วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

บทที่ 3


บทที่ 3
วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis)
    T : วิเคราะห์ภาระงาน (Task Analysis) ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ความรู้(knowledge) ทักษะ(Skill) และเจตคติ(Attitude) ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออธิบายภาระงานหรือกิจกรรมที่ช่วยนำทางผู้เรียนไปสู่จุดหมายการเรียนรู้ การวิเคราะห์งานจะเขียนแสดงความสัมพันธ์ด้วย KSA diagram คือ Knowledge-Skill Attitudes การวิเคราะห์ภาระงานเป็นส่วนหนึ่งของการวิเคราะห์การเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
     1.ตัดสินใจให้ได้ว่าเป็นความต้องการในเรื่องการเรียนการสอน มีภาระงานที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
     2.ต้องความชัดเจนว่าต้องเรียนรู้เรื่องใดมาก่อน จึงจะนำไปสู่ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
     3.การประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน จากขั้นที่ 2 บอกให้รู้ว่าผู้เรียนจะต้องเรียนรู้และวัดผลในเรื่องใด

     Donald Clark, (2004 : 13) เสนอแนวทางการวิเคราะห์ตามกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนนี้ว่า เป็นการปฏิบัติเพื่อลงสรุปให้ได้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียนการสอนให้ชัดเจน ดังนี้
     ทบทวนระบบหรือกระบวนการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น
     เรียบเรียงภาระงาน (ถ้าจำเป็น)
·       ระบุ งาน
·       บรรยายลักษณะงาน
·       รายงาน ภาระงานของแต่ละงาน
วิเคราะห์ภาระงานนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อสนองตอบความต้องการการเรียนรู้
เลือกภาระงานสำหรับการการสอน (ภาระงานที่ไม่เกี่ยวข้องก็ควรจะเลือกใช้วิธีอื่น(ที่ไม่ใช่การสอน)
สร้างเครื่องมือ วัดผลการปฏิบัติ
เลือกวิธีการเรียนการสอน
ประมาณค่าใช้จ่ายในการสอน(ถ้าจำเป็น)
หมายเหตุ คำว่า(ถ้าจำเป็น) อาจไม่ต้องทำก็ได้ เมื่อผู้เรียนกลุ่มเป้าหมายรับทราบกิจกรรมนั้น ๆ ทราบแล้ว

การวิเคราะห์งาน
             การวิเคราะห์งานเป็นการตรวจสอบว่าการศึกษานั้น ๆ มีงานใดที่เป็นชีวิต และมีความรู้ทักษะและเจตคติใดบ้างที่นำไปสู่ความสำเร็จในการทำงานนั้น ๆ การวิเคราะห์งานช่วยให้แน่ใจว่าจะได้สาระและคุณค่าที่เกี่ยวข้องในการเรียนรู้
             คำถามหลักที่ใช้ในการวิเคราะห์งานมนการวิเคราะห์งาน มีคำถามหลัก 3 ข้อ คือ
               ภาระงานใดงานใดเป็นข้อกำหนดของงาน
               การจัดเรียงลำดับของแต่ละภาระงานคืออะไร
               เวลาที่ใช้ในการทำแต่ภาระงาน
             สุดท้ายหาคำตอบให้ได้ว่าภาระงานใดมีความสำคัญ เนื่องจากงาน ประกอบด้วยภาระงานหลายภาระงาน
             การวิเคราะห์งานทำได้อย่างไร
             วิธีการวิเคราะห์งานที่ใช้บ่อย คือ
             การสอบถาม(questionnaires) การสำรวจโดยส่งแบบสอบถามทางไปษณีย์ หรือไปษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สอบถามผู้เชี่ยวชาญ เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายน้อยและได้ข้อมูลจำนวนมาก
             การสัมภาษณ์(interviews) การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ หรือการพบปะสนทนาเป็นรายบุคคลกับผู้เชี่ยวชาญ เป็นวิธีที่มีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลามาก แต่มีข้อดีสำหรับคำถามปลายเปิด หรือสามารถถามเพิ่มเติมในประเด็นที่ต้องการในทันที
             การสนทนากลุ่ม(focus groups) การสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะให้ผลดีกว่าในประเด็นที่จะช่วยให้ตรงประเด็นมากกว่า มิฉะนั้นอาจจะเข้าใจผิดหรือมโนทัศน์ที่ผิดพลาดได้

