วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ระบบความคิดของ MARZANO และ SOLO TAXONOMY


ระบบความคิดของ MARZANO และ SOLO TAXONOMY



Marzano 
   นักวิจัยทางการศึกษาที่มีชื่อเสียง เสนอสิ่งที่เขาเรียกว่า วัตถุประสงค์ทางการศึกษาใหม่ (2000) โดยพัฒนาจากข้อจำกัดของวัตถุประสงค์ของบลูมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และตามสภาพแวดล้อมของการสอนที่อิงมาตรฐาน (standard-based  instruction) รูปแบบทักษะการคิดของมาร์ซาโนผนวกปัจจัยที่กว้างขึ้นซึ่งส่งผลกระทบว่านักเรียนคิดอย่างไรและจัดเตรียมทฤษฏีที่อิงงานวิจัยมากขึ้นเพื่อช่วยครูปรับปรุงการคิดของนักเรียน 
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา  มาร์ซาโนนี้ทำขึ้นจากระบบสามประการและขอบเขตของความรู้ ซึ่งทั้งหมดสำคัญสำหรับการคิดและการเรียนรู้ ระบบทั้งสามประกอบด้วยระบบตนเอง (self-system) ระบบอภิปัญญา (metacognitive system) และระบบความรู้ (cognitive system)  เมื่อเผชิญกับทางเลือกของการเริ่มต้นภาระงานใหม่ ระบบตนเองจะตัดสินใจว่าจะทำตามพฤติกรรมเช่นปัจจุบัน หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใหม่ ระบบอภิปัญญาจะกำหนดเป้าหมายและติดตามว่าจะทำได้ดีเพียงใด ส่วนระบบความรู้จะจัดทำกระบวนการให้ข้อมูลที่จำเป็น และขอบเขตความรู้จัดเตรียมเนื้อหาให้

จุดมุ่งหมายการศึกษาเมื่อเรียนวิชานี้

ระบบตนเอง
ความเชื่อเกี่ยวกับความสำคัญของความรู้
ความเชื่อเกี่ยวกับประสิทธิภาพ
อารมณ์ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับความรู้

ระบบอภิปัญญา
เจาะจงเป้าหมายการเรียนรู้
กำกับการนำความรู้ไปใช้งาน
กำกับความชัดเจน
กำกับความถูกต้องแม่นยำ

     
พุทธิพิสัย
การเรียกใช้ความรู้
ความเข้าใจ
การวิเคราะห์
การนำความรู้ไปใช้
การทวนซ้ำ
การปฏิบัติ
การสังเคราะห์
การเป็นตัวแทน
การจับคู่
การแยกแยะหมวดหมู่
การวิเคราะห์ข้อผิดพลาด
การกำหนดเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป
การกำหนดเฉพาะเจาะจง
การตัดสินใจ
การแก้ปัญหา
สืบค้นจากการทดลอง
การสำรวจสืบค้น

Solo  Taxonomy   
SOLO  : The Structure of Observed Learning Outcome คือ โครงสร้างการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
                  แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ ดังนี้
1.     Pre-structural (ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2.     Uni-structural (ระดับมุมมองเดียว) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3.     Multi-structural (ระดับหลายมุมมอง) คือ การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4.     Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์ อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5.     Extended abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น