเป็นจริงได้
แนวคิดนี้จึงบอกว่าไม่มีความคิดใดเป็นจริงมากกว่ากัน
แนวคิดคอนสตรัคติวิสท์ ทั้ง
4 แนวคิด มีข้อตกลงเบื้องต้นที่อยู่ภายใต้ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เหมือนกัน สรุปได้ 3
ประการคือ
1. การเรียนรู้
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใต้ตัวบุคคล ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนรู้ของตน
ไม่มีบุคคลใดสามารถเรียนรู้แทนกันได้
2.
ความรู้ความเข้าใจและความเชื่อที่มีอยู่เดิมส่งผลต่อการเรียนรู้
3. ความขัดแย้งทางความคิดเพื่ออำนวยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้
เพื่อลดความขัดแย้งทางความคิด
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
แสดงให้เห็นจุดเปลี่ยนทางการทางด้านการศึกษา กล่าวคือ
เปลี่ยนจากรูปแบบการศึกษาที่อยู่บนพื้นฐานตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) ซึ่งเน้นในเรื่องเชาว์ปัญญา
(Intelligence) จุดประสงค์ (Domains of objective) ระดับความรู้ (Level of Knowledge) และการให้แรงเสริม
(Reinforcement) มาเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่เน้นทฤษฎีความรู้ความคิด
(Cognitive theory) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
(Constructivist learning) ที่มีความเชื่อที่ว่าผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ของตนเอง
จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (Gammon & Collateral 2001 : 1)
ข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
1. ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้เมื่อทำกิจกรรมการเรียนรู้
2. ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ หรือสร้างความหมาย เมื่อ
1. ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้เมื่อทำกิจกรรมการเรียนรู้
2. ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ หรือสร้างความหมาย เมื่อ
ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรม
3. ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้เกี่ยวกับสังคม เมื่อต้องการนำความหมายที่ตนเองสร้างขึ้นไป มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
การเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองสรุปได้ 3 ขั้น
3. ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้เกี่ยวกับสังคม เมื่อต้องการนำความหมายที่ตนเองสร้างขึ้นไป มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
การเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองสรุปได้ 3 ขั้น
(http://www2.southeastern.edu/Academics/Faculty/rhancock/theory.htm#CM)
ดังนี้ :
1. การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง
2. การระบุการได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
3. การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
1. การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง
2. การระบุการได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
3. การยืนยันความถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
ขั้นตอนที่
1 การทำความรู้ที่มีอยู่ให้กระจ่างแจ้ง
ผู้เรียนแต่ละคนต่างมีความคิดดั้งเดิมและมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกหรือปรับเปลี่ยนมโนทัศน์
(แนวคิด) ดังกล่าว ความคิดของผู้เรียนนั้นท้าทายความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง
ชักชวนให้ผู้เรียนเปลี่ยนแนวคิดและยอมรับความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้อง
กลวิธีสำหรับขั้นตอนที่ 1
สัมภาษณ์หรืออภิปรายกลุ่ม
แบ่งกลุ่มข้อมูลหรือจำแนกข้อมูล
แบ่งกลุ่มข้อมูล
เรียงลำดับข้อมูลตามลักษณะบางประการ (เช่น มวลสาร)
จำแนกข้อมูล
จัดกลุ่มวัตถุโดยใช้ลักษณะทางคุณภาพหรือปริมาณ (สี รูปร่าง ขนาด)
แผนที่ความคิดหรือแผนมโนทัศน์
ระดมสมองที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหลัก
เหตุการณ์ที่ขัดแย้ง
เหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผล
ขั้นตอนที่
2 การระบุ การได้รับและการเข้าใจข้อมูลใหม่
การวางแผนแบบร่วมกัน
การวางแผนเครื่องมือที่สร้างแรงจูงใจที่เข้มแข็ง
ผู้เรียนได้รับข้อมูลว่าจะต้องเรียนรู้อะไรจากหัวข้อบ้าง
อภิปรายเป็นกลุ่มเกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการเรียนรู้
ให้ขอบข่ายสาระสำคัญในเรื่องที่เรียนรู้
กลวิธีสำหรับขั้นตอนที่ 2
นักจัดการขั้นสูง (advance organizers) ข้อมูลใหม่เชื่อมโยงเข้ากับความรู้เก่าที่มีอยู่แล้วได้อย่างไร
อภิปัญญา (meta-cognition) ผู้เรียนกำกับติดตามการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ผู้เรียนเป็นผู้นำในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
เทคนิควิทยาศาสตร์ (techno-sciencing) ใช้กิจกรรมเป็นฐานประกอบคำอธิบายตัดสินใจด้วยตนเอง ปรัชญาส่วนบุคคล
การใช้ความคิดอุปมาอุปไมย ใช่แนวคิดที่คุ้นเคยนำแนวคิดแบบอุปมาอุปไมยมาใช้
ขั้นตอนที่
3 การยืนยันคำถูกต้องและการใช้ข้อมูลใหม่
ผู้เรียนได้รับข้อมูลเพื่อสร้างองค์ความรู้
ความรู้ใหม่ที่สร้างขึ้นของคนส่วนใหญ่สร้างขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ความรู้ถูกทำให้กระจ่างและยืนยันความถูกต้องเมื่อผู้เรียนนำความรู้ใหม่ไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์
ความรู้ได้รับจะถูกปรับแต่งตามข้อมูลย้อนกลับที่ได้รับ
กลวิธีสำหรับขั้นตอนที่ 3
·
การเรียนรู้แบบร่วมมือ
สร้างความเข้าใจและแสดงออกในรูปการใช้โมเดลช่วยในการสร้างความเข้าใจ
และยังสาธิตมโนทัศน์ของความเข้าใจ หลักการ
และกระบวนการที่เป็นเลิศเทคนิคที่ใช้ในการแสวงหาความรู้และการยืนยันความถูกต้องของความรู้
·
การทดลอง/การออกแบบและเทคโนโลยี ใช้สืบเสาะหาความรู้เป็นฐาน
·
วิธีการแบบบูรณาการ
สร้างความเชื่อมโยงระหว่างหัวข้อ คำถามและแนวคิดอื่นๆ
·
สาขาวิชา (แนวคิดหลัก)
การประยุกต์ใช้กับชีวิตจริง ช่วยเพิ่มความเชื่อมโยงสอดคล้องทฤษฎีและการปฏิบัติ
กลยุทธ์การสอนที่มีประสิทธิภาพตามแนวคิดของมาร์ซาโน
การตั้งจุดมุ่งหมายจุดประสงค์
( Setting
objectives) แนวทางการตั้งจุดประสงค์ มีดังนี้ 1)
ตั้งจุดประสงค์ให้ชัดเจนตามกฎเกณฑ์แต่ไม่ตายตัว 2
)สื่อสารจุดประสงค์ให้กับผู้เรียนและครอบครัวได้เข้าใจตรงกัน 3)
เชื่อมโยงจุดประสงค์การเรียนรู้กับสิ่งที่เรียนรู้เดิมและการเรียนรู้ใหม่ 4)
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการตั้งจุดประสงค์การเรียนรู้ของตนเอง
การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Providing Feedback) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติที่เกี่ยวกับจุดประสงค์การเรียนรู้และนำไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติและความเข้าใจ
ซึ่งแนวทางการให้ข้อมูลย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้ 1) ข้อมูลย้อนกลับจะต้องมีความถูกต้องและละเอียดในสิ่งที่ผู้เรียนต้องรู้และเป็นประโยชน์ต่อไป
2) การให้ข้อมูลย้อนกลับควรคำนึงถึงเวลาที่เหมาะสมและจำเป็น 3)
การให้ข้อมูลย้อนกลับควรมีเกณฑ์อ้างอิงชัดเจน 4)
ควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลย้อนกลับ
การให้การเสริมแรง (Reinforcing effort) มีวิธีการดังนี้
1) สอนนักเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมแรงและผลสัมฤทธิ์ 2)
แจ้งผู้เรียนให้ชัดเจนในวิธีการ กระบวนการในการให้แรงเสริม 3)
ถามผู้เรียนถึงผลที่เกิดจากการเสริมแรงสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
การให้การยอมรับ (Providing
Recognition) มีวิธีการดังนี้ 1) ส่งเสริม
เป้าหมายมุ่งเน้นการเป็นผู้รอบรู้ 2) ให้การยกย่อง
สำหรับสิ่งที่เป็นไปตามความคาดหรือทางในด้านการปฏิบัติและพฤติกรรม 3)
ใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปธรรม ในการแสดงการยอมรับ เป็นการให้รางวัล
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) มีวิธีการดังนี้ 1)
ควรยึดหลักของการมีปฏิสัมพันธ์ทางบวกและการรับผิดชอบในความสำเร็จส่วนบุคคล 2)
จัดเป็นกลุ่มเล็ก 3-5 คน 3) ใช้การเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างสอดคล้องและเป็นระบบ
