วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (backward design)


การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (backward design)

การออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (backward design) เป็นรูปแบบที่วิกกินส์และ แมคไทฮี (Wiggins & McTighe, 1998) พัฒนาขึ้น รูปแบบการออกแบบการเรียนการสอนนี้เริ่มจาก การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังซึ่งวิเคราะห์จากมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดจากหลักสูตรแกนกลาง ซึ่งเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน การกำหนดหลักฐานหรือชิ้นงานที่ใช้ในการวัดผลและประเมินผลว่าผู้เรียน บรรลุผลการเรียนรู้หรือไม่ จากนั้นจึงกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ในการพัฒนาผู้เรียน จะเห็นว่า กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับนั้นเริ่มจากจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเช่นเดียวกับ ไทเลอร์ แต่มีกระบวนการดำเนินการที่ย้อนศรกับการออกแบบของไทเลอร์
   สิ่งที่เป็นความแตกต่างของการออกแบบการเรียนการสอนรูปแบบไทเลอร์หรือแบบดั้งเดิม และการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ ก็คือแนวคิดในการออกแบบ ซึ่งการออกแบบการเรียน การสอนแบบดั้งเดิมใช้แนวคิดแบบนักออกแบบกิจกรรมที่คำนึงถึงกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้ ในขณะที่การออกแบบการเรียนการสอนแบบ ย้อนกลับใช้แนวคิดแบบนักประเมินผลที่คำนึงถึงผลงานหรือชิ้นงานที่ใช้เป็นหลักฐานในการประเมิน จุดประสงค์การเรียนรู้ จากนั้นจึงจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้สร้างผลงานหรือชิ้นงาน ซึ่งทั้งสอง แนวคิดมีความแตกต่างกัน
การออกแบบการสอนแบบย้อนกลับ

มีหลักการที่ครูต้องทำ หรือที่เรียกว่า หลัก 6 ต้อง ซึ่งพิมพันธ์  เดชะคุปต์ และพเยาว์  ยินดีสุข (2552, หน้า 11-12) ได้เสนอแนะไว้ ได้แก่

1. ต้องเริ่มต้นด้วยการสร้างหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเชิงมาตรฐานการเรียนรู้ (integrated unit of learning) ซึ่งอาจเป็นหน่วยการเรียนรู้บูรณาการภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกัน (intradisciplinary integrated unit of learning) หรือหน่วยการเรียนรู้ระหว่างกลุ่มสาระการเรียนรู้ (interdisciplinary integrated unit of learning)

2. ต้องเน้นผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่คงทน พัฒนาทักษะ การคิดทั่วไป และพัฒนาลักษณะที่เอื้อต่อการเป็นผู้เรียนรู้ ผู้สืบค้นรวมทั้งนักคิด

3. ต้องเน้นการประเมินผลการเรียนรู้ที่มีการประเมินการปฏิบัติ การทำกิจกรรม การทดลอง และการประเมินผลงานชิ้นงานและภาระงาน หรือกล่าวโดยสรุป คือการประเมินตามสภาพจริง

 4. ต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยใช้รูปแบบการสอน วิธีสอน แนวการสอนเป็นยุทธศาสตร์การสอน

5. ผู้เรียนต้องเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองโดยผ่านการทำกิจกรรม 6. ต้องให้ผู้เรียนทำกิจกรรมที่เป็นการประยุกต์ใช้ความรู้หรือถ่ายโยงความรู้ ซึ่งผลงาน/ ชิ้นงาน ที่นักเรียนสร้างขึ้นจะเป็นหลักฐานหรือร่องรอยเชิงประจักษ์ของการใช้ความรู้

โดยสรุป การออกแบบหลักสูตรย้อนกลับยึดหลักการสำคัญที่เน้นผลการเรียนรู้เป็นหลัก จากนั้น จึงออกแบบการประเมินผลชิ้นงานหรือภาระงานที่เป็นหลักฐานแสดงผลการเรียนรู้ และออกแบบกิจกรรม การเรียนรู้ในท้ายที่สุด 

 กระบวนการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ

ขั้นตอนการออกแบบการสอนแบบย้อนกลับ มี 3 ขั้นตอน (Wiggins & McTighe, 1998, pp. 9-19)

ได้แก่

                1. กำหนดผลการเรียนรู้ที่ต้องการ (identify desired result) ในขั้นนี้ ผู้สอนจะต้อง วิเคราะห์ว่าผลการเรียนรู้ที่หลักสูตรคาดหวังในหน่วยการเรียนรู้คืออะไร อะไรเป็นความรู้หรือสาระการ เรียนรู้สำคัญที่ผู้เรียนควรรู้ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

   1)  กลุ่มแรก คือ เนื้อหาส่วนใหญ่ที่มีคุณค่าในด้านที่ทำให้เกิดความคุ้นเคยในสิ่งที่เรียน ซึ่งเป็นรายละเอียดของเนื้อหาสาระ

 2) กลุ่มที่สอง คือ เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานที่ควรรู้และควรทำได้ คือความรู้ที่เป็น ข้อเท็จจริง/ความคิดรวบยอด/ หลักการ และทักษะสำคัญ ได้แก่ ทักษะที่เป็นกระบวนการ กลวิธี และ วิธีการ 