การวิเคราะห์งภาระงาน
          การวิเคราะห์ภาระงานคล้ายคลึงกับการวิเคราะห์งานแต่มีระดับของการวิเคราะห์อยู่ที่รายละเอียด – หน่อยย่อย การวิเคราะห์งานทำได้โดยการจำแนกงานออกเป็นภาระงานหลาบภาระ จากนั้นวิเคราะห์ภาระงานก็จะสามารถวเคราะห์ย่อยลงถึงส่วนประกอบโดยใช้คำถามในการวิเคราะห์เช่นเดียวกันกับการวิเคราะห์งาน ดังนี้
            ส่วนประกอบของแต่ละภาระงานคืออะไร
            ส่วนประกอบของต่ละส่วนสามารถนำมาเรียงลำดับด้วยอะไรได้บ้าง
            ส่วนประกอบแต่ละส่วนต้องใช้เวลาเท่าไร
            ขั้นตอนที่จำเป็น(critical steps) คืออไร และเส้นทางวิกฤติ(critical paths) คืออะไร
         ขั้นตอนที่จำเป็นหมายถึงภาระงานที่ไม่สามารถข้าม ละเว้นไม่ต้องปฏิบัติภาระงานนั้น มิฉะนั้นจะมีผลเสียต่อผลลัพธ์ที่จะได้เป้นปัจจัยป้อนให้กับขั้นต่อไปส่วนเส้นทางวิกฤติเป็นผลต่อเนื่องจากขั้นตอนที่จำเป็น เส้นทางวิกฤติมีผลต่อโอกาสที่จะประสอบผลสำเร็จของงานได้และในทำนองเดียวกันก็อาจเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งก็ได้
          การตัดสินใจเลือกภาระงานต้องคำนึงถึงประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งโปรแกรมที่ดีต้องแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ และต้องสนองจุดหมายของการเรียนรู้ไปพร้อมการเลือกภาระงานอาจแบ่งภาระงานได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
1.       กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สำหรับการเรียนแบบปกติ(formal)
2.       กลุ่มภาระงานที่จัดไว้สำหรับฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน(on – the – job – training :OJT)
3.       กลุ่มภาระงานที่ไม่ได้จัดไว้ทั้งการเรียนแบบปกติหรือ การฝึกอบรมขณะปฏิบัติงาน เช่น ชุดการศึกษาด้วยตนเอง ฯลฯ
คำถามที่ใช้ในการวิเคราะห์ภาระงาน
           Donal Clark,(2004 : 10) ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับคำถามในการวิเคราะห์ภาระงานไว้ ดังนี้
    ภาระงานนี้มีความยุ่งยาก หรือซับซ้อนเพียงใด
    ในการปฏิบัติงานต้องใช้พฤติกรรมใดบ้าง
    ภาระงานนี้จะต้องกระทำบ่อยเพียงใด
    ภาระงานนี้มีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานมากน้อยเพียงใด
    แต่ละคนทำภาระงานนี้ถึงระดับใด หรือเป็นเพียงส่วนหนึ่งขอลชิ้นงาน ถ้าเป็นส่วนหนึ่งของชิ้นงานอะไรเป็นความสัมพันธ์ระหว่างภาระงานต่าง ๆ
    หากปฏิบัติภาระงานผิดพลาดหรือไม่ปฏิบัติเลย ผลจะเป็นอย่างไร
      อะไรเป็นขอบเขตของภาระงานในการปฏิบัติงานนั้น ๆ
      ระดับความชำนาญที่คาดหวังในการปฏิบัติภาระงาน ควรจะอยู่ระดับใด
      ภาระงานมีความสำคัญอย่างไร
      สารสนเทศใดที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติภาระ และจะได้มาจากแหล่งใด
      อะไรคือเงื่อนไขในผลการปฏิบัติงาน
      ในการดำเนินงานตามระบบ จำเป็นต้องมีการประสานงานกับบุคคลฝ่ายอื่น หรือภาระงานอื่นหรือไม่
      ภาระนั้น ๆ มากเกินกว่าความต้องการในด้านต่าง ๆ หรือไม่ เช่น ด้านการรับรู้ (perceptual) ด้านความรู้ (cognitive) และด้านทักษะ (psychomotor) และด้านกายภาพ (physical)
      ภาระนี้จะต้องกระทำบ่อยเพียงใด ภายใต้กรอบเวลา เช่น (รายงาน รายสัปดาร์ รายเดือน หรือรายปี)
      การปฏิบัติภาระงานนี้ต้องใช้เวลานานมากน้อยเพียงใด
      ในการปฏิบัติภาระงานนี้ บุคคต้องมีทักษะ ความรู้ และความสามารถต่าง ๆ อะไรเป็นพื้นฐาน
      เกณณฑ์ที่พึ่งประสงค์คืออะไร
      พฤติกรรมใดที่สามารถจำแนกได้ว่า ใครเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ดี

การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้
             การวิเคราะห์สาระการเรียนรู้จะเป็นการจำกัดขอบเขตของเรื่องที่จะนำมาสอนกับเรื่องที่ไม่ต้องนำมาสอน ซึ่งมีความสำคัญยิ่งในปัจจุบันเนื่องจากหนังสือเรียนบรรจุสาระสนเทศไว้มากเกินกว่าที่จะนำมาสอนอย่างมีประสิทธิผลในระยะเวลาหนึ่งภาคเรียน ควรยึดหลักว่า เพื่อเป็นผลดีต่อ การเรียนรู้จริงๆ ของผู้เรียน สื่อการเรียนรู้ที่จำเป็นถึงแม้ว่าจะน้อยแต่ก็ดีกว่าสื่อการเรียนรู้ขนาดใหญ่ แต่ไม่ได้ช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเรียน
            วิเคราะห์สาระการเรียนรู้ เนื้อหาสาระที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ อจจะแบ่งได้หลายลักษณะ เช่น กาเย่ และบริกส์ (Gagne and Briggs 1974 : 53 - 70) กำหนดสาระการเรียนรู้ ดังนี้ 1)ข้อมูลที่เป็นความรู้ 2) เจตคติ และ 3) ทักษะ ส่วนเดคโค (De Cecco 1968 : 214 – 447 ) แบ่งสาระการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เป็น 1) ทักษะ 2) ความรู้ที่เป็นข้อมูลธรรมดา 3) ความคิดรวบยอดและหลักการ และ 4) การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์และการค้นพบ
            การวิเคราะห์เนื้อหาสาระ ควรดำเนินการดังนี้
            ตัดสินใจให้ได้ว่าสารสนเทศใดมีความจำเป็นสูงสุด
            แบ่งออกเป็นมโนทัศน์ย่อย ๆ
            ขอเสนอแนะให้นำโครงสร้างการจำแนกจุดประสงค์การเรียนรู้มาใช้ในการตัดสินใจในการสอน อาทิ การจำแนกจุดมุ่งหมายการศึกษาของ บลูม (Bloom’s Taxonomy)