การใช้การแนะนำและคำถาม (Cues and Questions) มีวิธีการดังนี้ 1) ใช้เฉพาะประเด็นที่สำคัญ 2) ให้คำแนะนำที่ชัดเจน 3)
ถามคำถามเชิงอนุมาน 4) ถามคำถามเชิงวิเคราะห์
การให้มโนทัศน์ล่วงหน้า (Advance Organizers) มีวิธีการดังนี้ 1) การใช้อธิบายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า 2)
ใช้การบรรยายในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า สามสายสรุปภาพรวมในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า
4 ใช้กราฟิกในการสร้างมโนทัศน์ล่วงหน้า
การใช้ภาษากายแสดงออก (Nolinguistic
Representations) มีวิธีการดังนี้ 1) ใช้กราฟิกในการนำเสนอ 2)
จัดกระทำหรือทำตัวแบบ 3) ใช้รูปแสดงความคิดนำเสนอ 4) สร้างรูปภาพ,สัญลักษณ์
สรุปแล้วจดบันทึก (Summarizing and note
taking) มีวิธีการดังนี้ 1) สอนนักเรียนให้รู้จัก วิธีการบันทึก
สรุป ที่มีประสิทธิภาพ 2) ใช้แบบฟอร์มการสรุป 3)
ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการบันทึกการสอนซึ่งกันและกัน
การให้การบ้าน (Assigning Homework) มีวิธีการดังนี้ 1) พัฒนาและสื่อสาร นโยบายการมอบหมายการบ้านของโรงเรียน
2) การออกแบบการบ้านที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ทางวิธีการ 3)
ให้ข้อมูลย้อนกลับในงานที่มอบหมาย
การให้ฝึกปฏิบัติ (Providing Practice) มีวิธีการดังนี้ 1) ต้องบอกถึงวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติอย่างชัดเจน 2)
การออกแบบการปฏิบัติที่เจาะจงและเวลาเหมาะสม 3 )ให้ทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับเนื้อหา
การบอกความเหมือนและความแตกต่าง
(Identifying
Similarity) มีวิธีการดังนี้ 1)
วิธีการบอกความเหมือนความแตกต่างที่หลากหลายวิธี 2 )
แนะนำนักเรียนให้มีส่วนร่วมในกระบวนการของการกำหนดความเหมือนความแตกต่าง 3 ) ให้คำแนะนำที่ช่วยให้นักเรียน
กำหนดความเหมือนความแตกต่างได้
การสร้างและทดสอบสมมติฐาน (Generating and testing
Hypotheses) มีวิธีการดังนี้ 1)
ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ในรูปแบบของการสร้างและทดสอบสมมติฐานที่หลากหลาย
2 )การและให้นักเรียนอธิบายสมมติฐานและข้อสรุปได้
สรุป
มิติใหม่อนุกรมวิธานจุดมุ่งหมายทางการศึกษาตามแนวคิด
Bloom's
Taxonomy และ Marzano's Taxonomy เป็นแนวทางให้นักศึกษาวิชาชีพครูสามารถจัดการเรียนรู้และจัดการชั้นเรียน
ด้วยการกำหนดจุดหมาย รวมถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ ยุทธวิธีและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ตลอดจนการติดตามดูแลปรับปรุงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์วิธีการต่างๆ
ตามความจำเป็นและเหมาะสม และให้นักศึกษาวิชาชีพครู
สามารถนำมาออกแบบและพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้
(การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน) ได้แนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม
Meta-cognition สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู
นักศึกษามีแนวทางในการพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการกำหนดจุดหมายในการเรียนรู้และกำกับตนเองให้ไปถึงจุดหมายดังกล่าว
อันเป็นประโยชน์โดยตรงกับการพัฒนาวิชาชีพครู
ตรวจสอบและทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น
การกำหนดจุดหมายการเรียนรู้ ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุสาระ
มาตรฐานและตัวชี้วัด
จากหลักสูตรที่ตรงกับสาขาวิชาเอกหรือกลุ่มสาระที่สนใจแล้วเขียนข้อความที่แสดงว่าผู้เรียนจะเรียนรู้อะไร
และสามารถทำอะไรได้ ข้อความที่เป็นความรู้ โดยการระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) ( เช่น ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เรื่อง...)
และข้อความที่เป็นการปฏิบัติ โดยการระบุทักษะ การปฏิบัติ หรือกระบวนการ (procedural
knowledge) ( เช่น ผู้เรียนสามารถที่จะปฏิบัติหรือกระทำเรื่อง...)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น