3) กลุ่มที่สาม คือ ความคิดหลักหรือหลักการสำคัญที่เป็นแก่นหรือสาระสำคัญของ หน่วยการเรียนรู้ที่เป็นความเข้าใจที่คงทนฝังอยู่ในตัวของผู้เรียนเป็นเวลานาน ในขณะที่รายละเอียด   อื่น ๆ นั้น ผู้เรียนอาจลืมไปแล้วแต่ในส่วนนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องเข้าใจอย่างแท้จริงและจดจำได้ ครูต้องให้ ความสำคัญกับเนื้อหาในส่วนนี้ และเป็นส่วนที่จำเป็นต้องประเมินว่าผู้เรียนรู้จริงหรือไม่ วิกกินส์และแมคไทฮี ได้ก าหนดเกณฑ์ในการพิจารณากลั่นกรองความรู้ที่มีคุณค่าสมควรแก่การสร้างความเข้าใจ ดังนี้

1. เป็นความรู้ที่ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์ใหม่ที่หลากหลายทั้งใน เรื่องที่เรียนและเรื่องอื่น ๆ

2. เป็นความรู้ที่เป็นหัวใจสำคัญของหน่วยที่เรียน โดยผู้สอนจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้อย่างเป็นกระบวนการและค้นพบหลักการ แนวคิดที่สำคัญนี้ด้วยตนเองจึงจะเป็นความรู้ที่คงทน

 3. เป็นความรู้ที่อาจจะไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนหรือค่อนข้างจะเป็นนามธรรม ซึ่ง ผู้เรียนเข้าใจค่อนข้างยากและมักจะเข้าใจผิด แต่ความรู้นี้เป็นหัวใจของหน่วยการเรียนรู้

4. เป็นความรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงในการศึกษาค้นคว้า และเป็น ความรู้ที่สอดคล้องกับความสนใจของผู้เรียน จึงทำให้ผู้เรียนมีความสนใจ ตั้งใจทำกิจกรรมไม่เกิดความ เบื่อหน่าย

 2. กำหนดหลักฐานที่แสดงผลการเรียนรู้ (determine acceptable evidence of learning) ค าถามสำคัญสำหรับผู้สอนในขั้นตอนนี้ คือ ผู้สอนจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ตามมาตรฐานหรือผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหน่วยการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ การแสดงออกของผู้เรียนควร เป็นอย่างไร จึงจะยอมรับได้ว่า ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจตามที่กำหนดไว้ ดังนั้น ผู้สอนจึงต้องประเมินผล การเรียนรู้โดยตรวจสอบการแสดงออกของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย ครอบคลุมสิ่งที่วัดและสะสม ผลการวัดตลอดหน่วยการเรียนรู้เพื่อรวบรวมหลักฐานร่องรอยของความรู้และทักษะของผู้เรียน นอกจากนี้ การวัดประเมินผลการเรียนรู้ที่เป็นความเข้าใจคงทนของผู้เรียนในภาพรวมที่เหมาะสมอีกวิธีหนึ่งคือ  การประเมินตามสภาพจริง ซึ่งควรจะเป็นการวัดจากชิ้นงานที่ผู้เรียนปฏิบัติ กระบวนการท างานและ การสะท้อนผลการเรียนรู้จากผู้เรียนเองซึ่งเป็นการประเมินตนเองของผู้เรียน

  3. ออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเรียนการสอน (plan learning experiences and instruction) ในการออกแบบการจัดการเรียนรู้หรือจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้นั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาดำเนินการในสิ่งต่อไปนี้คือ

1. กำหนดหลักฐานการแสดงออกของผู้เรียนที่แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ และจิตพิสัย ตามเป้าหมายที่กำหนด

2. กำหนดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ที่จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้และมีทักษะตาม มาตรฐาน/ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหน่วยการเรียนรู้

3. กำหนดสื่อ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม ที่จะทำให้ผู้เรียนพัฒนาตาม เป้าหมายการเรียนรู้ที่กำหนด

 4. กำหนดจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละชุดของกิจกรรมการเรียนรู้

 5. จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้โดยนำข้อมูลจากการออกแบบการจัดการเรียนรู้ มา จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้  ขั้นตอนการออกแบบย้อนกลับดังกล่าวข้างต้น สามารถสรุปให้เห็นภาพความสัมพันธ์ของกระบวนการ ออกแบบกับโครงสร้างของแบบแผน เกณฑ์ในการออกแบบและผลลัพธ์จากการออกแบบ

 จากตารางข้างต้นจะเห็นความเกี่ยวพันของขั้นตอนการออกแบบย้อนกลับที่เริ่มต้นด้วยคำถาม สำคัญในแต่ละขั้นตอนของการออกแบบ น าไปสู่หลักฐานความสำเร็จที่เป็นโครงสร้างของการออกแบบ ในแต่ละขั้นตอน เกณฑ์ในการพิจารณาประเมินหลักฐานความสำเร็จและการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ ที่ตอบคำถามสำคัญของการออกแบบหลักสูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น