การออกแบบและพัฒนาภาระงาน
             Herman, J. L., Aschbacher, P.R., and Winters, L. (1992 อ้างอิงใน ชอบ ลีชอ(2555) การประเมินตามสภาพจริง สำนักทดสอบทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ) การออกแบบและพัฒนาภาระงาน ต้องอาศัยหลักวิชา การวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์และความเชี่ยวชาญในเนื้อหาสาระในระดับมืออาชีพขั้นตอนการสร้างภาระงานมีดังนี้
การระบุความรู้และทักษะที่ผู้เรียนจะเรียนรู้จากการปฏิบัติงาน โดยเริ่มจากพิจารณาและ
วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ในหลักสูตร ผลการเรียนที่คาดหวัง หรือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เพื่อสามารถระบุขอบเขตและประเภทของความรู้ ทักษะ และคุณลักษะที่พึ่งประสงค์
                      ผู้สอนควรตั้งปัญหาถามตนเอง 5 ข้อเพื่อที่จะระบุหรือกำหนดความรู้และความสามารถที่ผู้เรียนจะได้รับจากการปฏิบัติภาระงาน คือ
1)      ทักษะทางปัญญาและคุณลักษณะที่สำคัญที่ต้องการให้ผู้เรียนได้ฝึกและพัฒนาคืออะไร เช่น การสื่อสารด้วยการเขียนอย่างชัดเจนและประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ประเด็นปัญหาโดยใช้ข้อมูลขั้นปฐมภูมิและจากเอกสารอ้างอิง การใช้หลักพีชคณิตเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เป็นต้น
2)      ทักษะและคุณลักษณะทางสังคม และจิตพิสัยที่ต้องการพัฒนาให้ผู้เรียน คืออะไร เช่น การทำงานโดยอิสระ การปฏิบัติโดยร่วมมือกับผู้อื่น ความมั่นใจในความสามารถของตนเอง และการรู้จักรับผิดชอบ เป็นต้น
3)      ทักษะความคิดระดับสูงและอภิปัญญา (Meta-cognition) ที่ต้องการพัฒนาให้ผู้เรียนคืออะไร เช่น การใคร่ครวญ ตรึงตรอง ทบทวนกระบวนการทำงานของตน(ผู้เรียน) การประเมินประสิทธิภาพของกลวิธีที่ตน(ผู้เรียน) ใช้ การพิจารณาและประเมิลความก้าวหน้าของตนเอง(ผู้เรียน) เป็นระยะ ๆ เป็นต้น
4)      ความสามารถที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความสามารถอะไร เช่นความสามารถในการวางแผนศึกษาค้นเพื่อหาคำตอบให้กับประเด็นปัญหาที่กำหนดให้ ความสามารถจำแนกประเภทปัญหาที่สามารถใช้หลักการทางเลขาคณิตแก้ไข การแก้ปัญหาที่ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องแน่ชัด เป็นต้น
5)      หลักการทางวิชาการและความคิดรวบยอดที่ต้องการให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้คืออะไร เช่น การใช้หลักการทางนิเวศวิทยากำหนดแนวปฏิบัติในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การใช้หลักคณิตศาสตร์ไตรยางค์ในการแก้ปัญหาเรื่องการซื้อขาย เป็นต้น
2. ออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ (จากข้อ 1) ลักษณะสำคัญของงานคือต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน มีความท้าทาย แต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทำไม่ได้ และในขณะเดียวกันต้องครอบคลุมสาระสำคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถนำผลการประเมินไปใช้ได้อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ
        Herman et al. (1992) ได้เสนอประเด็นคำถามสำคัญเพื่อให้ผู้สอนพิจารณาในขั้นตอนนี้ คือ
1)      เวลา จะต้องใช้เวลาเท่าไร ผู้เรียนจะพัฒนาความรู้และทักษะที่เป็นเป้าหมายของการปฏิบัติงานในระยะเวลาเท่าไรจึงจะเหมาะสม เนื่องจากการพัฒนาการพัฒนาความคิดรวบยอดที่สำคัญและทักษะกระบวนการคิดระดับสูง ความรู้ที่ใช้ระยะเวลาในการเรียนรู้ยาวนานพอสมควร ผู้สอน/ผู้ออกแบบควรกำหนดเวลาที่เหมาะสมตามประเภทของสาระสำคัญและความลึกซึ้งของทักษะ และวัยระดับชั้นเรียนหรือพัฒนาการด้านสติปัญญาของผู้เรียน
                    2 จะมีหลักการอย่างไร ในการเลือกความรู้ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ที่มีจำนวนมากและหลากหลายเพื่อให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่กำหนดหลักการสำคัญคือพิจารณาจากมาตรการ เรียนรู้ให้ความสำคัญกับความรู้ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ความรู้และทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มีขอบเขตในการใช้ประโยคที่กว้างขวางและใช้ได้ในสถานการณ์ที่หลากหลาย
                    3 พิจารณาโลกแห่งความจริงผู้สอนผู้ออกแบบควรให้ความสำคัญต่อความรู้ทักษะและคุณลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นจริงไม่ควรให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นเพียงอุดมคติแต่ไม่สามารถบรรลุได้ในความเป็นจริง
   3 การกำหนดเกณฑ์การให้คะแนน (Rubrics) หรือเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนเป็นปรนัย เป็นที่ยอมรับและสามารถสะท้อนให้เห็นถึงระดับของผลสัมฤทธิ์ทางด้านความรู้ทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์เกณฑ์การให้คะแนนส่วนมากมักจะอยู่ในรูปตาราง 2 มิติ ประกอบด้วย
              ส่วนหัว Rows จะแสดงระดับคุณภาพของความรู้ทักษะและความสามารถของแต่ละ Column จำนวน Rows จะขึ้นอยู่กับจำนวนของระดับคุณภาพที่ต้องการใช้ และส่วนมากจะอยู่ระหว่าง 2 ถึง 3 ระดับ
             ช่องแต่ละช่องในตารางจะมีคำบรรยายถึงระดับคุณภาพแต่ละระดับของความรู้ ทักษะหรือความสามารถที่ประเมินภาระงานแต่ละชิ้นควรจะมี เกณฑ์การประเมินเฉพาะตัว เกณฑ์การประเมินที่ออกแบบมาอย่างดีจะให้ข้อมูลแก่ผู้เรียนว่าจะต้องแสดงความสามารถด้านใดออกมาในระดับใดจึงจะได้คะแนนเท่าไหร่ เกณฑ์การประเมินยังเป็นเครื่องมือที่ให้ผู้สอนสามารถประเมินผู้เรียนอย่างเป็นปรนัยและได้ผลการประเมินที่น่าเชื่อถือนอกจากนี้ควรจะมีตัวอย่างผลงานพร้อมทั้งระดับคะแนนแต่ละด้านให้นักเรียนได้ศึกษาประกอบด้วย หมายเหตุ ผู้สอนผู้ออกแบบควรจะภาระงานไปทำการตรวจสอบทบทวนแล้วนำไปทดลองใช้ในภาคสนามนำผลกลับมาศึกษาวิเคราะห์และปรับปรุงแก้ไขก่อนจะนำไปใช้ในสถานการณ์จริงต่อไป

การสอนเพื่อความเข้าใจ:การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ
                 การกำหนดจุดหมายที่พึงประสงค์ในการสอนเพื่อความเข้าใจครูพิจารณาว่านักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสิ่งที่มีคุณค่าและน่าจะรู้อะไรบ้างแล้วนอกจากนั้นกำหนดขอบข่ายให้แคบลงว่านักเรียนควรมีสิ่งที่จำเป็นต้องรู้และจำเป็นต้องทำนักเรียนควรทำความเข้าใจในเรื่องใดและควรทำอะไรได้บ้างควรมีความเข้าใจที่ยั่งยืนอะไรบ้างครูจะต้องพิจารณาวิธีการประเมินซึ่งจะสะท้อนให้เห็นว่าคิด อกรรมการเรียนการสอนจะต้องลุ่มลึกกว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างมาก (ระบุหลักฐานและเกณฑ์การประเมินผลชัดเจน)จึงจะสามารถพัฒนาให้เกิดความเข้าใจในระดับที่ลึกซึ้ง
การออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ (Backwards Design )
Wiggins ได้เสนอกระบวนการออกแบบการเรียนรู้ที่ย้อนกลับจากจุดหมายการเรียนรู้และมาตรฐานที่กำหนดไว้โดยเริ่มจากจุดหมายการเรียนรู้ที่พึงประสงค์จากนั้นจึงออกแบบหลักสูตรออกแบบมีการจัดการเรียนรู้และออกแบบการประเมินผลการเรียนไปพร้อมพร้อมกัน เริ่มจากการจะวิเคราะห์ตั้งแต่ช่วงแรกของการออกแบบหลักสูตรว่าหากนักเรียนบรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้จะต้องพิจารณาจากสิ่งใดหรือจากหลักฐานอะไรจึงจะถือว่านักเรียนได้เกิดความเข้าใจในระดับที่พึงประสงค์วิธีการนี้จะช่วยให้ครูมีความชัดเจนในเรื่องจดหมายการออกแบบให้มีความสอดคล้องกันระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนและจุดหมายที่พึงประสงค์การออกแบบแบบย้อนกลับ (Backwards Design ) จะมี 3 ขั้นตอนดังนี้
1 การกำหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
2 การกำหนดหลักฐานที่แสดงว่านักเรียนได้บรรลุจุดหมาย การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
3 การวางแผนจัดประสบการณ์เรียนรู้
            การกำหนดจุดหมายในการจัดการเรียนรู้
              ผู้สอนจะพิจารณาว่าผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานที่เป็นสาระสำคัญและรู้อะไรแล้วกำหนดขอบข่ายว่านักเรียนจำเป็นจะต้องรู้สาระอะไรและจะต้องทำอะไรได้ผู้เรียนควรทำความเข้าใจในเรื่องใดควรทำอะไรได้บ้างและควรมีความเข้าใจลุ่มลึกและยั่งยืนในเรื่องใด Wiggins ได้เสนอเกณฑ์พิจารณากำหนดจุดหมาย 4 ประการได้แก่
           1 จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้นเป็นประเด็นหลักที่จะมีคุณค่านอกบริบทการเรียนการสอนในห้องเรียนหรือไม่ความเข้าใจที่ยั่งยืนต้องไม่เป็นเพียงข้อมูลหรือทักษะเฉพาะเรื่องเท่านั้นแต่จะต้องเป็นเรื่องหมากปริญหลักที่สามารถนำไปปรับปรุงประยุกต์ในสถานการณ์อื่น ๆนอกห้องเรียน
           2 จุดหมายการจัดการเรียนรู้นั้นเป็นหัวใจของศาสตร์นั้น ๆ เกิดขึ้นได้อย่างไร
           3 จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้นต้องมีการดูแลเป็นพิเศษ เพื่อให้นักเรียนมีความเข้าใจเพียงใดมีเนื้อหาสาระเป็นจำนวนมากที่ซับซ้อนมากและเป็นนามธรรม เกินที่นักเรียนจะเข้าใจได้ด้วยตนเองหัวข้อเหล่านี้ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษและควรบรรจุในการเรียนการสอนมากกว่าเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ที่นักเรียนอาจเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
           4 จุดหมายในการจัดการเรียนรู้นั้นเพื่อต่อการมีส่วนร่วมของนักเรียนมีหลายหัวข้อ หลายกิจกรรมที่นักเรียนสนใจตามไว้อยู่แล้วสามารถเลือกมาใช้เป็น "ประตู" ไปสู่เรื่องอื่นที่ใหญ่กว่าหากสามารถเชื่อมโยงเรื่องที่เรียนไปสู่เรื่องที่นักเรียนสนใจจะช่วยให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าต่อเนื่องด้วยตนเองต่อไป
           การวางแผนการจัดการเรียนรู้
                 เมื่อมีความชัดเจนเกี่ยวกับจุดหมายการเรียนรู้และหลักฐานที่เป็นรูปประธรรมแล้วผู้สอนสามารถเริ่มวางแผนการจัดการเรียนรู้ได้โดยอาจตั้งคำถามดังต่อไปนี้
               ความรู้และทักษะอะไรจะช่วยให้นักเรียนมีความสามารถตามจุดหมายที่กำหนดไว้
               กิจกรรมอะไรจะช่วยพัฒนานักเรียนไปสู่จุดหมายดังกล่าว
               สื่อการสอนจึงจะเหมาะสมสำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ขั้นต้น
               การออกแบบโดยรวมสอดคล้องและลงตัวหรือไม่

การปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนภายใต้ข้อจำกัดของทรัพยากร
                ชั้นเรียนโดยทั่วไปกำหนดให้มีจำนวนผู้เรียนประมาณห้องละ 30 คน เพื่อที่ผู้สอนและผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างทั่วถึงและกระบวนการจัดการเรียนการสอนเป็นทางการเมื่อสังคมเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้เรียนเพิ่มขึ้นเป็นผลในชั้นเรียนขนาดเล็กกลายเป็นชั้นเรียนขนาดใหญ่ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบ 2 ชั้นเรียนขนาดใหญ่ได้แบ่งเป็นกลุ่มหรือชั้นเรียนขนาดเล็กโดยมีผู้ช่วยสอนหรือไม่มีผู้ช่วยสอน ก็ใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการสอน ( มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบและเทคนิคการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับผู้สอนผู้ช่วยสอน( ประจำห้องปฏิบัติการห้องเทคโนโลยีที่ทันสมัย) ซึ่งส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในการจัดการเรียนการสอนควรมีการปรับเปลี่ยนเนื่องจากมีข้อจำกัดของทรัพยากรอันเป็นผลจากพัฒนาการทางสังคมโดยปรับวิธีการเรียนการสอนเครื่องมือและสภาพ กายภาพ ผู้สอนจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับจิตใจของคนการจัดการเรียนรู้เชิงสังคมและการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นต้น

อัธยาตมวิทยา:ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน
นิรมล ตีรณสาร สวัสดิบุตร (2548 : 7 -8) ได้กล่าวไว้ว่าหนังสืออัธยาตมวิทยา (อ่านว่า อัด-ทะ-ยาต-ตะ-มะ-วิด-ทะ-ยา) หมายถึงความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคนซึ่งเป็นความรู้ที่ผู้เป็นครูจำเป็นต้องรู้เพราะทำนายกับคนเป็นตำราวิชาครูของกรมศึกษาธิการที่เขียนโดย คุณจรัญชวนะพันธ์(สารท สุทธเสถียร) พิมพ์เผยแพร่ในปี ร.. 125 (พ.ศ 2449) อาจารย์ผู้สอนวิชาจิตวิทยาการศึกษาในสถาบันผลิตครูยิ่งควรอ่าน และเชิญชวนให้นิสิตนักศึกษาอ่านด้วยและเสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่าในการเขียนตำราควรอ่านและปรับปรุงตำรา ให้ทันสมัยเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมพยายามให้ได้ใจความและเลือกสรรเฉพาะเรื่องที่จำเป็นสำหรับครูจริงตลอดจนการใช้วิธีเขียนและภาษาที่เข้าใจง่ายเช่นเดียวกับตำราอัธยาตมวิทยานี้ แสดงตัวอย่างไว้หนังสืออัธยาตมวิทยา แบ่งออกเป็นตอนใหญ่ๆ10 ตอน คือ
1.       วิทยาศาสตร์แห่งร่างกายและวิทยาศาสตร์แห่งจิตใจซึ่งเน้นว่าครูที่ดีจะต้องรู้อาการจิตใจนักเรียนให้ละเอียดเหมือนแพทย์ที่ดีต้องดูอาการของร่างกายคนไข้
2.        ลักษณะทั้ง 3 ของจิตใจ ( ความกระเทือนใจความรู้ความตั้งใจ) มีการแบ่งชั้นของความเจริญของจิตไว้ 3 ชั้นคืออายุ 1-7 ปี 7 ถึง 14 ปีและ 14-21 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุของคนที่ที่เป็นลูกศิษย์ของครูอาจารย์
3.        ความสนใจมี 2 ชนิดคือที่เกิดขึ้นเองและที่ต้องทำให้เกิดขึ้น
4.       ความพิจารณา มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดว่าเด็กในกรุงเทพ กับเด็กบ้านนอกมีความพิจารณาต่างกันอย่างไรและครูของเด็กทั้ง 2 พวกนี้ควรส่งเสริมเด็กต่างกันอย่างไรนอกจากนี้ยังมีข้อแนะนำที่น่าสนใจสำหรับครูในการสอนวิชาต่าง ๆเช่นภูมิศาสตร์ ไวยากรณ์พงศาวดาร การเขียนลายมือ และการวาดรูป
5.       ความเจริญของอาการทั้งห้า (รู้สึก เห็น ฟัง ชิม ดม) มีการกล่าวถึงหน้าที่ของครูในการหัตถการทั้ง 5 และบอกวิธีหัดอาการบางชนิดได้ด้วย เช่น หัดให้รู้จักสี หัดให้รู้จักรูป (การวัดการคาดคะเน) หัดให้ดูจากรูปด้วยการสัมผัส หัดอาการฟังด้วยการอ่านด้วยเพลง หัตถการดมและอาการชิม
6.       ความจำมีเรื่องลืมสนิท และไม่ลืมสนิท จำได้และนึกออก ชนิดของความจำและเครื่องที่ครูควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง คือ สิ่งที่ครูควรนับถือเป็นหลักในเวลาที่จะให้นักเรียนจำ สิ่งที่ควรให้นักเรียนท่องขึ้นใจ และสิ่งที่ไม่ควรให้นักเรียนช่อง
7.       ความคิดคำนึง วิธีฝึกหัดความคิดคำนึงให้ดีขึ้น มีการเสนอว่าบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความคิดคำนึงของเด็กได้ดีที่สุดคือ พงศาวดาร และภูมิศาสตร์ และแม้แต่หนังสือเรื่อง ยักษ์หรือผีสางเทวดาที่ผู้ใหญ่เห็นว่าไร้สาระก็ หัดให้เด็กมีความคิดคำนึงได้
8.       ความตกลงใจ เกิดจากอาการ 2 อย่างคือ การเปรียบเทียบและการลงความเห็นมีตัวอย่างบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความตกลงใจเช่นการเขียนหนังสือ และการวาดรูป บทเรียนสำหรับหัดมือ(พับ ตัด ปั้น) การกระจายประโยคตามตำราไวยากรณ์เลข การเล่นออกแรง
9.       ความวิเคราะห์ มีการแสดงตัวอย่างวิธีการสอน 2 แบบคือ แบบ"คิดค้น" (induction) และระบบ "คิดสอบ"  ( deduction) มีการเปรียบเทียบให้ดูว่าคิดค้นกับคิดสอบต่างกันอย่างไรและมีประโยชน์แก่การศึกษาต่างกันอย่างไร คู่จะได้เลือกว่าเมื่อใดควรให้นักเรียนคิดค้นเมื่อใดให้คิดสอบและมีตัวอย่างวิธีการสอนเรื่อง กริยาวิเศษณ์ ที่แสดงขั้นตอนการสอนให้ดู11 ขั้นตอนซึ่งเป็นการคิดค้น แล้วต่อด้วยอีก 2 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการคิดสอบ การใช้วิธีสอนรวมกันทั้งคิดค้นและคิดสอบเช่นนี้ท่านเรียกว่าวิธีสำเร็จ และบอกว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีอื่น ๆ
10.   ความเข้าใจ มีการให้ตัวอย่างคำจำกัดความ ลักษณะแห่งความเข้าใจ และบอกวิธีสอนที่จะทำให้เด็กเข้าใจได้ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนา

              วิชาอัธยาตมวิทยา ต่อมาเป็นวิชาจิตตะวิทยาในหลักสูตรผลิตครูในหลายสถาบันคือเรียนรู้หลักวิชาจิตวิทยาที่เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน(จรัส ชวนะพันธ์(สารท สุทธเสถียร) ขุน (2548) นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
การสานสร้างความรู้จากสังคม
              Toddler (1980) กล่าวถึงการพัฒนาการทางด้านสังคมมนุษย์ จากสังคมเกษตรกรรม มาสู่ยุคสังคมอุตสาหกรรมและสังคมสารสนเทศพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเรียกกันในช่วงแรกว่าสังคมสารสนเทศ (information society) ต่อมาผู้คนในสังคมที่มีปัญญาสามารถจัดการความรู้ได้ สังคมสารสนเทศก็กลายเป็นสังคมฐานความรู้ (Knowledge based society) การพัฒนาเทคโนโลยีไร้สายเป็นผลให้แนวทางในการจัดการศึกษาจำเป็นต้องให้สมาชิกในสังคมให้พร้อมรับสังคมฐานความรู้การศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ที่กล่าวกันในการจัดการศึกษานั้นต้องเกิดจากความเข้าใจผู้เรียนและสภาพแวดล้อมของผู้เรียนเพื่อสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียนและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง เช่นการจัดกระบวนการ เรียนรู้สื่อในการเรียนรู้การศึกษาตามทฤษฎี social constructivism มีความเหมาะสมมากสำหรับสังคมสารสนเทศโดยเฉพาะสังคมฐานความรู้เนื่องจากผู้เรียนสามารถเรียนรู้เรื่องต่างๆจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย หากสถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมให้สามารถเข้าถึงแหล่งความรู้จากเครือข่ายสารสนเทศ สุดาพร ลักษณียนาวิน(2550) ได้เสนอกระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการเสริมสร้างความรู้จากสังคม (social constructivism) ดังนี้
ตารางที่ 10 กระบวนการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสานสร้างความรู้จากสังคม
ทฤษฎี
วิธีการเรียนการสอน
เครื่องมือและสภาพกายภาพ
การสานสร้างความรู้จากสังคม
(Social constructivism)
การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน
(Problem Based Learning)
การเรียนรู้แบบภาระงานเป็นฐาน
(Task Based Learning)
การเรียนรู้แบบเชิงรุก
(Active Learning)
การเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน
(Research Based Learning)
การเรียนรู้แบบทีมเป็นฐาน
(Team Based Learning)
การเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน
(Peer Learning)

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted)
เครือข่ายสังคมออนไลน์
(Network Environment)
วิกิเทคโนโลยี
(Wiki Technology)
ห้องเรียนไร้โต๊ะ
(Classrooms without Desk)
การออกแบบห้องเรียนแนวใหม่
(New Classroom Design)

             การศึกษาตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้จักสังคมหลักสูตรที่เป็นตัวกำหนดสิ่งที่เรียนรู้โรงเรียนและผู้สอนจะกำกับการเรียนรู้ผู้เรียนและผู้ฝึก สอนจะช่วยกันคิดกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคม วิธีการเรียนการสอนแบบนี้ต้องรวมพลังในการสอนทั้งการเตรียมการเวลาในการค้นคว้าหาข้อมูล เวลาในการทำกิจกรรมและเวลาที่ต้องมีให้แก่กันระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอนเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรมการเรียนเป็นเรื่องที่ผู้เรียนเป็นผู้กำกับดูแลเอง (autonomous learer) ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง ความรู้ ในบริบทของคำถามและโจทย์ที่มีให้ตอบไม่รู้จบเครื่องมือและสภาพทางกายภาพของห้องเรียนมีการออกแบบห้องเรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสื่อกับเพื่อนและกับผู้สอน

การเรียนรู้แบบร่วมมือ
                ประสิทธิผลของการเรียนรู้แบบร่วมมือได้รับการยืนยันจากการวิจัยทางการศึกษาวิจัยในห้องทดลองและในภาคสนามการศึกษาสห สัมพันธ์ที่แสดงว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือมีผลในห้องเรียนจริง ๆ Johnson and Johnson (1994) สรุปว่าการวิจัยเชิงสาธิตแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มคือ 1) การประเมินผลรวมได้ผลว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็น ประโยชน์ 2) การประเมินผลรวมเชิงเปรียบเทียบได้ข้อสรุปว่ากระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือดีกว่ากระบวนการเรียนรู้แบบอื่น ๆ 3) การประเมินผลระหว่างเรียนให้ผลที่ จุดมุ่งหมายที่การพัฒนาการการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือและ 4) การศึกษาผลกระทบของการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผู้เรียน การเรียนรู้แบบร่วมมืออาจใช้ได้ดีกับทุกระดับทุกเนื้อหาวิชาและทุกงานด้วยความมั่นใจความร่วมมือเป็นความพยายามของมนุษย์โดยทั่วไปซึ่งส่งผลกระทบต่อผลลัพธ์ต่าง ๆทางการศึกษาผลลัพธ์นี้ Johnson and Johnson (1994a) สรุปได้ 3 ประเภทคือ ความพยายามที่จะบรรลุผลสัมฤทธิ์ สัมพันธภาพทางบวกระหว่างบุคคลและสุขภาพจิตดังรูปประกอบที่ 4


ภาพประกอบที่ 4 ผลลัพธ์ของการร่วมมือ
ที่มา Johnson and Johnson (1994 the new circles of leaving cooperation in the classroom and school มานพ ธรรมสาร ผู้แปก กรมวิชาการ 2546 : 32)



ทักษะแห่งความร่วมมือ
             Johnson and Johnson (1991,1994) กล่าวว่าทักษะระหว่างบุคคลหลายทักษะส่งผลต่อความสำเร็จมีความพยายามร่วมมือกันทักษะแห่งความร่วมมือมีกี่ระดับ คือ
           1 และดับเครื่องนิสัย (forming) ทักษะขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต่อการสร้างกลุ่มการเรียนรู้แบบ ร่วมมือ ให้ทำหน้าที่ได้เป็นทักษะเริ่มแรกของทักษะที่มุ่งการจัดการเรียนรู้และกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำพฤติกรรมที่สำคัญบางประการเกี่ยวกับทักษะระดับสร้างนิสัยดังตัวอย่างต่อไปนี้
            เคลื่อนไหวในกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวนเวลาการทำงานกลุ่มเป็นสิ่งมีค่าจึงควรใช้เวลาในการจัดโต๊ะเก้าอี้และจัดกลุ่มการเรียน ให้น้อยที่สุดตามความจำเป็นนักเรียนอาจจำเป็นต้องฝึกการจัดกลุ่มหลายๆครั้งก่อนที่จะปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผล
            อยู่ประจำกลุ่มนักเรียนที่เดินไปเดินมาในช่วงที่กลุ่มทำงานไม่ก่อให้เกิดผลดีและยังลบกวนสมาธิของสมาชิกกลุ่มอื่นด้วย
            พูดเบาๆแม้ว่ากลุ่มการเรียนรู้ต้องอาศัยปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม แต่ไม่จำเป็นต้องใช้เสียงดังเกินไปคู่อาจมอบหมายให้นักเรียนคนหนึ่งในกลุ่มเป็นผู้คอยกำกับให้ผู้อื่นพูดเบาๆ
            กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วม สมาชิกกลุ่มทุกคนต้องร่วมกันคิด ร่วมกันใช้สื่อการเรียนได้มีส่วนในความพยายามให้คุณบรรลุผลการให้นักเรียนผัดเปลี่ยนกันทำหน้าที่เป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีส่วนร่วม
           2. ระดับสร้างบทบาท (function ) ทักษะที่จำเป็นต่อการจัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานที่มีประสิทธิผลในหมู่สมาชิกกลุ่มทักษะระดับที่สองนี้เน้นที่การจัดการความพยายามของกลุ่มเพื่อทำงานให้สำเร็จและรักษาความสัมพันธ์ในการทำงานที่มีประสิทธิผล การทำให้สมาชิกกลุ่มจดจ่ออยู่กับการทำงานการหาวิธีดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและการสร้างบรรยากาศ การทำงานที่น่าพึงพอใจและเป็นมิตรนั้นถือว่าเป็นการผสมผสานอันสำคัญที่จะนำไปสู่กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีประสิทธิผลตัวอย่างทักษะระดับสร้างบทบาท
            และแนวทางการทำงานกลุ่ม โดย 1 แจ้งและย้ำความมุ่งหมายของงานที่ได้รับมอบหมาย 2 เดือนให้ใช้เวลาตามที่กำหนดไว้ และ 3 เสนอขั้นตอนว่าจะทำงานอย่างไรให้สำเร็จอย่างมีประสิทธิผลที่สุด
            แสดงออกถึงการสนับสนุนและการยอมรับทั้งการใช้คำพูดและการแสดงท่าทาง โดยใช้การมองสบตาแสดงถึงความสนใจชมเชยแสวงหาความคิดและข้อสรุปของผู้อื่น
             ขอความช่วยเหลือหรือความชัดเจนในสิ่งที่พูดหรือทำในกลุ่ม
              เสนอให้คำอธิบายหรือชี้แจง
              แปลความหมายข้อเสนอของสมาชิกอื่น
              เสริมพลังให้กลุ่มเมื่อเห็นว่าแรงจูงใจลดลงโดยเสนอแนะความคิดใหม่ใช้อารมณ์ขันหรือ แสดงความกระตือรือร้น
              บรรยายความรู้สึกของตนเองเมื่อมีโอกาสเหมาะ
              3 ระดับสร้างระบบ(formulating) เป็นทักษะที่จำเป็นต่อการสร้างความเข้าใจระดับลึกในเนื้อหาวิชาที่เรียน เพื่อส่งเสริมให้ใช้กลยุทธ์การใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและเพิ่มความเชี่ยวชาญ และความคงทนของความรู้ที่จะได้จากงานที่ปฏิบัติ ทักษะระดับที่สาม นี้ทำให้เกิดกระบวนการทางสมองที่จำเป็นในการ สร้างความเข้าใจที่ลึกลงไปในเนื้อหาความรู้ที่เรียนกระตุ้นการใช้กลยุทธ์ในการใช้เหตุผลที่มีคุณภาพสูงและเพิ่มความเชี่ยวชาญ และความคงทนของเนื้อหาความรู้ที่เรียนเนื่องจากความมุ่งหมายกลุ่มการเรียนรู้คือต้องการเพิ่มการเรียนรู้ของสมาชิกทักษะเหล่านี้มีเป้าหมายเฉพาะไปที่การให้รูปแบบวิธีการในการจัดระเบียบความรู้ที่เรียน ทักษะระดับสร้างระบบสามารถดำเนินไปได้ในขณะที่สมาชิกกลุ่มรับบทบาทต่าง ๆ กันบทบาทที่สัมพันธ์กับทักษะเหล่านี้คือ
              ผู้สรุปย่อ เป็นผู้กล่าวสรุปสิ่งที่อ่านหรือ อภิปรายให้สมบูรณ์เท่าที่จะทำได้โดย ไม่อาศัยร่างบันทึกหรือสื่อการเรียนต้นฉบับควรสรุปข้อเท็จจริงและความคิดความสำคัญทั้งหมดไว้ในการสรุปย่อด้วยสมาชิกทุกคนในกลุ่มต้องสรุปย่อจากความจำไปบ่อยเพื่อเพิ่มการเรียนรู้
              ผู้แก้ไข เป็นผู้ระวัง เรื่องความถูกต้อง โดยคอยแก้ไขข้อสรุปของสมาชิกแล้วเพิ่มเติมข้อสนเทศที่สำคัญซึ่งไม่ปรากฏในข้อสรุป
              ผู้ประสานความร่วมมือ เป็นผู้ประสานความร่วมมือโดย ขอให้สมาชิกอื่น ๆเชื่อมโยงความรู้ที่กำลังเรียนอยู่กับความ รู้ ที่เรียนไปแล้ว และกับสิ่งอื่น ๆที่สมาชิกเรานั้นรู้
              ผู้ช่วยจำ เป็นผู้หาวิธีการที่ดีในการจดจำข้อเท็จจริงและความคิดสำคัญ โดยการใช้ภาพวาดสร้างมโนภาพหรือวิธีจำอื่น ๆ และนำมาร่วมหารือกันในกลุ่ม
              ผู้ตรวจสอบความเข้าใจ เป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มอธิบายเป็นขั้นเป็นตอนถึงเหตุผลที่ใช้ในการทำงานให้สำเร็จซึ่งจะทำให้การให้เหตุผลของนักเรียนชัดแจ้ง และเปิดกว้างต่อการปรับแก้และอภิปราย
              ผู้ขอความช่วยเหลือเป็นผู้เลือกที่จะคอยให้ความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่มรวมทั้งเป็นผู้ตั้งคำถามที่ชัดเจนและตรงประเด็นและทำอยู่อย่างนั้นจนกว่าจะช่วยเหลือสำเร็จ
               ผู้อธิบายเป็นผู้บรรยายวิธีการทำงานให้สำเร็จ(โดยไม่ให้คำตอบ) ให้ข้อมูลย้อนกลับที่เจาะ จงเกี่ยวกับงานนักเรียนอื่นและลงท้ายด้วยการขอให้นักเรียนอื่นบรรยายหรือสาธิตวิธีการทำงานให้สำเร็จ
               ผู้ให้ความสะดวกในการอธิบายเป็นผู้ขอให้สมาชิกกลุ่มวางแผนที่จะสอนเนื้อหาความรู้ให้นักเรียนคนอื่นโดยละเอียดการวางแผนวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่ดีที่สุดมีผลต่อคุณภาพของกลยุทธ์การให้เหตุและผลและความคงทนของความรู้
               4 ระดับสร้างเสริม (fermenting) ทักษะที่จำเป็นต่อการส่งเสริมการรับรู้เหตุผลในสิ่งที่เรียนความขัดแย้งด้าน การรู้คิด การค้นหาความรู้เพิ่มเติมและการสื่อสารกันด้วยหลักเหตุผลเมื่อมีการสรุปผลทักษะแห่งความร่วมมือระดับที่สี่ที่ทำให้นักเรียนสามารถเข้าร่วมในการโต้แย้งทางวิชาการได้ประเด็นสำคัญที่สุดบางประการของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเมื่อสมาชิกกลุ่มท้าทายการสรุปผลและการให้เหตุผลของกันและกันอย่างคล่องแคล่วการโต้แย้งทางวิชาการทำให้สมาชิกกลุ่ม "เจาะลึก" เนื้อหาความรู้ที่เรียนและดมหลักเหตุผลในข้อสรุปคิดแบบแยกเกี่ยวกับปัญหาหาข้อสนเทศเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนจุดยืนของตน และอธิบายโต้แย้งสร้างสรรค์ เกี่ยวกับทางเลือกของการแก้ปัญหาและการตัดสินใจทักษะที่เกี่ยวข้องกับการโต้แย้งทางวิชาการได้แก่
                 การวิจารณ์ความคิด โดยไม่วิจารณ์คน
                 แบ่งแยกความต่างเมื่อมีความเห็นขัดแย้งขึ้นในกลุ่มการเรียนรู้
                 บูรณาการความคิดหลายความคิดให้เป็นจุดยืนเดียว
                 ขอคำชี้แจงในเรื่องการสรุปผลหรือคำตอบของสมาชิกขยาย ความสรุปหรือคำตอบของสมาชิกอื่นโดยเพิ่มเติมข้อมูลหรือแสดงในที่ นอกเหนือออกไป
                  ตรวจสอบโดยการตั้งคำถามซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจที่ลึกลงไปหรือการวิเคราะห์("มันจะได้ผลหรือไม่ในสถานการณ์นี้.." "มีอย่างอื่นอีกหรือไม่ที่ทำให้คุณเชื่อ..?")
                  ให้คำตอบลึกลงไปอีกโดยเจาะลึกลงไปนอกเหนือคำตอบหรือข้อสรุปและให้คำตอบที่มีความเป็นไปได้หลายๆคำตอบให้เลือก
                  ทดสอบความจริงโดยการตรวจสอบงานของกลุ่มในเรื่องวิธีการทำงานเวลาที่มีและปัญหาที่กลุ่มเผชิญ
                 ทักษะความร่วมมือช่วยให้สมาชิกกลุ่มมีแรงจูงใจในการให้คำตอบที่ดีมีคุณภาพสูงนอกเหนือจากคำตอบที่ตอบออกมาอย่างฉับพลัน โดยการกระตุ้นการคิดและความรู้อยากเห็นทางพุทธิปัญญาของสมาชิกกลุ่ม
สรุป
          ในการจัดการเรียนการสอนจะตัดสินใจว่าปัญหาในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนนั้นเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขด้วยการศึกษาการวางแผนจัดการเรียนการสอนจะต้องมีการวิเคราะห์เนื้อหาสาระวิเคราะห์งานและภาระงานการวิเคราะห์ภาระงานนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อสนองตอบความต้องการ การเรียนรู้กล่าวคือการทบทวนระบบหรือกระบวนการเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นและผู้เรียนจะ ได้รับภาระงาน สำหรับการเรียนการสอนส่วนภาระหน้าที่ไม่เกี่ยวข้องก็ควรจะถูกตัดออกหรือใช้วิธีอื่นที่ไม่ใช่การสอนพลังงานที่เลือกมาต้องทำมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดการเรียนรู้ที่ดีต้องแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดภายใต้กรอบค่าใช้จ่ายที่ได้รับ(มีประสิทธิภาพ) และต้องสนองตอบจุดหมายของการเรียนรู้(มีประสิทธิผล)ไปพร้อมกัน

ตรวจสอบและทบทวน
            ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้นวิเคราะห์ภาระงาน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการระบุงานและพนักงานโดยใช้แนวทางการวิเคราะห์พลังงานของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานแล้วระบุเป็นชิ้นงานหรือภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติการออกแบบพลังงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ(จากขั้นการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้(setting learning goals) ลักษณะสำคัญของงานคือต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจกับผู้เรียนมีความท้าทายแต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทำไม่ได้ในขณะเดียวกันต้องควบคุมสารสกัดธรรมชาติและทักษะที่ลึกซึ้งเพื่อให้สามารถนำผลการประเมินไปใช้ได้อย่างสมเหตุสมผลและน่าเชื่อถือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น